Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

"ยุติการทรมาน" ในนามความยุติธรรม

หมวดหมู่ : บล็อก

"ยุติการทรมาน" ในนามความยุติธรรม

โดย ฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์ นักกิจกรรมแอมเนสตี้ฯ

26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น “วันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล” (International Day in Support of Victims of Torture) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “วันต่อต้านการทรมานสากล” เพื่อรณรงค์ให้ยุติการทรมาน ตลอดจนช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อผู้ถูกทรมานทั่วโลก

ย้อนสาเหตุความสำคัญของวันที่ 26 มิถุนายนกลายมาเป็นวันต่อต้านการทรมานสากล เนื่องจากองค์การสหประชาชาติลงนามรับรอง “อนุสัญญาต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ” หรือ CAT ในวันนี้เมื่อปี 2527 หรือเมื่อ 31 ปีก่อน ปัจจุบันมีสมาชิกให้สัตยาบันมากถึง 157 ประเทศ ทว่าเกือบทั้งหมดของประเทศภาคีต่างมีรายงานการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกันทั้งสิ้น

บางประเทศเกิดการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างกว้างขวาง บางประเทศเกิดการทรมานเพียงกรณีเดียว แต่ไม่ว่าจะทรมานมากหรือทรมานน้อย ทั้งหมดต่างก็เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ทั้งสิ้น ประเทศที่มีเรื่องการทรมานอันดับต้นๆ ของโลกมีตั้งแต่เม็กซิโก โมร็อคโก ไนจีเรีย อุซเบกิสถาน มาจนถึงประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่าง ฟิลิปปินส์

มองกลับมาที่ประเทศไทย เมื่อพูดถึง "การทรมาน" หลายคนอาจนึกถึงภาพความรุนแรง ทั้งการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจระหว่างประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั้งในข่าว ละคร และแม้กระทั่งชีวิตจริง แต่การทรมานอีกรูปแบบหนึ่งที่ถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง ทว่ากลับไม่ค่อยถูกพูดถึงอย่างจริงจังมาก นั่นคือ “การทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ”

นิยามการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หมายถึงการที่เจ้าหน้าที่รัฐทำร้ายผู้ต้องสงสัยโดยเจตนา ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้ต้องสงสัยคายข้อมูล ซัดทอด ไปจนถึงรับสารภาพ หรือที่คนไทยเรียกกันง่ายๆ ว่า “ถูกซ้อม” นั่นเอง นอกจากนี้ ยังรวมถึงการปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยอย่างไร้มนุษยธรรม ไปจนถึงบทลงโทษที่โหดร้ายเกินความจำเป็นและลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย

แม้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในภาคีอนุสัญญาดังกล่าวตั้งแต่ปี 2550 แต่หลังจากนั้นกลับมีสถิติการร้องเรียนว่า ถูกเจ้าหน้าที่รัฐทรมานเพื่อให้รับสารภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีอีกหลายกรณีที่ไม่ถูกรายงานหรือร้องเรียน

อาจกล่าวได้ว่า "การทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ" กลายเป็นสิ่งที่ถูกซุกอยู่ใต้พรมของสังคมไทย และเป็นเครื่องมือที่เกิดขึ้นในนามของ “กระบวนความยุติธรรม” ทั้งที่จริงแล้วการทรมานถือเป็นเรื่องผิด ไม่ว่ากระทำโดยใครหรืออยู่ในบริบทไหนก็ตาม

คำถามที่เกิดในความย้อนแย้งของภาพสังคมไทยที่เอื้ออาทร เป็นมิตร และให้อภัยแบบยิ้มๆ กลับซุกซ่อนด้วยภาพการทรมานในสถานที่คุมขัง หรือแม้แต่การไม่ยินยอมให้ผู้ต้องสงสัยพบทนายหรือแพทย์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้่นแบบที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงในเมืองไทย

เมื่อพูดถึงการต่อต้านการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใช่เรื่องที่เข้าข้างผู้กระทำผิด หากแต่เป็นการให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ได้มีโอกาสพิสูจน์ตัวเอง พร้อมกับมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง และได้รับบทลงโทษที่เหมาะสม หากพบว่าผู้นั้นกระทำความผิดจริง

มีเหตุผลมากมายที่เราควรตั้งคำถามว่า ชนชาติแห่งรอยยิ้มและความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ ควรหรือไม่ที่เพิกเฉยต่อการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แน่นอนว่าเราไม่สามารถรู้ได้ว่าการทรมานเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด และมากน้อยแค่ไหนบ้าง ตลอดจนไม่สามารถกำจัดความโหดร้ายของเจ้าหน้าที่รัฐได้โดยตัวคนเดียว แต่สิ่งที่ทุกคนทำได้ในเบื้องต้นคือ "การไม่ปิดหู ปิดตา" เมื่อพบเห็นหรือรับรู้เรื่องราวการทรมาน ไปจนถึงลุกขึ้นมามีปากมีเสียงต่อต้านการทรมานที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

เมื่อพิจารณาด้วยสามัญสำนึก การทรมานสมควรเป็นเรื่องที่ผิด ทว่ายังไม่ผิดกฏหมายในเมืองไทย เมื่อยังไม่มีการนิยาม "การทรมาน" ในตัวบทกฏหมาย เมื่อนั้นเราทุกคนต่างตกอยู่ในความเสี่ยงที่กระบวนการยุติธรรมอาจใช้วิธีการทรมานผู้ต้องสงสัยแบบไร้ซึ่งมนุษยธรรม และเราไม่อาจเอาโทษผู้กระทำผิดได้ตามกฏหมายอาญา

ถึงแม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทรมาน พ.ศ.... ซึ่งจะให้ความคุ้มครองผู้ต้องสงสัยตลอดจนประชาชนทั่วไปไม่ให้ถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แต่จนถึงตอนนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา ดังนั้น อีกสิ่งที่คนไทยจะช่วยยุติการทรมานได้ก็คือการส่งเสียง "การทรมาน ต้องเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายไทย"

เช่นเดียวกับทุกปีในวันที่ 26 มิถุนายนนี้ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนทั่วโลกต่างออกมารวมตัวทำกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทรมานและระลึกถึงเหยื่อจากการถูกทรมาน เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกัน ประเทศไทยก็เช่นกันโดยนักกิจกรรมและอาสาสมัครของ “แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย” ได้ออกเชิญชวนผู้คนในกรุงเทพฯ "เปิดหู เปิดตา เปิดปาก ร่วมกันยุติการทรมาน” ผ่านกิจกรรมถ่ายรูปพร้อมติด ‪#‎StopTorture ‪#‎AIThailand และร่วมสนุกในกิจกรรมออนไลน์ผ่าน www.facebook.com/AmnestyThailand เพื่อบอกว่า "เรารับไม่ได้กับการทรมาน"

 

ป้ายคำ: 

  • การทรมาน
  • วันต่อต้านการทรมาน
  • 26 มิถุนายน
  • เปิดหู เปิดตา เปิดปาก
  • ยุติการทรมาน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล