Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ฤา “เสรีภาพในการแสดงออก” คือกุญแจแก้ปัญหาทุจริต?

หมวดหมู่ : บล็อก
ภาพ: commons.wikimedia.org

ฤา “เสรีภาพในการแสดงออก” คือกุญแจแก้ปัญหาทุจริต?

 

เรื่อง: ณัชปกร นามเมือง (ถา)
นักกิจกรรมแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

 

          ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาที่หลายรัฐบาลทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ประเทศไทย" แต่ทว่า ไทยกลับไม่ได้โดดเดี่ยว เพราะใน “มาเลเซีย” ก็มีปัญหาในลักษณะเช่นเดียวกัน

          ที่ผ่านมา มีคนจำนวนไม่น้อยที่ถูกรัฐดำเนินคดีเพียงเพราะพวกเขาทำหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐบาล ว่าขาดความโปร่งใสมากน้อยเพียงไร และเป็นเรื่องที่น่าตกใจ เมื่อนักกฎหมาย สื่อมวลชน หรือแม้แต่นักวาดการ์ตูน อย่าง ซุลกิฟลี อันวาร์ อัลฮาเก หรือ "ซูนาร์" ก็ถูกรัฐใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อปิดกั้นการแสดงออก

          โดยผลงานของ "ซูนาร์" ค่อนข้างมีชื่อเสียง เพราะ เขาใช้ภาพการ์ตูนในการเสียดสีและวิพากษ์วิจารณ์การทุจริตของรัฐบาล รวมถึงการใช้อำนาจเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน แต่เพราะความหวังดีต่อชาติของเขา ส่งผลให้เขาต้องถูกดำเนินคดีร้ายแรงถึง 9 ข้อหา[1]

          แม้สิ่งเหล่านี้จะน่าตลกขบขันแต่มันก็โหดร้าย เพียงแค่การทวีตข้อความ 9 ข้อความและการตีพิมพ์ผลงานภาพวาดก็อาจทำให้ชายหนึ่งคนมีโอกาสติดคุกนานถึง 43 ปี ตามกฎหมายป้องกันการปลุกระดม (the Sedition Act) ทั้งที่ ผลงานเหล่านั้นพยายามจะตอกย้ำปัญหาของรัฐบาล อย่างกรณี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หรือ นาจิบ ราซัก พยายามใช้อิทธิพลทางการเมืองบงการศาล และใช้กระบวนการยุติธรรมให้เป็นคุณแก่รัฐบาล และเล่นงานพรรคฝ่ายค้าน[2] 

ลงชื่อช่วยนักวาดการ์ตูนมาเลเซียที่โดน 9 ข้อหาหลังทวีตวิจารณ์รัฐ


          และเมื่อพิจารณาตามประวัติศาสตร์ของกฎหมายจะพบว่า กฎหมายมาตรานี้เป็นมรดกตกทอดมาจากยุคล่าอาณานิคมที่เจ้าอาณานิคมใช้เพื่อคุ้มครองตนเองจากฝ่ายที่ต่อต้าน โดยกฎหมายกำหนดความผิดสำหรับผู้ที่ "ยุยงปลุกระดม" หรือ "การกระตุ้นให้เกิดความไม่ชอบ" หรือ "ทำให้เกิดการดูหมิ่นหรือเกลียดชัง" ต่อรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศ[3]
  
          อย่างไรก็ดี กฎหมายดังกล่าว มีปัญหาในเชิงกระบวนการ เพราะเปิดช่องให้พนักงานอัยการไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เจตนาของผู้กระทำความผิด[4] และด้วยช่องโหว่เช่นนี้ จึงเป็นผลให้รัฐบาลใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อจัดการกับผู้ที่ต่อต้านหรือวิจารณ์รัฐบาลในแง่ลบได้ถนัดมือ

          นอกจากการตั้งข้อหา "ซูนาร์" เคยให้สัมภาษณ์[5] ว่า การคุกคามการวาดการ์ตูนของเขายังมีในรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น หนังสือการ์ตูนของเขาจำนวน 7 เล่ม ถูกสั่งห้ามเผยแพร่ เพราะเนื้อหากระทบต่อความสงบเรียบร้อย และร้านหนังสือก็ไม่กล้าที่จะนำไปขายเพราะจะมีตำรวจแวะมาเยี่ยมเยียน หรือถูกดำเนินคดีเกี่่ยวกับใบอนุญาต จนไม่มีใครกล้าวางขาย
 
          และแม้ว่าเขาจะเลือกใช้หนทางอื่น อาทิ วางขายผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง แต่ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจก็สั่งให้เว็บมาสเตอร์ต้องเปิดเผยตัวตนของคนที่สั่งซื้อหนังสือการ์ตูนของเขา[6] ซึ่งสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับผู้สนับสนุนผลงานของ "ซูนาร์" อยู่พอสมควร

          จากกรณีนี้ มีองค์กรสิทธิมนุษยชนมากมายให้ความสนใจ อาทิ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เรียกร้องต่อนายกฯ มาเลเซียว่า ให้ยกเลิกข้อกล่าวหาต่อ "ซูนาร์" ร่วมถึงให้หลักประกันว่าเขาและทีมงานจะไม่ถูกจำกัดหรือคุกคามในทุกรูปแบบ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายป้องกันการปลุกระดมและกฎหมายอื่นๆ ที่จำกัดเสรีภาพในการแแสดงออก[7]
 
          แต่สิ่งสุดท้ายที่ยังคงเป็นคำถามที่ประชาชนทัั้งหลายควรหาคำตอบก็คือ เพราะเหตุใด? รัฐจึงต้อง “หวาดกลัว” เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน 


อ้างอิง

[1] Index by Censorship, I. o. (2015, oct 26). Retrieved oct 31, 2015, from www.indexoncensorship.org: https://www.indexoncensorship.org/2015/10/malaysian-cartoonist-facing-43-years-in-prison/
[2] สุลักษณ์ หลำอุบล. (2012, 7 17). Retrieved 10 31, 2015, from http://prachatai.com/journal/2012/07/41588
[3] (2015, Feb 11). Retrieved Oct 31, 2015, from www.article19.org: https://www.article19.org/resources.php/resource/37848/en/malaysia:-article-19-calls-for-the-immediate-and-unconditional-release-of-political-cartoonist-zunar
[4] อ้างแล้ว
[5] iLaw. (2015, Oct 31). http://freedom.ilaw.or.th/. Retrieved May 1, 2015, from http://freedom.ilaw.or.th/blog/foeinmalaysia
[6] อ้างแล้ว
[7] (2015, Oct 28). Retrieved Oct 31, 2015, from www.amnesty.org.uk/: http://www.amnesty.org.uk/write-rights-zunar-malaysia#.Vjc4hLcrLIU
[8] รูปประกอบบทความมาจากเว็บไซต์ commons.wikimedia.org

 

ป้ายคำ: 

  • เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  • เสรีภาพในการแสดงออก
  • สิทธิมนุษยชน
  • การละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • ศาล
  • รัฐบาล
  • มาเลเซีย
  • ทุจริต
  • คอร์รัปชัน
  • ทุจริตคอร์รัปชัน
  • การ์ตูนการเมือง
  • นักวาดการ์ตูน
  • พลังจากปลายปากกา
  • Write For Rights
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • Amnesty International Thailand
  • AMNESTY INTERNATIONAL