Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ฮากามาดะ: หนึ่งปีหลังการปล่อยตัวกับความเปลี่ยนแปลงของนักโทษประหารในญี่ปุ่น

หมวดหมู่ : บล็อก

ฮากามาดะ: หนึ่งปีหลังการปล่อยตัวกับความเปลี่ยนแปลงของนักโทษประหารในญี่ปุ่น

เขียนโดย ฮิโรกะ โชจิ นักวิจัยภาคพื้นเอเชียตะวันออก

แปลและเรียบเรียงโดย ชนิกานต์ ปาลวัฒน์ อาสาสมัครแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

เป็นเวลาหนึ่งปีแล้วที่ ฮากามาดะ อิวาโอะ อายุ 78 ปี ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำโตเกียว หลังจากศาลแขวงในประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เขาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และได้รับการพิจารณาคดีใหม่ ฮากามาดะถือว่าเป็นนักโทษที่รอการประหารชีวิตยาวนานที่สุดในโลกถึง 46 ปี โดยเขาอยู่ในฐานะนักโทษประหารมานานมากกว่าครึ่งชีวิต ทั้งนี้การตัดสินว่าเขามีความผิดมาจาก “คำสารภาพ” ของที่เกิดจากการถูกทรมานซ้ำๆ และหลักฐานที่อาจถูกสร้างขึ้น          

แม้ว่ากรณีนี้จะทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเรือนจำ และกระบวนการยุติธรรมของญี่ปุ่นสั่นคลอน แต่หนึ่งปีผ่านไป ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของญี่ปุ่นยังคงมีความบกพร่อง และสภาพความเป็นอยู่ของนักโทษประหารยังคงเป็นไปอย่างไร้มนุษยธรรม

การขังเดี่ยว   

เมื่อฮากามาดะเดินออกมาจากเรือนจำโตเกียวสู่สายตาของสื่อมวลชนในวันที่ 27 มีนาคม 2557 สิ่งที่กล้องบันทึกได้ไม่ใช่ภาพใบหน้าเปื้อนยิ้มที่แสดงออกถึงความดีใจ แต่เป็นภาพของชายแก่หลังค่อมนิดๆ คนหนึ่งที่ใบหน้าไม่แสดงออกถึงความรู้สึกใดๆ เลย เนื่องจากฮากามาดะต้องถูกขังเดี่ยวเป็นเวลา 45 ปี ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ กว้างประมาณ 5 เมตร จึงทำให้เขาออกมาจากคุกในสภาพที่ป่วยทางจิต โดยเขากลายเป็นคนที่พูดไม่รู้เรื่อง และมีอารมณ์ที่แปรปรวน เช่น บางครั้งเขาก็เป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว แต่บางครั้งเขากลับมีอารมณ์รุนแรง เกรี้ยวกราด

ฮากามาดะเริ่มแสดงอาการป่วยทางจิตตั้งแต่ปี 2523 หลังจากถูกศาลฎีกาพิพากษาตัดสินประหารชีวิต โดยทนายเล่าว่าสื่อสารกับเขาลำบากมาก  จึงทำให้การคุยเรื่องคดีเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ จากการที่ได้พูดคุยกับฮิเดโกะ น้องสาวของเขา และจดหมายที่เขาเขียนแสดงให้เห็นถึงความคิดที่ผิดปกติ

ในประเทศญี่ปุ่น นักโทษประหารจะถูกจับแยกตัวออกจากโลกภายนอก ทั้งการขังเดี่ยวและจำกัดการติดต่อกับครอบครัวอีกด้วย ฮากามาดะต้องอยู่ในสภาพนี้เป็นสิบๆ ปี

การละเลยต่อสภาพจิตใจ

ฮากามาดะไม่ใช่นักโทษคนเดียวที่ป่วยทางจิตขณะอยู่ในฐานะนักโทษประหาร เพราะมัตซึโมโตะ เคนจิ ซึ่งถูกตัดสินโทษประหารชีวิตตั้งแต่ปี 2536 มีอาการผิดปกติทางจิตขณะถูกจำคุกเช่นกัน โดยในปี 2551 ผู้สนับสนุนกล่าวว่าเขาได้รับจดหมายจากมัตซึโมโตะ โดยมัตซึโมโตะอ้างว่าเขาได้รับเงินรางวัลจากนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น และประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งมันไม่เคยเกิดขึ้น แต่เป็นเพราะความผิดปกติทางจิต ทนายของเขากล่าวว่ามัตซึโมโตะไม่สามารถทำความเข้าใจ และเข้าร่วมในการพิจารณาคดีได้ หรือแม้แต่ช่วยเตรียมการเพื่อยื่นอุทธรณ์ในคดีก็ไม่ได้เลย

กฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่สมควรใช้กับคนที่มีความผิดปกติทางจิต แต่ประเทศญี่ปุ่นกลับไม่มีมาตรการป้องกันเพื่อยุติเรื่องนี้ ดังนั้นนักโทษอย่างมัตซึโมโตะ ซึ่งมีอาการผิดปกติทางจิตอยู่ก่อนแล้ว จึงยังคงถูกตัดสินให้ประหารชีวิต และสภาพความเป็นอยู่ของคุกซึ่งส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจของทั้งฮากามาดะและมัตซึโมโตะ จึงยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้น

หลังจากได้รับการปล่อยตัว ฮากามาดะได้กล่าวว่า “การที่รัฐฆ่าประชาชนของตนเองเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อย่างที่สุด”

กรณีของเขานำมาซึ่งการตั้งคำถามมากมาย เช่น การขังใครสักคนให้อยู่คนเดียวในห้องแคบๆ มีความชอบธรรมหรือไม่? กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของญี่ปุ่นพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และมีมาตรการป้องกันการบังคับให้สารภาพจริงหรือไม่? และถ้าคนบริสุทธิ์เสี่ยงต่อการถูกประหารชีวิตบ่อยครั้ง จะมีมาตรการใดในการป้องกันความเสี่ยงนี้? ซึ่งจากประสบการณ์ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก คำตอบคือ ไม่มี

หลังออกจากเรือนจำฮากามาดะอาศัยอยู่กับฮิเดโกะ น้องสาวของเขาที่เมืองชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เขาเริ่มมีอาการดีขึ้น สังเกตได้จากการพูดคุยกับน้องสาวมากขึ้น รวมถึงเริ่มยิ้มได้ในบางครั้ง

ถึงแม้คดีของฮากามาดะจะยังคงอยู่ในการพิจารณาคดีใหม่ของศาล แต่อย่างน้อยเขาก็ได้กลับมาอยู่บ้านอีกครั้ง ทั้งนี้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของนักโทษประหารเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือการยกเลิกโทษประหารชีวิต ฉันหวังว่าการปฏิรูปในประเทศญี่ปุ่นจะยังไม่สายเกินไปสำหรับมัตซึโมโตะ และนักโทษประหารคนอื่นๆ  

ข้อมูลพื้นฐาน

นายฮากามาดะ อิวาโอะ อดีตนักมวยอาชีพถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานปล้นและฆ่าหมู่นายจ้าง ภรรยาและลูกของนายจ้างอีกสองคนก่อนจุดไฟเผาบ้าน ในเขตชิซูโอกะ ทางภาคกลางของญี่ปุ่น เมื่อปี 2509 เขาถูกจับกุมและคุมขังในปีเดียวกันนั้น ในตอนแรกเขาให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แต่ต่อมาให้การรับสารภาพหลังถูกสอบปากคำนานถึง 20 วัน        

การพิจารณาคดีในชั้นศาล จำเลยกลับคำให้การโดยอ้างว่าถูกตำรวจทรมานบังคับให้รับสารภาพ แต่ไม่เป็นผล ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตในปี 2511 และศาลสูงพิพากษายืนในปี 2524 โดยเชื่อหลักฐานสำคัญที่อัยการใช้เอาผิด นั่นคือเสื้อผ้าเปื้อนเลือดที่พบหลังเกิดเหตุและการจับกุมแล้วถึง 1 ปี        

คำพิพากษารื้อคดีใหม่มีขึ้นหลังจากทนายความของเขา นำผลตรวจดีเอ็นเอจากคราบเลือดบนเสื้อผ้าที่เชื่อว่าคนร้ายสวมใส่มาแย้ง และพบว่าไม่ตรงกับของจำเลย  ผู้พิพากษากล่าวว่า ไม่เป็นธรรมที่จะกักขังต่อไป เพราะมีความเป็นไปได้ที่จำเลยจะเป็นผู้บริสุทธิ์ในระดับที่ต้องรับฟัง นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าพนักงานสอบสวนอาจสร้างหลักฐานขึ้นมาเพื่อเอาผิดจำเลย       

นายฮากามาดะเป็นนักโทษญี่ปุ่นคนที่ 6 ในยุคหลังสงครามที่ได้รับการพิจารณาคดีใหม่หลังถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตแล้ว โดย 4 คนจาก 5 คนก่อนหน้านี้ล้วนได้รับคำตัดสินยกฟ้องทั้งสิ้น  (ขอบคุณข้อมูลจากคมชัดลึก)

One year since Hakamada’s release, how much has really changed for Japan’s death row inmates?