Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ครบรอบ 50 ปีการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายในอังกฤษ

หมวดหมู่ : บล็อก

เขียนโดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อังกฤษ

แปลและเรียบเรียงโดย พุทธิภรณ์ ผ่องใส

อาสาสมัคร แอมเนสตี้  อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

แปดโมงเช้าของวันที่ 13 สิงหาคม 2507 ชายสองคนที่ถูกดำเนินคดีเมื่อไม่กี่อาทิตย์ก่อนหน้าในข้อหาฆาตกรรมถูกนำขึ้นตะแลงแกงในเรือนจำในเมืองแมนเชสเตอร์และลิเวอร์พูล ในตอนนั้นไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องคนใดเลยที่รู้ว่าเกวนน์ อีแวนส์ และ ปีเตอร์ อัลเลน จะกลายมาเเป็นนักโทษประหารสองรายสุดท้าย ก่อนที่โทษประหารชีวิตจะถูกยกเลิกในประเทศอังกฤษ

เวลา 50 ปีล่วงเลยผ่านไป สถิติการสนับสนุนโทษประหารชีวิตได้ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ผลการสำรวจของ YouGov ชี้ให้เห็นว่าน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 45) ของประชาชนยังสนับสนุนให้มีโทษประหารชีวิต ซึ่งตัวเลขนี้ลดลงจากร้อยละ 51 ในปี 2540

นอกจากนี้ สถิติผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตได้ลดลงอย่างรวดเร็วในหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย นับแต่ปี 2534 เป็นต้นมา จำนวนประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ จาก 48 ประเทศเป็น 97 ประเทศ

ถึงแม้ว่าจะมีการใช้โทษประหารชีวิตน้อยลง แต่นักโทษอย่างน้อย 3,357 ราย จากทั่วโลกถูกประหารในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่รวมนักโทษอีกนับพันรายในประเทศจีน ประเทศที่สถิติการประหารชีวิตเป็นความลับระดับชาติ

โทษประหารชีวิตเป็นมรดกที่ล้าสมัย  และนี่คือเหตุผลว่าทำไมพวกเราควรจะสานต่อการรณรงค์ให้โทษประหารชีวิตให้เป็นเพียงเรื่องในอดีต

โทษประหารชีวิตไม่ช่วยยับยั้งปัญหา

ทุกวันนี้ อัตราการก่อคดีฆาตกรรมในสหราชอาณาจักรอยู่ในจุดต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี ทั้ง ๆ ที่การประหารชีวิตได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ผลการศึกษาหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าความน่ากลัวของโทษประหารชีวิตไม่ได้มีส่วนช่วยในการป้องกันการก่อคดีฆาตกรรม

รายงานของทางเราในปี 2556 แสดงให้เห็นว่าไม่มีความความเกี่ยวพันระหว่างอัตราการก่ออาชญากรรมในประเทศที่มีลักษณะคล้ายกัน และรายงานอิสระโดยสำนักวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา พบว่ารัฐที่บังคับใช้โทษประหารชีวิตมีอัตราการก่อคดีฆาตกรรมเท่า ๆ กับรัฐที่ไม่มีโทษดังกล่าว

'สิ่งที่ผมบอกได้จากประสบการณ์นั้นน่าขมขื่น เพราะในตอนนี้ ผมไม่เชื่ออีกต่อไปว่าทุกการประหารชีวิตที่ผมทำ ช่วยป้องกันการฆาตกรรมที่จะเกิดในภายภาคหน้า ในความคิดของผม โทษประหารชีวิต ไม่ได้มีหน้าที่อะไรนอกจากเป็นเพียงแค่การแก้แค้น' อัลเบิร์ต ปิแอร์พอยท์ เพชฌฆาตรชาวอังกฤษในช่วงปี 2475–2499

โทษประหารชีวิตไม่อาจย้อนกลับได้

การประหารชีวิตเป็นโทษรุนแรงที่สุด ไม่อาจลบล้าง และไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงในการลงโทษผู้บริสุทธิ์ได้

ตั้งแต่ปี 2519 นักโทษประหาร 143 รายในสหรัฐได้รับการตัดสินใหม่แล้วพบว่าบุคคลนั้นไม่ใช่ผู้ที่กระทำความผิด จากนักโทษกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยหลากหลายเหตุผล เช่น พบหลักฐานใหม่ทาง DNA การให้การเท็จของพยาน หรือแม้กระทั่งจากการประพฤติมิชอบของโจทก์เอง

ในประเทศเช่นอิรักละอิหร่าน การประหารชีวิตส่วนมากเป็นผลมาจากคำพิพากษาที่อาศัยคำสารภาพซึ่งได้มาจากการทรมาน เรามีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่านักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิตถูกฟาดด้วยสายเคเบิ้ลและถูกไฟฟ้าช็อต ในประเทศที่มีการทรมานนักโทษก่อนตัดสินประหารชีวิตนั้น มีความเป็นไปได้สูงมากที่ผู้ถูกประหารชีวิตเป็นผู้บริสุทธิ์

การประหารชีวิตเป็นการเลือกปฏิบัติ

คุณมีโอกาสเสี่ยงที่ถูกประหารชีวิตมากกว่าคนทั่วไป หากคุณเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศที่ยังใช้การประหารชีวิต โทษประหารชีวิตถูกใช้อย่างไม่เป็นธรรมต่อคนผิวสี กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้นับถือศาสนากลุ่มน้อย และคนยากจน

ในสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าผู้เสียหายจากคดีฆาตกรรมกว่ากึ่งหนึ่งเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน แต่ร้อยละ 77 ของนักโทษผิวสีที่ถูกประหารชีวิตตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา ต่างเป็นผู้ที่มีความผิดฐานฆาตกรรมคนผิวขาวทั้งสิ้น และในปี 2550 ผลการศึกษาในรัฐคอนเน็คติกัทได้แสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ว่า จำเลยชาวแอฟริกัน-อเมริกันจะถูกพิพากษาประหารชีวิตมากกว่าจำเลยผิวขาวถึง 3 เท่า

มาร่วมกับเรารณรงค์เพื่อยุติโทษประหารชีวิตในทุกที่ที่มีการบังคับใช้

เราทำไม่ได้หากปราศจากพลังของผู้สนับสนุน เราต้องการความร่วมมือจากคุณ!

มาร่วมกับกันคัดค้านโทษประหารชีวิต หรือสมัครเป็นสมาชิกแอมเนสตี้

หากพวกเราร่วมมือกัน เราสามารถสร้างโลกที่ปราศจากการประหารชีวิตได้

The last British death sentence 50 years ago today

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล
  • ยกเลิกโทษประหารชีวิต