Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

“พ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่น” ของมาเลเซียคืออะไร? ทำไมถึงละเมิดเสรีภาพประชาชน?

หมวดหมู่ : บล็อก
ภาพ: upload.wikimedia.org

“พ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่น” ของมาเลเซียคืออะไร? ทำไมถึงละเมิดเสรีภาพประชาชน?

แปล: สุพิชญา พรหมบุญ
อาสาสมัคร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

 

          นายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวเมื่อเดือนเมษายน 2558 ที่ผ่านมาว่าเขาจะสนับสนุนการใช้ “พ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่น” (Sedition Act) ต่อไป ถึงแม้ว่าเขาเองเคยได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะยกเลิกกฎหมายดังกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ก็ตาม

          พ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่น การยุยงปลุกปั่น และการขัดขืนอำนาจรัฐฉบับนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในการปิดปากคนเห็นต่าง

 

พ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่นครอบคลุมอะไรบ้าง?

          พ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่นถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษในปี 2491 เพื่อปราบปรามกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ท้องถิ่น หลังจากมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ 50 กว่าปีก่อน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระบุว่า Barisan Nasional ซึ่งเป็นกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลได้ขยายขอบเขตอำนาจของกฎหมายฉบับนี้ ทำให้คำจำกัดความในกฎหมายคลุมเครือเกินไป

          ปัจจุบัน พ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่นถูกใช้เพื่อปราบปรามการเคลื่อนไหว การพูด หรือการตีพิมพ์เนื้อหาใดๆ ที่จะนำไปสู่การหมิ่นประมาทต่อต้านรัฐบาลหรือสุลต่านทั้ง 9 ราชวงศ์ของมาเลเซีย ขณะเดียวกัน ก็ห้ามการปลุกปั่นความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติและศาสนา ไปจนถึงห้ามการตั้งคำถามเกี่ยวกับตำแหน่งพิเศษของกลุ่มชาติพันธุ์หลักที่เป็นชาวมาเลย์และชนพื้นเมืองในซาบาห์ (Sabah) และซาราวัก (Sarawak) ด้วย ผู้กระทำความผิดตามพ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่นอาจต้องเโทษด้วยการปรับหรือจำคุกสูงสุดถึง 3 ปี

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่ากล่าวว่ากฎหมายนี้ “ล้าสมัยและกดขี่เสรีภาพ” เนื่องจากก่อนหน้านี้ มันถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านนักการเมืองขั้วตรงข้าม แต่ในช่วงไม่กี่เดือนมา ขอบเขตได้ขยายออกไปสู่นักข่าว นักศึกษา และนักวิชาการด้วย

 

ทำไมพ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่นถึงไม่ถูกยกเลิก?

          แน่นอนว่าก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดของมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซักได้ประกาศว่าจะยกเลิกพ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่นในเดือนกรกฎาคม 2555 โดบระบุว่ามันเป็น “ตัวแทนของยุคแห่งความล้าสมัย” และยังเป็นส่วนหนึ่งในแผนการปฏิรูปของเขาเพื่อนำมาเลเซียไปสู่ความเป้นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วย

          นายนาจิบ ราซักกล่าวว่าพ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่นควรจะถูกแทนที่ด้วย “พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ” (National Harmony Act) แต่การใช้พ.ร.บ.ยุงยงปลุกปั่นจับกุมประชาชนอย่างเข้มข้มตลอดปีที่ผ่านมาอาจเป็นสัญญาณว่าเขาได้กลับคำมั่นของตัวเองเสียแล้ว

          นับตั้งแต่รัฐบาลผสมซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู-มุสลิมของเขาได้รับชัยชนะอย่างเฉียดฉิว นักวิเคราะห์และสมาชิกพรรคบางคนบอกกับบีบีซีว่านายกรัฐมนตรีกำลังเผชิญหน้ากลุ่มอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรงภายในกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลที่ต่อต้านแผนการปฏิรูปของเขา และต้องการผลักดันนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาอื่นๆ ในประเทศแทน

 

แล้วใครบ้างที่เป็นเป้าหมายของกฎหมายนี้?

          ฮิวแมนไรท์วอทช์ ประมาณการณ์ว่านับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา มีชาวมาเลเซียถูกจับในข้อหายุยงปลุกปั่นอย่างน้อย 14 คน ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล นักกิจกรรม นักข่าว ตลอดจนทนายความของนายอันวาร์อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซียในยุคนั้น ส่วนนายอันวาร์เองก็กำลังถูกสอบสวนในข้อหานี้เช่นกัน

          ในเดือนกันยายน 2557 “อัซมี ชารอม” ศาสตราจารย์ที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแห่งมาลายาก็ถูกจับกุมในข้อหายุยงปลุกปั่นจากการให้ความเห็นทางการเมืองเมื่อ 5 ปีก่อน โดยเขายื่นแก้ต่างว่าไม่ได้กระทำผิด การจับกุมครั้งนั้นจุดประกายให้เกิดการประท้วงที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักโดยนักศึกษา นักวิชาการ และสมาชิกเนติบัณฑิตสภาของมาเลเซีย

ลงชื่อช่วยนักวาดการ์ตูนมาเลเซียที่โดน 9 ข้อหาหลังทวีตวิจารณ์รัฐ

แล้วรัฐบาลมาเลเซียว่าอย่างไรบ้าง?

          กันยายน 2557 โฆษกรัฐบาลมาเลเซียปฏิเสธกับบีบีซีว่านายนาจิบ ราซักกลับคำมั่นสัญญาของเขาที่จะยกเลิกพ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่น และกล่าวว่าต้องใช้ในการหากฎหมายที่สมดุลกันระหว่างเสรีภาพในการพูดและการพิทักษ์ความหลากหลายของประชากรในมาเลเซียจากความเกลียดชังทางเชื้อชาติและศาสนา

          2 เดือนต่อมา นายนาจิบ ราซศักประกาศในที่ประชุมประจำปีของพรรคว่าเขาจะยังคงใช้พ.ร.บ.ยุยงปลุกปั่น ต่อไป โดยปราศจากคำอธิบายว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนใจ

          ยิ่งไปกว่านั้น นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังระบุด้วยว่าเขาจะเพิ่มมาตราให้กับกฎหมายนี้ด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้ศาสนาอิสลาม ป้องกันการสบประมาทต่อศาสนาอื่น และเพื่อต่อต้านใครก็ตามที่เรียกร้องให้ยกเลิกรัฐซาบาห์และซาราวักบนเกาะบอร์เนียว

 

สังคมโลกมีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้อย่างไร?

          นายอันวาร์ อิบรอฮิม ผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซียกล่าวว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการ “เดินถอยหลัง” และมันจะเป็นสิ่งที่ผลักให้ประเทศกลับไปสู่ “ยุคแห่งพ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน” หรือที่เรียกว่า Internal Security Act ที่ถูกยกเลิกไปนานแล้ว ซึ่งเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้มีการคุมขังแบบไม่มีกำหนดเวลาและไม่ต้องมีการสอบสวนได้ ส่งผลให้คนในยุคนั้นจำนวนมากต้องควบคุมเสรีภาพการแสดงออกของตัวเอง

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่าการไต่สวนข้อหายุยงปลุกปั่นต่อนายอันวาร์ อิบราฮิมเป็น “การกลั่นแกล้งทางการเมืองอย่างชัดเจน” และได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซักยกเลิก “กฎหมายที่เข้มงวดเกินจำเป็น” ฉบับนี้เสีย

ไม่นานหลังจากการประกาศของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นายฟิลล์ โรเบิร์ตสันแห่ง ฮิวแมนไรท์วอทช์ ได้ทวีตข้อความว่านี่คือจุดจบของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออกในมาเลเซีย เขาทวีตว่า “นักการเมืองฝ่ายค้านและนักกิจกรรมจงระวังตัวกันไว้” (Opposition politicians and activists watch out.)


อ้างอิง

[1] (2014, Nov 27). Retrieved Nov 13, 2015, from www.bbc.com: http://www.bbc.com/news/world-asia-29373164

 

 

ป้ายคำ: 

  • เสรีภาพในการแสดงออก
  • เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  • ปลุกระดม
  • ยุยงปลุกปั่น
  • มาเลเซีย
  • นาจิบ ราซัก
  • อันวาร์ อิบราฮิม
  • ซูนาร์
  • การเมืองมาเลเซีย
  • นักวาดการ์ตูน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • ฮิวแมนไรท์วอทช์