Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ตัวอย่าง 8 ความสำเร็จที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ทำเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้

หมวดหมู่ : บล็อก
Celebrating Amnesty International

เรื่องโดย Elly Kohistani, Media and Public Affairs Coordinator, AI Australia

แปลและเรียบเรียงโดย ชนิกานต์ ปาลวัฒน์ อาสาสมัคร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2504 เฮมไลน์เป็นหัวข้อหลักในข่าวหน้าหนึ่ง วงดนตรีชื่อดังอย่างเดอะบีเทิล (The Beatles) และเดอะบีทบอย (The Beach Boys) ดังติดทอปชาร์ต นักกิจกรรมเพื่อสิทธิของพลเมืองในสหรัฐฯกำลังเตรียมการเพื่อการเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในอเมริกา แต่ในขณะเดียวกันในประเทศออสเตรเลีย ชาวอะบอริจิ้นและประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะแถวช่องแคบทอร์เรสกลับไม่มีแม้สิทธิที่จะลงคะแนนเสียง

และในอีกซีกโลกหนึ่ง นักศึกษาชาวโปรตุเกสสองคนถูกจับเข้าคุกเพียงเพราะว่าพวกเขาออกมาเรียกร้องเพื่อเสรีภาพ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของแรงผลักดันที่ทำให้นักกฎหมายชาวอังกฤษ ปีเตอร์ เบเนนสัน ก่อตั้งแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2504 และตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลได้ร่วมมือกับหลายบุคคลและชุมชนในการนำเรื่องราวของพวกเขาออกมาบอกต่อโลกเพื่อเป็นแสงส่องทางในการหาทางออกให้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ตาม 53ปีมาแล้วหลังจากที่แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลได้ถูกก่อตั้งขึ้นและทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกนี้อย่างมากมาย

ริต้า มาฮาร์โต ไม่ต้องอยู่กับความกลัวอีกต่อไป

หลังจากการคุมคามด้วยการข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย ข่มขื่น และลักพาตัวอย่างต่อเนื่อง ริต้า มาฮาร์โต้ และทีมงานของเธอที่ศูนย์ฟื้นฟูเพื่อผู้หญิงในประเทศเนปาลต้องอยู่ด้วยความหวาดกลัว ผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลทั่วโลกได้ร่วมกันส่งอีเมล การ์ด และจดหมายไปถึงทางการของประเทศเนปาลเพื่อเรียกร้องให้ทางการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้หญิง อย่างเช่นริต้า ผลของการร่วมมือกันของผู้สนับสนุนทำให้ความเป็นอยู่ของพวกเธอดีขึ้นอย่างมาก

พาเดวิดกลับบ้าน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นหนึ่งเสียงที่สำคัญที่ทำให้เดวิด ฮิกส์ ซึ่งเป็นชาวออสเตรเลียได้กลับออกมาจากคุกกวนตานาโม หลังถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวอย่างผิดกฎหมายเป็นเวลา 5 ปีภายใต้สภาพแวดล้อมที่น่ากลัวและไม่ได้รับการไต่สวนคดีอย่างเป็นธรรม แต่ท้ายที่สุดแล้วฮิกส์ก็ได้กลับบ้านในปี 2550 ด้วยความร่วมมือกัน เราจึงสามารถนำเขากลับมาได้

การยอมรับสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธ

หลังจากที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและอีกหลายองค์กรได้ร่วมรณรงค์เป็นเวลาร่วม 20 ปี ทำให้สนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธเป็นที่ยอมรับเมื่อปี 2556 สนธิสัญญาฉบับนี้จะป้องกันไม่ให้อาวุธถูกส่งไปถึงมือผู้ที่จะใช้มันในการละเมิดสิทธมนุษยชน ซึ่งในแต่ละวันมีผู้คนมากกว่า 5,000 คนถูกฆ่าตายด้วยความรุนแรงจากการใช้อาวุธ การประสบความสำเร็จครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่เหลื่อเชื่ออย่างมาก

ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนชาวอิหร่านถูกปล่อยตัว

ในเดือนกันยายนปี 2553 แนสริน ทนายความหญิงด้านสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงได้ถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 6 ปี ในข้อหาเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านรัฐบาล และกระทำการที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ได้ร่วมกันตอบโต้โทษจำคุกดังกล่าว โดยการเขียนคำร้องและจดหมายเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแนสรินโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข ในเดือนกันยายนปี 2556แนสรินได้ถูกปล่อยตัว และเธอได้ขอบคุณสมาชิกปและนักกิจกรรมของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ในการเรียกร้องเพื่อให้เธอถูกปล่อยตัว “ฉันรับรู้ถึงความพยายามของพวกคุณในการทำเพื่อฉันและฉันอยากจะขอขอบคุณทุกคนในการทำงานเพื่อฉันในครั้งนี้”

เพิ่มเงินกองทุนเพื่อชาวพื้นเมืองยูโทเปีย

โครงการรณรงค์เพื่อบ้านเกิดของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลได้ร้องขอให้ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในยูโทเปียยังคงอาศัยอยู่ในบ้านเกิดของตัวเองต่อไป การกดดันในครั้งนี้ทำให้ชาวพื้นเมืองอะบอริจิ้นในออสเตรเลียได้ประโยชน์ เพราะรัฐบาลได้มีการสนับสนุนเงินเป็นจำนวน 221 ล้านดอลล่าห์ในการพัฒนาสาธารณูปโภคให้ดีขึ้น อย่างเช่น น้ำ การเก็บขยะ และสุขอนามัย ในปี 2013 ได้มีการสนับสนุนเงินเพิ่มขึ้นอีก8ล้านดอลล่าห์ เพื่อลดข้อเสียเปรียบที่ชาวอะบอริจิ้นต้องได้รับในทางตอนเหนือของประเทศ

สนับสนุนเสรีภาพเพื่อสื่อมวลชนโลก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้สนับสนุนเสรีภาพสื่อมวลชนโลกมาเป็นเวลายาวนาน และเมื่อเดือนเมษายน 2557 เราได้มีการรณรงค์เพื่อเรียกร้องการปล่อยตัว มาม โซนันโด้ นักข่าวชาวกัมพูชา ซึ่งได้รับโทษจำคุกเป็นเวลา 20 ปีเพื่อเป็นการปิดปาก และสิ่งที่เขาอยากจะพูดคือ “อยากได้ยินสียงผู้สนับสนุนนอกห้องพิจารณาคดีนี้ และอยากให้ผู้สนับสนุนให้กำลังใจผม เพราะพวกเขาสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่แค่ผม”

อองซาน ซูจี ได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตทางความคิด

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลร่วมมือกับนักการเมืองพม่าและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อองซาน ซูจี ซึ่งถูกคุมขังในบ้านพักของตัวเองเป็นเวลามากกว่า15 ปี ในฐานะนักโทษทางการเมือง ซึ่งเธอได้รับเลือกให้เป็นทูตทางความคิดของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลในปี 2009 เมื่อโบโนขึ้นไปบนเวทีที่เมืองดับลิน เขาก็ได้รับรู้ถึงเจตนาอันมุ่งมั่นที่ไม่มีสิ้นสุดของเธอ และเมื่อรับรางวัล อองซาน ซูจี ได้กล่าวว่า “แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ช่วยให้การเคารพตัวเองคงอยู่ และช่วยเป็นแสงนำทางให้พวกเราต่อไป”

โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงเพือยุติการประหารชีวิต

เมื่อ แวน ทง เหงียน ชายชาวเมลเบิร์นอายุ 25 ปี ต้องโทษประหารโดยการแขวนคอที่คุกชางงีในประเทศสิงค์โปร ความหวังในการลดโทษประหารชีวิตในสิงค์โปรจึงน้อยลงไป แต่เมื่อปีที่แล้วหลังจากการเรียกร้องของคนทั้งโลกและยังเป็นปีที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและอีกหลายองค์กรทำการรณรงค์ต่อต้านการประหารชีวิต ศาลสูงประเทศสิงค์โปรได้ทำการลดโทษให้กับ ฟาเบียน อาดิยู เอ็ดวิน ชาวมาเลเซีย จากโทษประหารชิวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต นี่เป็นครั้งแรกหลังจากที่รัฐสภาสิงค์โปรยกเลิกโทษประหารชีวิตในคดีค้ายาเสพติดและฆาตกรรม

นี่เป็นตัวอย่างเล็กน้อยจากหลายพันเรื่องราวที่เราสามารถทำให้ประสบผลสำเร็จ ตั้งแต่ก่อตั้งองค์กรเป็นต้นมา เราได้ทำการเรียกร้องเป็นหมื่นๆเคสเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก เราได้ทำงานร่วมกับนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและอีกหลายองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเรามีผู้สนับสนุนมากกว่า 4.6 ล้านคนจาก 150 ประเทศทั่วโลก

Eight ways Amnesty International helped change the world

http://www.amnesty.org.au/features/comments/34668/?utm_medium=Facebook&utm_source=wallpost&utm_campaign=general