Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

6 วิธีทำให้เพื่อนในเฟซบุ๊กสนในเรื่องสิทธิมนุษยชน

หมวดหมู่ : บล็อก
© Flickr / Prachatai

6 วิธีทำให้เพื่อนในเฟซบุ๊กสนในเรื่องสิทธิมนุษยชน

เรื่องโดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออสเตรเลีย

แปลและเรียบเรียงโดย ชนิกานต์ ปาลวัฒน์

เคยไหมที่คุณรู้สึกว่ามันยากเหลือเกินในการทำให้เพื่อนของคุณรู้ว่าสิทธิมนุษยชนนั้นสำคัญแค่ไหน? การให้ข้อมูลทางวิชาการอย่างเดียวคงไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่ในการดึงความสนใจเพื่อนใน Facebook แต่โซเชียลมีเดียนั้นสามารถทำให้การพูดคุยที่เกิดขึ้นผ่านทางอินเตอร์เนตเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง และต่อไปนี้จะเป็นวิธีง่ายๆในการปกป้องสิทธิมนุษยชนผ่านทาง Facebook

1. จัดกิจกรรม

ในการทำให้เกิดการสนับสนุนในโลกออนไลน์และสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตจริงสามารถทำได้โดยการเชิญชวนเพื่อนของคุณให้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งอาจจะเป็นคุณหรือใครก็ได้ที่จัดกิจกรรมนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมฉายหนังหรือสารคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การจัดตั้งกองทุน หรือการเข้าร่วมชุมนุม คุณสามารถใช้โซเชี่ยลมีเดียในการเชิญชวนผู้คนให้เข้าร่วมกิจกรรมได้    

กิจกรรมที่คุณจัดสามารถเข้าถึงผู้คนได้ทั่วโลก ถ้าคุณไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ที่นิวยอร์ก แต่คุณคิดว่าคุณสามารถจัดกิจกรรมที่คล้ายกันนี้ได้ในเมืองที่คุณอยู่ คุณสามารถทำตามขั้นตอนของ Facebook ในการสร้างหน้าเพจเพื่อจัดกิจกรรมได้ในทันที เมื่อคุณเชิญเพื่อนของคุณให้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วก็อย่าลืมบอกให้เพื่อนของคุณเชิญเพื่อนของเขาเข้าร่วมกิจกรรมด้วยจะดีมาก

2. เข้าร่วมกลุ่ม

กลุ่มใน Facebook เป็นช่องทางที่ดีในการแบ่งปันข้อมูลสำหรับคนที่มีความคิดหรือทัศนคติแบบเดียวกัน ถ้าคุณกำลังกังวลว่าสิ่งที่คุณโพสใน Facebook จะไม่ได้รับความสนใจจากเพื่อนของคุณ คุณสามารถส่งต่อข้อมูลหรืออัพเดตในเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ในกลุ่มโดยที่มันจะไม่ไปขึ้นที่หน้า newsfeed

ลองหาใน Facebook ของคุณดูว่ามีกลุ่มหรือกิจกรรมอะไรในเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ลองสร้างเพจของตัวเองขึ้นมาเลย!

3. แชร์วิดีโอ

อีกหนึ่งวิธีในการดึงความสนใจเพื่อนของคุณสามารถทำได้โดยการแชร์คลิปในยูทูบ การเขียนข้อความยาวๆอาจไม่ได้รับการสนใจเท่าคลิปสั้นๆคลิปหนึ่งด้วยซ้ำ

ลองหาคลิปเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่คุณสนใจและคิดว่าควรส่งต่อให้คนอื่นได้รับรู้ เช่น คลิปของมาลาลา ยูซาฟไซ เด็กผู้หญิงที่สร้างแรงบันดาลใจในการปกป้องสิทธิมนุษยชน แต่ถ้าหากคุณสนใจในเรื่องผู้อพยพหรือผู้แสวงหาที่ลี้ภัย คุณสามารถใช้คลิปของเราได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=mEtttwDHDds

ลองหาคลิปที่สร้างแรงบันดาลใจเช่นคลิปจากTed Talks ซึ่งสามารถแชร์ได้ง่ายๆและใช้เวลาในการดูเพียงแค่10นาทีแต่สามารถสนับสนุนให้ผู้คนลงมือทำได้จริง

4. ตั้งคำถาม

ให้เพื่อนของคุณมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อคำถามที่คุณโพสลงบนFacebook และแท็กชื่อคนที่คุณคิดว่าสามารถตอบคำถามของคุณได้

คุณอาจจะพูดถึงการรณรงค์ที่น่าสนใจสักอันหนึ่งและตามด้วยคำถามที่ว่า “คุณคิดอย่างไร” โดยเน้นที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น การทรมานในประเทศไทย สิทธิสตรีในอัฟกานิสถาน หรือ การยุติโทษประหารชีวิต ลองคิดว่าคุณเป็นตัวแทนผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนและคุณตั้งคำถามกับเพื่อนของคุณว่าเราจะร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้กับโลกใบนี้ได้อย่างไร หรืออาจจะเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆด้วยคำถามที่ว่าคุณรู้จักองค์กรท้องถิ่นหรือชุมชนไหนหรือไม่ที่คุณสามารถเป็นอาสาสมัครหรือสนับสนุนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้

5. ส่งต่อข้อเรียกร้อง

คุณสามารถปกป้องสิทธิมนุษยชนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้โดยการลงชื่อในข้อเรียกร้องต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ลงชื่อออนไลน์ ซึ่งคุณสามารถช่วยสนับสนุนข้อเรียกร้องเพิ่มขึ้นได้โดยการส่งต่อข้อเรียกร้องให้คนอื่นได้รับรู้โดยการโพสต์ลิ้งข้อเรียกร้องนั้นลงบน Facebook การสนับสนุนข้อเรียกร้องสามารถช่วยชีวิตแม่วัยรุ่นคนหนึ่ง หรือแม้กระทั่งยุติการบังคับเด็กผู้หญิงให้แต่งงานในประเทศซาอุดิอาระเบียได้เลยทีเดียว

ด้วยความช่วยเหลือจากใครหลายๆคน ทำให้ทุกปีเราสามารถนำตัวคนที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนลงโทษได้ ซึ่งทำให้ผู้ที่ถูกละเมิดเป็นอิสระและได้ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย

6.การบริจาค

การรณรงค์และงานวิจัยต่างๆ ที่จัดทำโดยแอมเนสตี้ล้วนได้รับการสนับสนุนจากการบริจาค

ด้วยความร่วมมือกันเราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ Facebook สามารถเป็นช่องทางที่คุณสามารถบอกเพื่อนของคุณให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มากไปกว่านี้ การบริจาคให้กับเรื่องสำคัญนั้นถือเป็นสิ่งที่คุ้มค่า และมันจะยิ่งดีมากขึ้นไปอีกถ้าหากคุณสามารถชักชวนให้คนอื่นทำเหมือนกับคุณได้

การเป็นผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนถือเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น และโซเชี่ยลมีเดียก็ได้ช่วยให้ผู้จัดทำการรณรงค์ต่างๆได้เข้าถึงผู้สนับสนุนทั่วโลกและสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในชีวิตจริง

ไม่น่าเชื่อเลยใช่มั้ย สิ่งที่คุณคิดว่าเป็นการกระทำอันเล็กน้อยอย่างเช่นการเล่น Facrbook สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ทั่วโลกได้จริงๆ