Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

GIVE UP TOMORROW : เมื่อโทษประหารชีวิตไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

หมวดหมู่ : บล็อก

จุลศักดิ์  แก้วกาญจน์

  1. “คดีสองพี่น้องตระกูลชอง” ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2540 คือจุดเริ่มต้นของคดีแห่งศตวรรษ ( The Trial of the Century) หลังจากที่ตำรวจได้จับกุมผู้ต้องสงสัย ซึ่งเป็นชายหนุ่มทั้ง 7 คน และเริ่มต้นการดำเนินคดีเพื่อค้นหาความจริงที่เกาะเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ คดีสะเทือนขวัญนี้ ก่อให้เกิดกระแสการเรียกร้องของประชาชนอย่างกว้างขวางเพื่อขอให้กระบวนการยุติธรรม นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามอัตราสุงสุดของกฎหมายอาญา นั่นคือ การประหารชีวิต

    สถานที่ที่พบศพของสองพี่น้องตระกูลชอง คือ บริเวณหุบเขา จากการรายงานสภาพศพของสื่อมวลชนหลายแขนง ก่อให้เกิดขึ้นสรุปเบื้องต้นต่อสังคมว่า ผู้ต้องสงสัยทั้ง 7 รายมีพฤติกรรมที่โหดเหี้ยม นอกจากการข่มขืนและฆ่า ยังมีการอำพรางศพอีกด้วย และผู้ต้องสงสัยบางราย มีความใกล้ชิดกับนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลระดับสูงในสังคม ซึ่งทำให้สังคมเชื่อได้ว่า ผู้บริสุทธิ์จะตายเปล่า และผู้กระทำผิดจะยังคงลอยนวลต่อไป ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้ จึงก่อให้เกิดกระแสความเรียกร้องความเป็นธรรมกับสองพี่น้องตระกูลชองขึ้นทั่วประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีแม่ของผู้ตายและชุมชนที่มีความใกล้ชิดร่วมกันสร้างการรณรงค์ดังกล่าวขึ้น

    ด้วยอารมณ์ของสังคมที่เปี่ยมเต็มไปด้วยความโกรธแค้นนั้น มุ่งแต่จะลงโทษกับผู้ต้องสงสัยให้รวดเร็วและสาสมกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้น โทษประหารชีวิตคือข้อเสนอของสังคมที่ต้องการหยิบยื่นให้กับผู้ต้องสงสัยทั้ง 7 รายนั้น โดยไม่มีแม้แต่คำถามย้อนกลับขึ้นมาแม้แต่น้อย ว่าเขาเหล่านั้นเป็นผู้กระทำผิดจริงหรือไม่ ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมพัดพาทุกสิ่งไปตามยถากรรม


     
  2. ตลอดระยะเวลา ๑๓ ปี สำหรับการดำเนินคดีสองพี่น้องตระกูลชอง “ปาโก้” เป็นผู้ต้องหาที่สังคมติดตามและจับจ้องมาที่สุด เนื่องจากเขาและครอบครัวถูกให้ข้อมูลผ่านสื่อต่อสังคมว่าเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลรายหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องจึงพยายามดำเนินทุกวิธีทางเพื่อแสดงต่อสาธารณะว่า ได้มีความพยายามที่จะดำเนินกระบวนการให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมให้ได้มากที่สุด ปาโก้ ได้ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญดังกล่าว ไม่เคยรู้จักแม้กระทั่งสองพี่น้องตระกูลชอง และแม้แต่ในการสืบพยานในศาลชั้นต้น ปาโก้จะมีพยานเป็นเพื่อนนักเรียนและครูประจำชั้น ยืนยันว่าวันเกิดเหตุปาโก้อยู่ในระหว่างการสอบที่โรงเรียนและเมื่อสิ้นสุดการสอบ เขายังคงอยู่กับเพื่อนๆ ในงานปาร์ตี้นับสิบคน

    ในวันและเวลาตามที่สันนิษฐานว่าเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้น ปาโก้อยู่ที่มะนิลา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะไปปรากฎตัวเพื่อกระทำความผิดอยู่ที่เกาะเซบูซึ่งมีระยะทางห่างออกไปกว่า 565 กิโลเมตร

    พยานบุคคลที่มาเบิกความต่อหน้าศาลที่เมืองเซบู ผู้พิพากษาไม่ได้ใส่ใจแม้แต่น้อย พยานของจำเลยคนอื่นๆ ก็เช่นกัน มีผลให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ทั้งหมดต้องรับโทษประหารชีวิต


     
  3. ความพยายามเสนอให้รัฐไทยยกเลิกโทษประหารชีวิต เริ่มขึ้นด้วยข้อเรียกร้องจากองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานในประเด็นสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี เช่น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) องค์กรนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) รวมถึงกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ที่มีข้อเสนอให้รัฐบาลไทยยกเลิกโทษประหารชีวิต เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสากลด้านสิทธิมนุษยชนในสิทธิที่จะมีชีวิต (Rights to Life) เนื่องจากการลงโทษประหารชีวิต ถือเป็นการปฏิเสธสิทธิพื้นฐานของบุคคล ในการที่จะมีชีวิตอยู่และไม่ถูกลงโทษ ด้วยวิธีการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย้ำยีต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (Rights to Access to Justice) และสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Rights to Fair Trial) อีกด้วย เนื่องจากความผิดที่มีระวางโทษสูงสุดคือประหารหรือระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียว มักเป็นการตั้งข้อหาในการกระทำความผิดร้ายแรง ทั้งโทษที่เกี่ยวข้องต่อความมั่นคงของรัฐ หรือโทษอาญาร้ายแรงที่กระทบกระเทือนต่อความผาสุกของสังคม ทำให้กระบวนการยุติธรรมตามข้อกล่าวหานี้ มีข้อท้วงติงตั้งแต่การเข้าถึงทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมาย การมีอาวุธต่อสู้ในทางคดีที่เท่าเทียมกันระหว่างฝ่ายโจทก์และจำเลย จนไปถึงการทำหน้าที่ของอัยการ และความเป็นอิสระของผู้พิพากษา และการไม่พิจารณาในศาลพิเศษซึ่งมีกระบวนการที่เร่งรัด เพราะหากเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นในแต่ละส่วนของกระบวนการยุติธรรม ย่อมนำไปสู่การสังหารบุคคลด้วยความชอบธรรมตามตัวบทกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้ในที่สุด

    ในความพยายามยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ข้อโต้แย้งสำคัญประการหนึ่งที่มีต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตคือ การขาดเครื่องมือป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมร้านแรง แต่ความกังวลดังกล่าว ได้มีข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยว่า โทษประหารชีวิตไม่อาจลดความถี่และความร้านแรงของอาชญากรรมได้เท่าๆ กับการใช้โทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะอภิปรายกันต่อไปว่า การป้องกันชีวิตของจำเลยที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยการยกเลิกระวางโทษประหารชีวิตออกจากประมวลกฎหมายอาญา น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าการปล่อยให้เกิดการฆ่าผู้บริสุทธิ์ด้วยคำพิพากษาของรัฐ หรือได้รับโทษเกินกว่าที่ควรจะได้รับ ซึ่งเมื่อเกิดความสูญเสียดังกล่าวขึ้นมา ทั้งสาเหตุจากความผิดพลาดในกระบวนพิจารณา หรือความไม่เป็นธรรมจากการดำเนินคดี ก็ไม่มีใครจะสามารถชดเชยเยียวยา หรือฟื้นสภาพกลับให้ผู้สูญเสียมีสภาวะเช่นเดิมได้


     
  4. จากผลสำรวจและการดำเนินการของเครือข่ายต่อต้านโทษประหารชีวิตแห่งเอเชียแปซิฟิก (The Anti-Death Penalty Asia Network – ADPAN) ในทุกๆปี ภูมิภาคเอเชียแปซิฟฟิกจะมีผู้ถูกคร่าชีวิตด้วยคำพิพากษาของศาลนับเป็นพันราย ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการแขวนคอ การยิงเป้า หรือการฉีดยา ซึ่งในผลของการตัดสินดังกล่าว ปรากฏข้อร้องเรียนต่อสาธารณะและองค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนมากมาย ว่าผลจากการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรม นำมาสู่การตัดสินโทษประหารชีวิต

    เช่นเดียวกับกรณีของปาโก้ ซึ่งเขายืนยันความบริสุทธิ์ของตนเองมาโดยตลอด ผ่านการต่อสู้บนกระบวนการยุติธรรมอย่างเปิดเผยในทุกขั้นตอน แต่ดูเหมือนว่าความพยายามของตัวปาโก้ ครอบครัวของเขา และผู้คนที่เชื่อว่าเขาบริสุทธิ์ กลับไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ได้ จนกระทั่งการต่อสู้ของเขาได้ขยายไปสู่การร้องเรียนต่อองค์กรระหว่างประเทศเพื่อขอความช่วยเหลือ ทั้งการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ และการขอความคุ้มครองพิเศษเพื่อไม่ให้ต้องรับโทษประหารชีวิตทั้งที่กระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมานั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยข้อกังขา ทั้งนี้ มีองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กรได้นำกรณีของปาโก้รณรงค์เพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิต ทั้งในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ

     
  5. กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในปัจจุบัน เน้นถึงการแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นด้วยแนวคิกแบบ “การชดเชยเยียวยา” แทนมโนทัศน์เดิมที่เป็น “การแก้แค้นทดแทน” เบื้องหลังกระแสการรณรงค์เพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิต คือการศึกษาในเชิงวิชาการ ทั้งในมิติของผลสัมฤทธิ์ในการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และในมิติของผลกระทบจากการใช้โทษประหารชีวิตในสังคมต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งโทษประหารชีวิตไม่ได้ก่อให้เกิดประสิทธิภาพใดๆ ขึ้นเลย

    ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง GIVE UP TOMORROW ยิ่งตอกย้ำผลร้ายของการมีอยู่ของโทษประหารชีวิต ที่เกือบจะทำให้ผู้คนอีกหลายคนซึ่งกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถพิสูจน์ความจริงใดๆ ได้กับข้อกล่าวหาที่มอบให้ ต้องมาจบชีวิตลงด้วยคำพิพากษาที่สร้างข้น ซึ่งเป็นเป็นอาชญากรรมต่อเนื่องอย่างหนึ่งที่กระทำโดยรัฐ ที่นอกจากจะทำลายชีวิตของผู้ต้องโทษตามคำพิพากษานั้นแล้ว ยังทำลายครอบครัวและสังคมให้ต้องสาปอยู่กับความอยุติธรรมที่ตนไม่ได้ก่อเหล่านั้นด้วย
     

“ในนาทีที่คุณลืมความยุติธรรม ไม่ว่าจะที่ใดบนโลกนี้ ...นั่นคือ จุดเริ่มต้นของการล่มสลายของสังคม”- นี่คือสิ่งที่พี่สาวของปาโก้กล่าวออกมา หลังจากที่ต้องทนทรมานกับความไม่เป็นธรรมที่เกิดต่อครอบครัวของเธอมานานนับสิบปี.


 

ป้ายคำ: 

  • ยุติธรรม
  • โทษประหารชีวิต
  • ภาพยนตร์
  • สารคดี