Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ทำความรู้จัก "ร่าง พ.ร.บ.ทรมานและอุ้มหาย"

หมวดหมู่ : บล็อก

ทำความรู้จัก "ร่าง พ.ร.บ.ทรมานและอุ้มหาย"
(ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย)

ความหมายของ “การทรมาน”

          เจ้าหน้าที่รัฐกระทำ หรือมีส่วนยุยง ยินยอม รู้เห็นเป็นใจ หรือเกี่ยวข้องในการทำร้ายให้เกิดการบาดเจ็บอย่างสาหัสแก่ร่างกายหรือจิตใจ เพื่อให้ผู้ถูกกระทำหรือบุคคลยอมเปิดเผยข้อมูลหรือรับสารภาพ ยกเว้นการลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย

ความหมายของ “การบังคับบุคคลให้สูญหาย”

          เจ้าหน้าที่รัฐกระทำ หรือบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับคำสั่ง สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจในการจับกุม คุมขัง ลักพา หรือลิดรอนเสรีภาพของบุคคล โดยพยายามปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ที่บุคคลนั้นๆ

บทลงโทษต่อเจ้าหน้าที่รัฐ

  • ผู้ก่อเหตุจำคุก 5 ปีถึงตลอดชีวิต ปรับ 1 แสนถึง 1 ล้านบาท แล้วแต่ความรุนแรง
  • ผู้บังคับบัญชาที่ละเลยต่อการกระทำผิดดังกล่าวของผู้ใต้บังคับบัญชา รับโทษกึ่งหนึ่ง

คดีความ

  • อายุความ 20 ปี
  • ข้อมูลที่ได้จากการทรมานหรือบังคับสูญหาย ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อผู้เสียหายได้ แต่ผู้เสียหายสามารถนำไปใช้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ก่อเหตุทรมานหรือผู้บังคับสูญหายได้
  • ในคดีบังคับสูญหาย จะต้องสืบสวนจนพบบุคคลที่สูญหาย หรือมีหลักฐานที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นเสียชีวิตแล้ว หรือศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลสูญหายเท่านั้น

หน้าที่ของ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย”

  • มีสมาชิกจากภาครัฐ 8 คน และกรรมการสรรหาอีก 8 คน ซึ่งรวมถึงตัวแทนผู้เสียหาย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน ด้านการแพทย์ และด้านจิตวิทยา

o    ภาครัฐโดยตำแหน่งจำนวน 11 คน
      - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ประธาน) 
      - ปลัดกระทรวงยุติธรรม (รองประธาน)
      - ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ
o    องค์กรวิชาชีพกฎหมายโดยตำแหน่ง 1 คน
       - นายกสภาทนายความ 
o    ผู้ทรงคุณวุฒิโดยการสรรหา 6 คน
       -ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน 4 คน 
       -ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ 1 คน 
       - ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตวิทยา 1 คน

  • เสนอให้ออกระเบียบหรือปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้เกิดทรมานและการบังคับให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
  • ร้องต่อศาลให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังที่ถูกทรมาน
  • เปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสืบสวนสอบสวน
  • กำหนดมาตรการเยียวยาผู้เสียหายและญาติ
  • ประสานช่วยเหลือ สืบหา และติดตามผู้เสียหาย บุคคลสูญหายตามพรบ.ฉบับนี้

ทำไมต้องผ่านร่าง พ.ร.บ. ทรมานและอุ้มหาย?

          ถ้ายังไม่มีกฎหมายฉบับนี้...

  • เจ้าหน้าที่รัฐที่ก่อเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการทรมานไม่ถูกดำเนินคดีทางอาญา
  • ผู้เสียหายไม่กล้าแจ้งความฟ้องร้องเอาผิดต่อเจ้าหน้าที่ฯ
  • เมื่อไม่มีการแจ้งความ ไม่มีการตั้งข้อหา ก็ไม่สามารถร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลหรือศาลไม่รับฟ้อง เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ

          ถ้ามีกฎหมานฉบับนี้...

  • การทรมานและการอุ้มหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐจะกลายเป็นความผิดทางอาญา
  • การสอบสวนกรณีทรมานและการอุ้มหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐต้องอิสระ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
  • มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
  • มีการเยียวยาผู้เสียหายและญาติผู้เสียหาย (กรณีอุ้มหายหรือเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวที่มีสาเหตุมาจากการทรมาน)
  • เป็นไปตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลและอนุสัญญาต่างๆ ที่ไทยเป็นภาคีอยู่

ข้อสังเกต

          คณะกรรมการฯ ตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขาดความเป็นอิสระจากภาครัฐ เพราะมีคนจากภาครัฐถึง 8 คนจากทั้งหมด 16 คน ขณะที่อีก 8 คนก็คัดเลือกหรือแต่งตั้งผ่านกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพซึ่งก็เป็นหน่วยงานรัฐ จึงอาจเกิดการเอื้อผลประโยชน์ให้เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุทรมานได้  และยังมีมาตรา 21 ที่เปิดโอกาสให้ทางเจ้าหน้าที่รัฐปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกจำกัดเสรีภาพโดยอ้างเหตุผลว่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคล หรือความเป็นส่วนตัว หรือเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนคดีอาญา ซึ่งทำให้การควบคุมตัวดังกล่าวเป็นการควบคุมตัวลับที่ขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชน


 

ป้ายคำ: 

  • การทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
  • การทรมาน
  • การบังคับบุคคลสูญหาย
  • บังคับสูญหาย
  • อุ้มหาย
  • พ.ร.บ.ทรมานและอุ้มหาย
  • พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
  • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
  • ทนายสมชาย
  • สมชาย นีละไพจิตร
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล