Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

14 ข้อเท็จจริงของ "การทรมาน" โดยเจ้าหน้าที่รัฐในเม็กซิโก

หมวดหมู่ : บล็อก
ภาพ: worldwithouttorture.org

14 ข้อเท็จจริงของ "การทรมาน" โดยเจ้าหน้าที่รัฐในเม็กซิโก

แปล: สุพิชญา พรหมบุญ
อาสาสมัคร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

 

          เป็นเวลาหลายปีที่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ได้แกะร่องรอยและบันทึกหลักฐานเกี่ยวกับการทรมานในเม็กซิโก โดยในรายงานเรื่อง “Out of Control: Torture and other ill-treatment in Mexico” เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงอันน่าตกใจที่ชี้ให้เห็นว่าการทรมานในเม็กซิโกแผ่ขยายไปไกลและเป็นปัญหาร้ายแรงมากแค่ไหน พวกเราพบว่า...

          1.ในปี 2556 มีเรื่องร้องเรียนการถูกทรมานหรือถูกปฏิบัติอย่างทารุณต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเม็กซิโก 1,505 กรณี เพิ่มขึ้นถึง 600% เมื่อเทียบกับปี 2546 และคาดว่าตัวเลขจริงจะสูงกว่านี้

          2.ระหว่างปี 2553 ถึง 2556 คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเม็กซิโก ได้รับเรื่องร้องเรียนการถูกทรมานหรือถูกปฏิบัติอย่างทารุณรวมกัน มากกว่า 7,000 กรณี

          3.ผลสำรวจของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลพบว่า 64% ของชาวเม็กซิกันกลัวที่จะถูกทรมานหากโดนควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

          4.สถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติอย่างทารุณรุนแรงขึ้นอย่างมากหลังปี 2549 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศ “สงครามยาเสพติด” ของรัฐบาลเม็กซิโก

          5.การยกเว้นโทษต่อผู้ที่ก่อเหตุทรมานเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ระหว่างปี 2548 ถึง 2556 ศาลเม็กซิโกดำเนินคดีเกี่ยวกับการทรมานถึง 123 คดี แต่มีคดีที่ถูกตัดสินโทษเพียง 7 คดี

          6.น้อยกว่า 1% ของผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในเม็กซิโก ซึ่งรวมถึงผู้ที่ถูกทรมาน พบว่าคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเม็กซิโกนำกรณีของพวกเขามาเปิดเผยต่อสาธารณะ กรณีร้องเรียนอื่นๆ เกือบทั้งหมดยังคงถูกปกปิดจากการตรวจสอบของสาธารณะ

          7.ระหว่างปี 2551 ถึง 2556 ชาวเม็กซิกัน 8,595 คน ถูกกักตัวไว้นานถึง 80 วัน ก่อนการตั้งข้อหาจับกุมโดยสำนักงานอัยการสูงสุดแห่งชาติ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว พวกเขามีความเสี่ยงต่อการถูกทรมาน

          8.ระหว่างปี 2548 ถึง 2556 มีการขอคำสั่งศาล 3,749 ฉบับ ในการคุ้มครองผู้ต้องขังจากการทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ แต่ไม่มีหลักฐานว่าคำสั่งศาลเหล่านั้นได้รับการอนุมัติกี่ฉบับ

          9.สิงหาคม 2557 เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางเม็กซิโกออกมายอมรับว่ามีประชาชนอีก มากกว่า 22,000 คน ที่ยังคงสูญหายหรือหายสาบสูญ โดยในหลายกรณีมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปพัวพันจนอาจเชื่อได้ว่าเป็น การบังคับให้สูญหาย ด้วย

          10.การทรมานทั่วเม็กซิโกมีหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การทำให้สำลักน้ำ การซ้อม การจำลองการประหารชีวิต การคุกคามทางเพศ การขู่ฆ่า และการช๊อตด้วยไฟฟ้า

ลงชื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้คุณแม่ลูกสองที่ถูกตำรวจซ้อมและข่มขืมให้รับสารภาพ  

          11.ในปี 2013 สำนักงานอัยการสูงสุดเม็กซิโกนำเอากระบวนการทดสอบทางการแพทย์แบบพิเศษมาใช้เพื่อพิสูจน์การถูกทรมานและการถูกปฏิบัติอย่างทารุณตามมาตรฐานของสหประชาชาติ แต่มีเพียง 472 กรณี เท่านั้นที่ผ่านกระบวนการดังกล่าว จากเรื่องร้องเรียนทั้งหมดหลายพันกรณี

          12.มีเพียง ประมาณ 1 ใน 20 ของผู้ที่ที่อ้างว่าถูกทรมานหรือถูกปฏิบัติอย่างทารุนที่ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเม็กซิโกและได้รับการสอบสวนตามกฎหมายอย่างเป็นทางการโดยสำนักงานอัยการสูงสุด ขณะที่ส่วนใหญ่จะถูกยกฟ้องหรือถูกลดความสำคัญของคดีลง

          13.มีเพียง 1 ใน 8 ของคดีที่ได้รับการพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์แล้วพบหลักฐานของการทรมาน แต่การสืบสวนส่วนใหญ่จะถูกทำให้ยุติลงหลังจากนั้น ระหว่างปี 2549 ถึง 2556 สำนักงานอัยการสูงสุดเม็กซิโกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการทรมานเพียง 12 ข้อหา เท่านั้น 

          14.พฤษภาคม 2557 ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติด้านการทรมานเดินทางมาสังเกตการณ์ที่เม็กซิโกและพบว่า “การใช้การทรมานและการปฏิบัตอย่างทารุนอย่างแพร่หลายยังคงเกิดขึ้นอยู่”


อ้างอิง

[1] (2014, Sep 14). Retrieved Nov 23, 2015, from www.amnesty.org: https://www.amnesty.org/en/latest/news/2014/09/torture-mexico-fourteen-f...


 

ป้ายคำ: 

  • การทรมาน
  • การซ้อมทรมาน
  • ละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • เม็กซิโก
  • การทรมานในเม็กซิโก
  • สถิติการทรมาน
  • การทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
  • การอุ้มหาย
  • ศาลเม็กซิโก
  • กระบวนการยุติธรรมเม็กซิโก
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • Amnesty International Thailand