Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

'สิทธิมนุษยชน' หนทางสุดท้ายสู่สันติภาพของอิสราเอลและฉนวนกาซ่า

หมวดหมู่ : บล็อก
EPA

'สิทธิมนุษยชน' หนทางสุดท้ายสู่สันติภาพของอิสราเอลและฉนวนกาซ่า

เขียนโดย Yonatan Gher กรรมการบริหารแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ประเทศอิสราเอล

แปลและเรียบเรียงโดย ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ อาสาสมัคร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

สิ่งที่ผมและน้องชายของผมได้พบเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างประเทศอิสราเอลกับฉนวนกาซ่าในครั้งนี้ค่อนข้างแตกต่างกันออกไป น้องชายของผมอายุ 20 ปี เป็นทหารประจำการสู้รบอยู่ที่กาซ่า ส่วนผมเป็นกรรมการบริหารของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นองค์กรที่เข้ามามีบทบาทในการเก็บข้อมูลและรณรงค์ต่อต้านการก่ออาชญากรรมของทั้งสองฝ่าย จึงเรียกได้ว่า ผมเป็นตัวกลางที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

ด้วยตำแหน่งของผมไม่ได้ทำให้ผมเลิกเป็นห่วงทั้งน้องชายและคนอื่นๆ ในครอบครัวเกี่ยวกับสถานการณ์ในตอนนี้เลย โดยเฉพาะเมื่อคนในครอบครัวมีจุดยืนที่แตกต่างกัน การใช้อารมณ์ขันเข้ามากลบจึงถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด อย่างเช่นบางครั้งเราก็พูดกันอย่างขำๆว่า ถ้าวันใดวันหนึ่งที่ผู้คนเรียกร้องให้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลเริ่มนโยบายรณรงค์สั่งห้ามค้าอาวุธขึ้นมา ผมจะยึดปืนน้องผมเป็นคนแรกเลย

อารมณ์ขันคงเป็นยาไม่กี่ขนานที่ช่วยบรรเทาความโศกเศร้าจากสถานการณ์โหดร้ายเช่นนี้ได้ ตั้งแต่ช่วงแรกของความขัดแย้งก็มีชาวปาเลสไตน์กว่า 1,800 คน ทหารชาวอิสราเอล 64 คน รวมถึงพลเมืองอีก 3 คน ถูกสังหาร ทุกชีวิตที่สูญเสียไป มีทั้งเด็ก ทารก คนชรา ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งในฉนวนกาซาและอิสราเอล ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องน่าสลดใจ อย่างไรก็ตาม ในอิสราเอล มีการใช้วาทกรรมผูกโยง บอกย้ำให้ผู้คนเลิกแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียในฉนวนกาซา หรืออย่างน้อยก็ให้แสดงออกมาน้อยกว่าความสูญเสียในอิสราเอล อีกทั้งยังให้โทษว่าทั้งหมดเป็นความผิดของกลุ่มฮามาส แค่การแสดงความเสียใจออกมาอาจทำให้ถูกประณามได้ว่าเป็นพวกนอกคอก เป็นคนทรยศที่เห็นใจคนอีกฝ่ายมากกว่าคนในชาติ

ผมกลับไม่เห็นด้วยวาทกรรมนั้นเลย ผมมองว่าทุกชีวิตมีคุณค่าเท่าเทียมกัน โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์เกี่ยวดอง บริบทหรือ ข้อแก้ตัวใดๆ ผมคิดว่าการนำเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้ามามอง จะทำให้เราเข้าใจได้เป็นอย่างดี เพราะสิทธิมนุษยชนนอกจากจะเป็นข้อบังคับทางกฎหมายแล้ว ยังเป็นเหมือนบรรทัดฐานสากล ศีลธรรมและจริยธรรมที่นานาประเทศให้การยอมรับ ยิ่งพวกเราชาวอิสราเอล ควรเข้าใจถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนดีกว่าใครด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากการจบลงของสงครามโลกครั้งที่สอง (ผู้แปล: อันเป็นโศกนาฏกรรมของชาวยิว) ในฐานะเครื่องเตือนใจมิให้ประวัติศาสตร์วกกลับมาซ้ำรอยเดิมอีก

ช่วงเวลาดังกล่าว นานาประเทศได้รวมตัวกันและเห็นชอบตรงกันว่าอำนาจสัมบูรณ์ของรัฐต่อประชาชน และรวมไปถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัฐที่อยู่ในภาวะสงครามควรได้รับการจำกัดลงบ้าง ซึ่งหลักการนี้ก็ปรากฏอยู่ในหลักศาสนายูดาว่าด้วยเรื่องความรับผิดชอบร่วมกันในสังคม (ArvutHadadit) หรือที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกว่า การรวมพลัง (solidarity) หลักการที่ว่านี้เชื่อว่าการร่วมมือกันในการปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศใดประเทศหนึ่ง จะช่วยส่งผลในการปกป้องสิทธิมนุษยชนส่วนรวมของคนทุกคนในโลกใบนี้

ในหน้าประวัติศาสตร์ ประเทศอิสราเอลได้คอยให้การสนับสนุนการสรรสร้างกลไกเครื่องมือสำหรับการปกป้องสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการจัดการประชุมเพื่อหารือข้อตกลงเรื่องผู้อพยพในช่วงปีทศวรรษที่ 1950 หรือการเริ่มบังคับใช้สนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธเมื่อปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี มีหลายครั้งหลายคราที่ประเทศอิสราเอลมีสองมาตรฐาน มาตรฐานแบบหนึ่งสำหรับต่างประเทศ อีกแบบสำหรับประเทศตัวเอง การกระทำที่พร่ำบอกกับประเทศต่างๆ ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เมื่ออิสราเอลเลือกที่จะปฏิบัติเสียเองกลับเรียกมันว่าเป็นความจำเป็นทางการเมือง หากมีใครเริ่มการวิพากษ์วิจารณ์การกระทำเหล่านั้นก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ละเลยการพิจารณาถึงบริบท หรือใช้วาทกรรมว่าเป็นคนที่ต่อต้านอิสราเอลคือพวกลัทธิต่อต้านชาวยิว

ตอนนี้เป็นเวลาตีสองครึ่ง เสียงไซเรนดังขึ้น ผมจึงพาลูกชายวัยห้าขวบลุกขึ้นจากเตียงมาพักอยู่ที่บริเวณปล่องบันไดที่เรากำหนดกันไว้ว่าเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” ไม่กี่นาทีต่อมา พวกเราก็ได้ยินเสียงระเบิดดังกึกก้องกัมปนาทซึ่งคาดว่าคงเป็นเสียงของกับระบบไอรอน โดม (Iron Dome) ที่ใช้ป้องกันภัยทางอากาศปะทะกับจรวด จรวดที่ถูกส่งมาเพื่อฆ่าพวกเรานั่นเอง ลูกชายของผมเล่าให้ฟังว่า ที่โรงเรียนอนุบาล เขาได้ยินว่าทหารกำลังปกป้องพวกเรา เขาจึงคุยโวโอ้อวดว่าอาแท้ๆ ของเขาก็เป็นทหารหาญเช่นกัน เด็กๆ ที่โรงเรียนอนุบาลพากันวาดรูปแล้วส่งไปติดตามรถถังและปืนใหญ่เป็นกำลังใจให้แก่ทหารในกองทัพ เย็นวันนั้น เสียงไซเรนดังขึ้นเตือนอีกครั้ง ลูกชายของผมจึงถามว่า ที่ฉนวนกาซ่ามีสัญญาณเตือนแบบนี้หรือไม่ ผมตอบเขาไปว่า ฉนวนกาซ่าไม่มีทั้งเสียงไซเรน หรือแม้กระทั่งไอรอน โดม (Iron Dome) เขาจึงทิ้งคำถามหนึ่งไว้ว่า “แล้วใครล่ะ? ที่คอยปกป้องเด็กๆ ที่นั่น”

ฟางเส้นสุดท้ายที่จะสามารถปกป้องเด็กๆ ที่ฉนวนกาซ่า ลูกของผม รวมไปถึงพลเมืองของทั้งสองฝ่ายจากความขัดแย้งในครั้งนี้ ก็คือการยึดถือหลักสิทธิมนุษยชน ผมหวังว่าคนจากทั่วทุกมุมโลกจะหันมาร่วมมือกัน เริ่มหันมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดการใช้พลเมืองเป็นเป้า และเรียกร้องให้ทั้งสองประเทศใช้การพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศและบังคับใช้กฏหมายการห้ามค้าอาวุธ เพื่อสวัสดิภาพและสันติภาพของพวกเราทุกคน

ป้ายคำ: 

  • อิสราเอล
  • กาซ่า
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล