Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

คุณค่าหลักของเรา

คุณค่าหลัก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล คือใคร?

  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล คือกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 3 ล้านคนใน 150 ประเทศทั่วโลกและดินแดน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นองค์กรที่ปกครองตนเองแบบประชาธิปไตย โดยมีวัตถุประสงค์เพียงประการเดียวคือการได้รับความมั่นใจว่าสิทธิมนุษยชนจะได้รับการเคารพและคุ้มครอง
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมุ่งทำงานเพื่อพัฒนากระบวนการและวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในสังคมโดยทำงานผ่านการรณรงค์ กิจกรรมแสดงเอกภาพในระดับสากล และสิทธิมนุษยชนศึกษา
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นองค์กรอิสระไม่ฝักใฝ่อุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา หรือลัทธิใด
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ทำกิจกรรมณรงค์อันมีรากฐานมาจากการทำงานวิจัย รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน รณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมที่เป็นธรรม การปฏิรูปกฎหมาย การปล่อยตัวนักโทษและผู้ที่ถูกกักขังโดยไมชอบธรรม ปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ถูกคุกคาม ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ทำการรณรงค์โดยการเขียนจดหมาย ปฏิบัติการเร่งด่วนและประสานงานกับสื่อนานาชาติ รวมถึงการรณรงค์กับรัฐบาลและองค์กรภายในของรัฐเพื่อให้การรับรองรัฐธรรมนูญ สนธิสัญญาและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน นอกเหนือจากากรทำงานด้านสิทธิทางพลเมืองและการเมือง
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ขยายการทำงานไปสู่ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยมีความเชื่อมั่นว่าการเคารพ ปกป้อง ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนจะนำมาซึ่งการลดลงของปัญหาความยากจนและนำมาซึ่งความเสมอภาคและความยุติธรรม
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เริ่มดำเนินงานในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2538 และได้จดทะเบียนองค์กรเป็น “สมาคมเพื่อองค์การนิรโทษกรรมสากล” เมื่อปี 2546 ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยประสานความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนองค์กรอิสระต่างๆ

วิสัยทัศน์

โลกที่มนุษย์ทุกคนได้รับการเคารพและปกป้องคุ้มครองสิทธิตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลอื่น

พันธกิจ

การปฏิบัติการเพื่อป้องกันและยุติการละเมิดสิทธิทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อเสรีภาพแห่งมโนธรรมและการแสดงออกตลอดจนเสรีภาพที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติ

คุณค่าหลัก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รวมตัวเป็นชุมชนระดับสากลโดยยึดหลัก

  • การรวมพลังสากล (International solidarity) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นสากลไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของประเทศใดประเทศหนึ่ง
  • การปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน (Effective action for the individual victim) การทำงานของเรามิได้ถูกกำหนดโดยการเมืองหรืออุดมการณ์แต่กำหนดโดยแนวคิดที่จะช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • การทำงานครอบคลุมทั่วโลก (Global coverage) เราไม่นำประเทศต่างๆ มาเปรียบเทียบหรือประเมินค่าประเทศเหล่านั้นแต่เรากล่าวถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามระดับและความรุนแรง  
  • ความเป็นสากลและไม่อาจแบ่งแยกได้ (The universality and indivisibility of human rights)สิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นสากลและทุกคนเท่าเทียมกันทั้งในด้านศักดิ์ศรีและสิทธิต่างๆ
  • ความเป็นอิสระ (Impartiality and independence) เรามีความเป็นกลาง เป็นอิสระจากทุกรัฐบาล จากอุดมการณ์ทางการเมือง จากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือจากศาสนาใดๆ เรามุ่งเน้นปฏิบัติงานเพื่อให้ทุกคนได้รับสิทธิดังที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
  • ความเป็นประชาธิปไตยและการเคารพซึ่งกันและกัน (democracy and mutual respect) เราเป็นองค์กรประชาธิปไตยในการบริหารซึ่งหมายถึงสมาชิกเป็นผู้ตัดสินใจในยุทธศาสตร์และประเด็นการทำงานของเราผ่านการลงมติในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี

ภารกิจหลัก

  • งานรณรงค์
    • รณรงค์ยุติการทรมาน
    • รณรงค์ยุติโทษประหารชีวิต
    • รณรงค์เพื่อบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
    • รณรงค์ในประเด็นความรับผิดชอบของบรรษัท
  • งานสิทธิมนุษยชนศึกษา สำหรับนักเรียน นักศึกษา
  • งานผลักดันเชิงนโยบาย
    • ประเด็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
    • ประเด็นผู้ลี้ภัย และแรงงานอพยพ
    • ประเด็นการนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม (สถานการณ์ 3 จังหวัดภาคใต้)

การทำงานในประเทศตนเองแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

มีข้อจำกัดสำหรับสมาชิกในการรณรงค์ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศตนเอง ยกเว้นในบางประเด็น เช่น ยุติโทษประหารชีวิต ผู้ลี้ภัย ฯลฯ ข้อจำกัดดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อประกันว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจะทำงานอย่างเป็นกลาง อิสระไม่ลำเอียงและเพื่อแสดงออกถึงเจตจำนงที่จะปฏิบัติตามหลักความเป็นเอกภาพในระดับสากล โดยข้อจำกัดที่มีนั้นเกิดจากความเชื่อที่ว่าการแก้ปัญหาในประเทศตนเองอาจถูกมองว่าไม่เป็นกลาง อีกเหตุผลสำคัญคือเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของสมาชิกที่อยู่ในประเทศ

คุณค่าหลักของเรา

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

สมาชิกมีสิทธิ

เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยต่อคณะกรรมการ มีสิทธิได้รับสวัสดิการที่จัดให้มีสำหรับสมาชิก มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี มีสิทธิในการเลือกตั้ง ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการ/อนุกรรมการและมีสิทธิออกเสียงลงมติคนละ 1 เสียง มีสิทธิลงชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1 ใน 5 ของสมาชิกทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่สามัญได้

สมาชิกมีหน้าที่

ต้องปฏิบัติตามพันธกิจ คุณค่าหลัก ธรรมนูญและระเบียบปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีหน้าที่เข้าร่วม ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ อีกทั้งช่วยเผยแพร่กิจกรรมของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยให้รู้จักแพร่หลาย