Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

So that they are not forgotten -เพื่อให้พวกเขาไม่ถูกลืม

หมวดหมู่ : บล็อก

แปลและเรียบเรียงโดย ธนภรณ์ สาลีผล นักกิจกรรมแอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย 

คุณคิดว่าอะไรเป็นแรงบันดาลใจให้ใครคนหนึ่ง เขียนจดหมายถึงคนที่ตัวเองไม่เคยรู้จัก

ผู้หญิงเยอรมันสองคนกำลังเขียนจดหมายเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวหญิงสาวชาวอุซเบกิสถาน ดิโรรอม อับดูกาดิโรว่า ซึ่งอาศัยอยู่คนละซีกโลก เธอต้องโทษจำคุก 18 ปีเพียงเพราะเข้าร่วมการเดินขบวนประท้วง

ผู้หญิงสองคนนั้นคือ อิเซ่และโซฟี ทั้งสองแทบไม่มีอะไรเหมือนกันเลย แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนกันก็คือความมุ่งมั่นในการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการอุธรณ์ทั่วโลก (Worldwide Appeal Network) ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งรณรงค์สนับสนุนและปกป้องการดำเนินคดีนักโทษมโนสำนึก มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504

เพียงแค่ในประเทศเยอรมันนีประเทศเดียว นักกิจกรรมมากกว่า 5,000 คนช่วยกันเขียน "จดหมายป้องกันการถูกลืม” กว่าล้านฉบับจนประสบความสำเร็จ ส่งผลให้คดีของนักโทษมโนสำนึกกว่าครึ่งนึงจากจำนวนคดีทั้งหมด เกิดความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

คุณยายอิเซ่ กาเบอร์ วัย 83 ปี ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราในเมือง Karlsruhe ทางใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศเยอรมันนี ลงมือเขียนจดหมายกว่า 18 ฉบับในแต่ละเดือนผ่านเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า กล่าวว่า “ฉันเติบโตมาในระหว่างการทำสงครามนาซีเยอรมัน ดังนั้นสมัยเรียน ทุกๆ วันฉันต้องสัมผัสกับการปกครองแบบเผด็จการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันนี (ประเทศเยอรมันตะวันออก) ซึ่งประสบการณ์เหล่านั้นมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อตัวฉันในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง”

“ฉันชอบการเขียนจดหมายมาโดยตลอด สมัยมัธยมฯ ครูจะบอกรายละเอียดของทหารที่ต่อสู้ในสงครามให้พวกเราฟังและฉันก็จะเขียนจดหมายถึงพวกเขา แต่การเขียนจดหมายก็มีด้านที่น่าเศร้าใจ บางครั้งจดหมายของพวกเขาก็ขาดการติดต่อไป หรือบางทีทหารคนอื่นก็ตอบจดหมายกลับมาหาฉันแทน เพื่อบอกว่าเพื่อนของเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว”

“ญาติของฉันสองคนก็เสียชีวิตในสนามรบ เหล่าทหารที่เสียชีวิตทั้งหมดยังอายุน้อย ส่วนมากเป็นเด็กผู้ชายที่ต้องเข้าเกณฑ์ทหารก่อนจบม.6 ด้วยซ้ำไป พวกเขาสละชีวิตตั้งแต่เยาว์วัยไปอย่างไร้จุดหมาย”

“หลังเกษียณแล้ว ฉันยังอยากทำงานอาสาสมัครต่อไป ฉันจึงติดต่อไปที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และที่นั่นเองที่ฉันได้ค้นพบการเขียนจดหมายเพื่อคัดค้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนและปกป้องนักโทษทางความคิด”

“ฉันสะเทือนใจมาก เมื่อคิดถึงคนที่ถูกกดขี่ให้ไร้ซึ่งอิสรภาพ โดนกระทำทารุณ ถูกทรมาน และไม่สามารถยืนหยัดปกป้องสิทธิของตนเองได้ เหมือนกับดิโรรอม อับดูกาดิโรว่า ที่ต้องเผชิญชะตากรรมอันเลวร้ายในอุซเบกิสถาน”

“ฉันหวังว่าจะสามารถทำกิจกรรมของแอมเนสตี้ฯ ต่อไปได้อีกหลายๆ ปี รางวัลตอบแทนสุดพิเศษคือการได้รับจดหมายตอบกลับหลายฉบับ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าการติดต่อด้วยวิธีเชยๆ อย่างการเขียนจดหมายด้วยเครื่องพิมพ์ดีดของฉัน ไม่ใช่อีเมลหรือแฟกซ์ เป็นอะไรที่โดดเด่นและได้รับการตอบรับ"

“จดหมายเหล่านี้มีเป้าหมาย ถ้าจดหมายหนึ่งฉบับจากห้าสิบฉบับสร้างผลกระทบได้ ฉันก็รู้สึกว่านั่นค่อความสำเร็จแล้ว”

ด้านโซฟี โรกัลสกี้ หญิงสาววัย 20 ปี ซึ่งกำลังเรียนภาษามือสำหรับประกอบอาชีพนักแปล ในเมืองเบอร์ลิน กลับชอบทำกิจกรรมรณรงค์ออนไลน์มากกว่า

“ฉันเริ่มเข้าร่วมกับกลุ่มสิทธิสตรีของแอมเนสตี้ในเมืองเบอร์ลินเมื่อพ.ศ.2555 แอมเนสตี้เหมาะกับฉันมาก เพราะฉันเชื่อว่างานรณรงค์เหล่านี้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ”

“ฉันคิดว่าจดหมายร้องเรียนมีอิทธิพลมาก ตัวอย่างเช่น การได้เห็น โย ยุน จุง ชายหนุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ ถูกปล่อยตัวในปี 2556 หลังถูกจำคุกเพราะคัดค้านการรับใช้กองทัพ”

“กลุ่มเยาวชนแอมเนสตี้ฯ (Amnesty Youth Group) เขียนจดหมายถึงผู้มีอำนาจและส่งจดหมายให้กำลังใจเขาในคุก เรารู้ดีว่าไม่ใช่แค่การรณรงค์ของเราอย่างเดียวที่ทำให้เขาถูกปล่อยตัว แต่แน่นอนว่ามันเป็นส่วนหนึ่ง และเราก็ได้รับจดหมายขอบคุณจาก โย ยุน จุง หลังเขาถูกปล่อยตัว

“ฉันคิดว่าการทรมานเป็นหนึ่งในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่น่ากลัวที่สุด ไม่น่าเชื่อเลยว่ามันยังคงถูกใช้ในหลายพื้นที่บนโลก เรื่องราวของดิโรรอมทำให้ฉันสะเทือนใจมาก เพราะสิ่งที่เธอทำคือแค่เข้าร่วมประท้วงต่อต้านภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ”

“เราต้องไม่ปิดหูปิดตาตัวเอง เครือข่ายทั่วโลกของแอมเนสตี้ฯ มีอิทธิพลมากและฉันก็สามารถทำกิจกรรมในส่วนของฉันได้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมฉันจึงเลือกเป็น 'นักกิจกรรมของแอมเนสตี้' ”

English version http://issuu.com/amnestywire/docs/wire_julyaug14/10