Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

โครงการประกวด “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” (Media Awards)

โครงการประกวด 
“รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน”
(Media Awards)
โดย องค์การแอมเนสตื้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ.1948) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) และประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชนสากล (Human Rights Day) และนับตั้งแต่นั้นมากลไกและเครื่องมือด้านสิทธิมนุษยชนก็ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อรับประกันการมีสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชาติและป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ในวันสิทธิมนุษยชน ประชาคมต่างๆ ทั่วโลกจึงร่วมเฉลิมฉลองภายใต้แนวคิดหลักว่า

“เราทุกคนเกิดมามีอิสระเสรี มีศักดิ์ศรี และสิทธิที่เสมอภาคกัน”

ในปัจจุบันคำว่า “สิทธิมนุษยชน” ได้มีการกล่าวถึงและนำไปใช้มากขึ้นในสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่ในบทละครหลังข่าวที่มีผู้ชมเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าคนจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจความหมายของคำดังกล่าวอย่างชัดเจนนัก จนหลายครั้งถูกนำไปสื่ออย่างผิดที่ผิดทาง ซึ่งนำไปสู่การมองเรื่องสิทธิมนุษยชนในแง่ลบ บ้างก็มองว่าสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดตะวันตกที่แปลกแยก บ้างก็ว่าสิทธิมนุษยชนคือเสรีภาพอันไร้ความรับผิดชอบ บ้างก็อ้างสิทธิมนุษยชนเพื่อเอ่ยถึงสิทธิของตน ในขณะที่ไม่ยอมรับและเคารพในสิทธิของบุคคลหรือกลุ่มชนชาติอื่น เป็นต้น

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยซึ่งทำงานสื่อสารสาธารณะกับสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เห็นว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อประชาชนผู้เสพข่าวสารทั่วไป และมีสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยที่ทำหน้าที่ในการนำเสนอข่าวสารข้อเท็จจริงสู่สังคมและ ทำหน้าที่ในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของคนทุกชนชั้นควบคู่กันไป ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “ความยุติธรรมเพื่อทุกคน เพื่อทุกสิทธิ” (Justice for all rights for all people) อันมีความหมายว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ หรือเป็นกลุ่มสังคมใด ก็ล้วนมีสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิขั้นพื้นฐานทุก ๆ ประการที่จะทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ด้วยเล็งเห็นว่าสื่อมวลชนเหล่านี้เป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่อง เพราะสื่อเหล่านั้นเป็นครูที่ดีในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น และเพื่อให้การนำเสนอข่าวสารในเชิงปกป้อง ส่งเสริมประเด็นสิทธิมนุษยชนยังคงมีอยู่ต่อไปในสังคมไทย จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้สื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อสิทธิมนุษชน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล(สากล) เป็นขบวนการอาสาสมัครที่เคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อ ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 3 ล้านคนใน 150 ประเทศและดินแดน เราเป็นองค์กรอิสระไม่ฝักใฝ่อุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือลัทธิใดๆ สำหรับในประเทศไทยนั้น เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2536 และได้จดทะเบียนเป็นเป็นสมาคมเมื่อปี 2546 โดยได้ดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจ และการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมให้สื่อมวลชนมีความตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนและสนับสนุนการนำเสนอข่าวสารด้วยความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
  2. เพื่อส่งเสริม การเคารพ และปกป้องสิทธิมนุษยชนให้เพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย

ประเภทรางวัล

  1. ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับชาติ รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
  2. ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
  3. ข่าวหรือสารคดีและภาพยนตร์สารคดีสั้นประเภทสื่อโทรทัศน์ระดับชาติ (ฟรีทีวี) รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
  4. ข่าวหรือสารคดีและภาพยนตร์สารคดีสั้นประเภทสื่อโทรทัศน์ระดับท้องถิ่น (เคเบิลทีวีหรือดาวเทียมทีวีในประเทศไทย) รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
  5. ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ 1 รางวัล รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ