Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ถึงเวลาที่โลกต้องปกป้องและตระหนักถึงคุณค่าของเยาวชนนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

หมวดหมู่ : บล็อก

ถึงเวลาที่โลกต้องปกป้องและตระหนักถึงคุณค่าของเยาวชนนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

Clara Fok และSara Vida Coumans ผู้ประสานงานฝ่ายเยาวชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

ช่างเป็นเรื่องน่าตลกร้าย สำหรับวันที่ผู้คนทั่วโลกพากันฉลองวันเยาวชนสากล แต่แทบไม่มีใครให้ความใส่ใจกับพื้นที่ที่หดน้อยถอยลงของเยาวชนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเลย พวกเขามักจะพบว่าตนเองต้องตกเป็นเป้าของการกดขี่ปราบปรามโดยรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พลังของสื่อสังคมออนไลน์ช่วยให้โลกได้เห็นการพัฒนาของพลังเยาวชนที่พยายามต่อสู้และปกป้องสิทธิของตนเองและการกำหนดอนาคตของชุมชน เยาวชนเหล่านี้กำลังผลักดันให้รัฐบาลออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ผ่านการเรียกร้องให้รัฐบาลเคารพ คุ้มครอง และปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน

แน่นอนว่าเยาวชนเหล่านี้เคยมีบทบาทสำคัญในขบวนการทางสังคมซึ่งมีส่วนเกี่ยวกันกับพวกเขาเองเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันพวกเขาเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้นำของการประท้วงอย่างสันติและการขับเคลื่อนเพื่อความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เยาวชนไม่ได้เพียงแต่ต่อสู้อยู่ท้ายแถวหรือทำตัวเป็นนักเลงคีย์บอร์ดเท่านั้น แต่พวกเขาได้ลงมือจัดตั้งการชุมนุม การประท้วง การยึดพื้นที่สาธารณะ และมีส่วนในการเจรจาโดยตรงกับรัฐบาล พวกเขาไม่ต้องรอให้มีคนมา บอกว่าควรทำอะไร

แต่ผลลัพธ์เหล่านี้ก็มาพร้อมกับสิ่งที่ต้องแลก มันช่างเป็นโชคร้ายและเกิดขึ้นบ่อยครั้งเหลือเกินที่รัฐมักตอบโต้กับการเคลื่อนไหวภาคพลเรือนอย่างสงบของเยาวชน ด้วยการทุบตีและจับนักกิจกรรมวัยเยาว์เหล่านี้เข้าคุก

ดังเช่นในพม่า แกนนำนักศึกษากว่า 100 คน รวมทั้งเยาวชนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมต้องติดคุกเพราะประท้วงต่อต้านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ หนึ่งในนั้นคือ เพียว เพียว อ่อง (Phyoe Phyoe Aung) แกนนำวัย 26 ปี ของหนึ่งในขบวนการนักศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในพม่า วันที่ 25 สิงหาคมนี้เธอมีอายุครบ 27 ปี แต่ดูเหมือนว่าเธอจะต้องฉลองวันเกิดอยู่หลังลูกกรง เพราะคำตัดสินลงโทษจำคุกอันยาวนานและไม่เป็นธรรม หลังจากที่เธอถูกจับกุมเมื่อเดือนมีนาคมขณะที่ตำรวจใช้ความรุนแรงเข้าสลายการชุมนุมอย่างสงบครั้งใหญ่

นักศึกษาอีกจำนวนมากทั่วประเทศต้องถูกข่มขู่และคุกคาม ด้วยรูปแบบที่ดูเหมือนว่าจะเป็นการปราบปรามอย่างเป็นระบบต่อขบวนการนักศึกษา

แต่นี่ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ ทางการพม่าเองมีประวัติอันยาวนานในเรื่องการปราบปรามขบวนการนักศึกษา ซึ่งพวกเขากลัวว่าขบวนการนักศึกษาเหล่านี้จะเป็นตัวนำให้เกิดการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวงกว้างและเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจของพวกเขา

ในอีกซีกโลกหนึ่ง สถานการณ์ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก เมื่อเดือนมิถุนายน กองกำลังความมั่นคงของแองโกลาได้จับกุมนักกิจกรรมเยาวชนจำนวน 15 คนโดยพลการ ระหว่างการประชุมอย่างสงบเพื่ออภิปรายเกี่ยวกับการเมือง และพูดถึงข้อกังวลของพวกเขาต่อรัฐบาลของประธานาธิบดีโจเซ่ เอดูอาร์โด ดอส ซานโตส (José Eduardo dos Santos) ซึ่งครองอำนาจมานานถึง 36 ปี พวกเขาถูกกล่าวหาว่าวางแผนก่อความไม่สงบในที่สาธารณะและเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ แม้แต่นักกิจกรรมเยาวชนซึ่งไม่ได้เข้าร่วมประชุมก็ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมด้วย พวกเขาต่างถูกขังเดี่ยวในเรือนจำที่ห่างไกลจากบ้านของตนเอง ทำให้ครอบครัวและเพื่อนเดินทางไปเยี่ยมได้ลำบาก 

ความพยายามเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมเหล่านี้กลับส่งผลให้ผู้รณรงค์ถูกลงโทษอย่างรุนแรง ในวันที่ 22 กรกฎาคม ผู้ที่พยายามเข้าเยี่ยมเยาวชนเหล่านี้จำนวน 5 คนถูกควบคุมตัวเป็นเวลาเก้าชั่วโมง และเมื่อมีการประท้วงอย่างสงบในช่วงไม่กี่วันต่อมาเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวทั้ง 15 คน ผู้ชุมนุมก็ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง

การปราบปรามที่รุนแรงเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศพม่าและแองโกลา แต่เกิดขึ้นในทุกๆที่ ตั้งแต่ตุรกีจนถึงเวเนซูเอลา สหรัฐอเมริกาจนถึงอียิปต์ เยาวชนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งหลายต่างถูกคุมขังเพราะพวกเขาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง 

สังคมอาจไม่ยอมรับแรงต้านของเยาวชนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเสมอไป เหมือนที่ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนตั้งข้อสังเกตว่า “ภาพจำของคนทั่วไปที่มีต่อเยาวชนในสังคมและภาพที่สื่อนำเสนอ มักมุ่งเน้นไปที่ความอายุน้อยและความขาดพร่องทางวุฒิภาวะของเยาวชน และนำมาเป็นข้ออ้างไม่ให้พวกเขามีส่วนแสดงความเห็นเกี่ยวกับกิจการสาธารณะ นอกจากนี้ขบวนการเยาวชนและนักศึกษายังถูกมองว่าเป็นผู้ก่อความวุ่นวาย แทนที่จะมองว่าเป็นความพยายามอย่างจริงจังที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการอภิปรายอันเป็นประโยชน์แก่สังคม”

แต่การปฏิเสธไม่ให้เยาวชนมีที่นั่งในโต๊ะเจรจาเป็นการปิดกั้นโอกาสของพวกเขาที่จะมีส่วนร่วมในการอภิปรายเกี่ยวกับการทำงานสนับสนุนสิทธิมนุษยชน แม้ว่าจะมีการเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญจริงจังหรือแค่ทำพอเป็นพิธีเท่านั้น เพราะส่วนมากมักจะเหมารวมว่าการให้เยาวชนมีส่วนร่วมก็เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้และพัฒนา แทนที่จะมองว่าเยาวชนสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้ไม่แพ้บุคคลอื่นเลย วิธีการมองโดยยึดอายุเป็นเกณฑ์ตัดสินถือเป็นวงจรอุบาทว์ ที่ทำให้เยาวชนเหลือพื้นที่เพียงน้อยนิดในการมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดวาระทางสังคม ในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายก็ไม่พยายามแก้ไขอุปสรรคที่ขัดขวางเยาวชนจากการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานได้อย่างเต็มที่ 

เราจำเป็นต้องก้าวถอยหลังหนึ่งก้าวและทบทวนว่ารัฐควรมีท่าทีอย่างไรต่อเยาวชนซึ่งกำลังมีส่วนร่วมในสังคม เพื่อเปิดพื้นที่ให้พวกเขามีส่วนในการตัดสินใจที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของตนเอง 

ถ้ารัฐบาลให้ความสำคัญต่อชีวิตของเยาวชน พวกเขาต้องให้หลักประกันว่าเยาวชนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งหลายจะสามารถเรียกร้องและใช้สิทธิของตนได้อย่างเสรีโดยปราศจากความกลัว 

แน่นอนว่าการมีส่วนร่วมทางพลเรือนของเยาวชนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ภายในชั่วข้ามคืน แต่ต้องใช้เวลาเพื่อสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งจากกลุ่มคนหลายรุ่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นรัฐบาลสามารถเริ่มด้วยการปล่อยตัวนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกคนที่ถูกควบคุมตัวเพียงเพราะใช้สิทธิของตนเองอย่างสงบโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข

ป้ายคำ: 

  • เยาวชน
  • นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล