Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ผลรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2558

            ผลการตัดสินรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2558

 

            เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 เวลา 14.00 น. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดพิธีมอบ “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2558 ณ The Hive Co-working Space กรุงเทพฯ  โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนให้สื่อหนังสือพิมพ์ระดับชาติ หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น สื่อออนไลน์ และโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ส่วนสื่อโทรทัศน์ในระบบเคเบิลท้องถิ่นไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลดีเด่น แต่ได้รับรางวัลชมเชยแทน

            นายชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพราะเล็งเห็นว่าสื่อมวลชนเป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่อง สื่อทำหน้าที่เป็นครูที่ดีในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น  จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้สื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป

            ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2558 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้

            รางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับชาติ  ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น           2 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ สารคดีเชิงข่าว “หมอชายแดน แสงสุดท้ายคนชายขอบ” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  และสารคดีเชิงข่าว "Military mind games play out under strict insecurity" หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

            รางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น  ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 1 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ข่าว “สิทธิชุมชนคนแม่เมาะการต่อสู้ยังไม่สิ้นสุด” หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ และรางวัลชมเชย 1 หนึ่งรางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ข่าว “พลังมวลชน ต้าน! โรงไฟฟ้าชีวมวล” หนังสือพิมพ์ปักษ์ใต้ทูเดย์

            รางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์  ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 1 รางวัล ๆ ละ     30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ข่าว “รายงานพิเศษเปิดโปงกลจับแพะ แฉสารพัดทรมานโหด” เว็บไซด์ไทยรัฐออนไลน์ และรางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ข่าว “รายงานพิเศษเพราะประวัติศาสตร์ "ปาตานียุคใหม่" เริ่มต้นที่นี่? จึงต้องบูรณะบ้าน-สุเหร่า "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา” เว็บไซด์ Deep South Watch และสารคดีเชิงข่าว “เอดส์...ที่ยืนของคนชายขอบ” เว็บไซด์ไทยรัฐออนไลน์

            รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 1 รางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ข่าว "เรือมนุษย์โรฮิงญา” สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และรางวัลชมเชยอีก 4 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ สารคดีเชิงข่าว “สิทธิใต้บงการ เสรีภาพใต้ความกลัว” สถานีโทรทัศน์วอยซ์ ทีวี สารคดีเชิงข่าว "ผลกระทบเหมืองทองคำ" สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สารคดีเชิงข่าว "ปฏิบัติการกำจัดชาติพันธุ์โรฮิงญา” สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี และสารคดีเชิงข่าว "เหยื่อคดีอาญา" สถานีโทรทัศน์ช่อง ONE

            รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบเคเบิลทีวี ไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลดีเด่น แต่มีรางวัลชมเชย 1 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ สารคดีเชิงข่าว “แสงสว่างในเงามืด” สถานีโทรทัศน์เสียงไทยแลนด์เคเบิลทีวี          

            นายชำนาญ จันทร์เรือง กล่าวต่อว่านอกจากพิธีมอบรางวัล โดย นางสาวแชมพา พาเทล รักษาการผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกที่เป็นผู้มอบรางวัลให้แก่สื่อมวลชนในวันนี้แล้ว ยังจัดให้มีการปาฐกถาในหัวข้อ “สื่อคือแสงสว่างในความมืด?” โดยนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และนางสาวศุภรา จันทร์ชิดฟ้า อดีตนักข่าวหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ และเคยได้รับรางวัลผู้สื่อข่าวด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่นจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ประเทศไทย นอกจากนั้นยังกล่าวขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้และปกป้องสิทธิมนุษยชนและทำความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทำต่อไป