Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

รำลึกนักปกป้องสิทธิฯ : "ลุงใช่ บุญทองเล็ก" กับการต่อสู้เพื่อที่ดินทำกินของคนจนภาคใต้

หมวดหมู่ : บล็อก
ภาพ: สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)

รำลึกนักปกป้องสิทธิฯ :

"ลุงใช่ บุญทองเล็ก" กับการต่อสู้เพื่อที่ดินทำกินของคนจนภาคใต้

 

เหตุการณ์สังหาร

          นายใช่ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)[1]  และแกนนำผู้ก่อตั้งชุมชนคลองไทรพัฒนา อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาศัยอยู่ในชุมชนนี้มานับตั้งแต่ปลายปี 2551

          เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เวลาประมาณ 18.30 นาฬิกา ขณะนายใช่ บุญทองเล็ก นั่งอยู่ที่บ้านพักอาศัยของลูกหลาน ซึ่งเปิดเป็นร้านขายของชำ ตั้งอยู่ริมถนนสาย บ้านควนสระ-ถ้ำหอม อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ห่างจากชุมชนคลองไทรพัฒนา 6-7 กิโลเมตร) มีชายแปลกหน้าสองคนซ้อนท้ายจักรยานยนต์ไม่ติดป้ายทะเบียนขับมาที่บ้านหลังดังกล่าว แล้วยิงด้วยอาวุธปืนหกนัดเข้าที่หน้าอกและศีรษะ นายใช่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที ซึ่งนับเป็นผู้เสียชีวิตรายที่สี่ของสมาชิกสกต. และสมาชิกชุมชนคลองไทรพัฒนา อย่างไรก็ตาม จนถึงวันนี้ยังไม่สามารถจับตัวผู้ลอบทำร้ายมาลงโทษได้

 

ความคืบหน้าคดี

          เจ้าพนักงานสอบสวนส่งมอบหลักฐานให้พนักงานอัยการโดยมีผู้ต้องสงสัยสามคน คือมือปืน ผู้จ้างวานฆ่า และคนขับมอเตอร์ไซค์ จากนั้น วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 พนักงานอัยการจังหวัดเวียงสระ ยื่นฟ้องจำเลย เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1273/2558 ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และศาลจังหวัดเวียงสระนัดพร้อมเพื่อสมานฉันท์ สอบคำให้การจำเลย ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยานในวันนี้[2]  ทั้งนี้ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาคดี วันที่ 15 มีนาคม 2559

 

สกต. คืออะไร?

          สกต. เป็นขบวนการภาคประชาชนที่เรียกร้องให้รัฐยุติสัญญาเช่าที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติกับบริษัทเอกชน ตามนโยบายของรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และให้จัดสรรพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินทำกินสำหรับคนยากจนในภาคใต้ การเคลื่อนไหวเริ่มจากชาวบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช ราว 3,000 คน รวมตัวกันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2545 ในนาม ‘เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจนภาคใต้’ เรียกร้องให้รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ยกเลิกต่อสัญญาเช่าพื้นที่ป่าแก่บริษัทเอกชน เพื่อนำมาจัดสรรให้กับคนจน หลังพบว่าบริษัทบางรายบุกรุกที่ดินมากกว่าที่ได้รับอนุญาต

          ชาวบ้านกว่า 20,000 คน รวมตัวอีกครั้งที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีมีมติยุติต่อสัญญาพื้นที่ซึ่งหมดอายุสัญญาและพื้นที่ซึ่งมีการทำผิดเงื่อนไข และออกระเบียบจัดสรรที่ดินให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกิน ในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน

          อย่างไรก็ตาม ในส่วนพื้นที่ของชุมชนคลองไทรพัฒนา บริษัทจิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด ซึ่งเข้าทำกิจกรรมในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2528 ไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ กระทั่งในปี 2548 สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นโจทก์ฟ้องร้องต่อศาล และชนะคดีเมื่อต้นปี 2550 โดยศาลสั่งให้บริษัทออกจากพื้นที่ แม้บริษัทจะยื่นอุทธรณ์และฎีกา ศาลก็ยืนคำตัดสินตามศาลชั้นต้น ในปี 2551 ชาวบ้านจึงเข้าไปตั้งชุมชนในบริเวณที่บริษัทจิวกังจุ้ยฯ ครอบครองอยู่บางส่วน เพื่อกดดันให้รัฐเร่งดำเนินการจัดสรรที่ดิน  อย่างไรก็ดี จนถึงทุกวันนี้ชาวบ้านยังไม่ได้รับมอบพื้นที่จาก ส.ป.ก. แม้ว่าคดีความจะสิ้นสุดไปแล้ว แต่บริวารของบริษัทยังคงอยู่ในพื้นที่ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2558 เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจการ ส.ป.ก. แจ้งให้ชาวบ้านชุมชนคลองไทรพัฒนาย้ายออกจากพื้นที่ด้วย โดยอ้างว่าต้องมีการจัดสรรที่ดินใหม่

 

ภัยคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐและบริษัทเอกชน

          ชาวบ้านเผชิญการข่มขู่คุกคามหลายรูปแบบ ในช่วงแรกของการก่อตั้งชุมชน เช่น มีเสียงยิงปืนดังจากด้านนอกชุมชนหลายสิบนัด ซึ่งเป็นที่ตั้งแคมป์คนงานของบริษัทฯ เมื่อวันเดือนสิงหาคม 2552 ผู้บังคับการจังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ 40 นายจอเข้าตรวจค้นอาวุธและยาเสพติดในชุมชน แต่ไม่พบ เมื่อเจ้าหน้าที่เดินทางกลับออกไป มีรถแทรกเตอร์หลายคัน พร้อมกลุ่มชายฉกรรจ์ถืออาวุธปืนยาวเข้าพังรั้วของชุมชน และไถรื้อบ้านพังเสียหาย 60 หลัง ชาวบ้านนำภาพถ่ายเป็นหลักฐานแจ้งความต่อสถานีตำรวจภูธรชัยบุรี แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่รับเรื่อง

          ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2553 มีผู้พบศพนายสมพร พัฒภูมิ อดีตช่างจักรยานยนต์ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณด้านนอกหมู่บ้าน และเดือนพฤศจิกายน 2555 นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงอีกสองคน ได้แก่ นางมณฑา ชูแก้ว อาชีพแม่ค้า และนางปราณี บุญรักษ์ คนงานรับจ้าง ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับจากตลาดในพื้นที่

          หลังการรัฐประหาร 2557 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ในปีเดียวกัน เจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน) จังหวัดสุราษฏร์ธานี 50 นาย พร้อมด้วยนายหน้าซื้อขายที่ดินบริเวณดังกล่าว ชี้แจงว่าชาวบ้านไม่มีสิทธิในพื้นที่ ต่อมา วันที่ 24 กันยายน 2557 ชายไม่ทราบชื่อแต่งชุดคล้ายทหารหนึ่งคน และแต่งชุดลำลองอีกห้าคน อ้างตัวว่าเป็นทหารจากค่ายวิภาวดี เข้าตรวจสอบพื้นที่และแจ้งว่าจะติดป้ายประกาศให้ย้ายออกจากพื้นที่ภายใน 7 วัน เพื่อรอการจัดสรรที่ดินทำกินของศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาชนบทตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้นชาวบ้านจึงได้เร่งติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ดำรงธรรม องค์การสหประชาชาติ และยื่นหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรมที่ทำเนียบรัฐบาล ทำให้การดำเนินการขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหารยุติลง[3]

 

[1] ภาษาอังกฤษ : Southern Peasants Federation of Thailand (SPFT)

ป้ายคำ: 

  • สกต
  • สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
  • ชุมชนคลองไทรพัฒนา
  • สปก
  • จิวกังจุ้ยพัฒนา
  • ชัยบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  • สิทธิชุมชน
  • สิทธิในที่ดิน
  • สิทธิในทรัพยากร
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย