Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

คำถามที่รัฐบาลลาวไม่อยากตอบ

หมวดหมู่ : บล็อก

คำถามที่รัฐบาลลาวไม่อยากตอบ

 
เขียน: John Coughlan
นักวิจัยประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แปล-เรียบเรียง: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

 

          ท่ามกลางขุนเขา ลำน้ำโขง และประเทศจีนอันยิ่งใหญ่จรดชายแดนภาคเหนือ ที่นี่คือประเทศ “ลาว” ดินแดนซึ่งไม่มีทางออกทะเลในภูมิภาคอาเซียน ที่ที่กองทัพสหรัฐฯ เคยทิ้งระเบิดมากกว่า 260 ล้านลูกช่วงสงครามบนคาบสมุทรอินโดจีน ถึงอย่างนั้น ลาวก็ไม่เคยได้รับความสนใจจากโลกภายนอกมากนักเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

          สัปดาห์นี้ “บารัก โอบามา” เดินทางมาเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนหรือ “อาเซียนซัมมิท” ที่กรุงเวียงจันทน์ ถือเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกในประวัติศาสตร์ที่เดินทางมายังลาว โดยทางการสหรัฐฯ ได้พูดถึงการกระชับความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างสองประเทศมากมาย โดยให้ความสำคัญสาธารณสุข โภชนาการ และการศึกษา

          อย่างที่หลายๆ คนพูดเป็นเสียงเดียวกัน ชีวิตในลาวมีความ ”สโลว์ไลฟ์” ไม่เร่งรีบ แต่ภายใต้ผืนน้ำอันนิ่งสงบนั้น ประธานาธิบดีโอบามาคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมลาว

          แน่นอนว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ย่อมมาพร้อมกับกองทัพสื่อมวลชน การได้มารายงานข่าวที่ลาวจึงเป็นโอกาสดีของสื่อมวลชนต่างชาติที่จะได้ถามคำถามหลายอย่างต่อทางการลาว ซึ่งคนลาวทั่วไปไม่กล้าถามเพราะเกรงกลัวต่อการข่มขู่คุกคาม ทว่าทางการลาวก็ได้เตรียมแผนล่วงหน้าเช่นกัน พวกเขาออกมาตรการจำกัดเสรีภาพสื่อช่วงอาเซียนซัมมิทอย่างเข้มงวด โดยกำหนดข่าวทุกชิ้นจะต้องผ่านเซ็นเซอร์จากทางการลาวเสียก่อน ก่อนที่จะตีพิมพ์หรือออกอากาศ

          นอกจากนี้ นักข่าวต่างชาติยังต้องถูกติดตามโดยคนของรัฐบาลลาวตลอดเวลาที่พวกเขาพำนักอยู่ในลาวด้วย มาตรการดังกล่าวอาจฟังดูมากเกินไปหน่อยก็จริง แต่มันเทียบไม่ได้เลยกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนชาวลาวต้องประสบในชีวิตประจำวัน

          ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปีก่อน หญิงคนหนึ่งชื่อ “พต มีเทน” ถูกจับในแขวงไชยบุรี หลังจากที่เธอถ่ายรูปตำรวจขณะกำลังไถเงินน้องชายของเธอและโพสต์รูปดังกล่าวบนสื่อออนไลน์ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เธอต้องถูกกักตัวนานถึงสองเดือน

          สื่อมวลชนอาจสงสัยในความเป็นไปของ “ลดคัม ทัมมะวง” “สมพอน พิมมะสอน” และ “สุกัน ไชทัด” สามนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน พวกเขาถูกจับเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลังจากเดินทางจากไทยกลับมายังลาวเพื่อต่ออายุพาสปอร์ต พวกเขาวิจารณ์รัฐบาลลาวผ่านโซเชียลมีเดียและเคยเข้าร่วมการชุมนุมหน้าสถานทูตลาวที่กรุงเทพฯ ด้วย

          หลังจากกลับไปยังลาว พวกเขาจมหายไปกับกระบวนการทางอาญา พวกเขาถูกขังเดี่ยวนานถึงสองเดือนก่อนจะปรากฏตัวอีกครั้งในช่องโทรทัศน์ของทางการซึ่งประณามพวกเขาในฐานะภัยความมั่นคงของชาติ เพียงเพราะใช้เสรีภาพออนไลน์ และจนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีใครทราบชะตากรรมของทั้งสามคน

          เหตุการณ์ใกล้เคียงกันยังเกิดขึ้นกับ “บุนทัน ทัมมะวง” ชายชาวโปแลนด์เชื้อสายลาว ที่ต้องโทษจำคุกสี่ปีครึ่งจากการวิจารณ์พรรครัฐบาลบนเฟซบุ๊ก โดยไม่มีใครรู้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเขาแต่อย่างใด

          และแน่นอน คำถามที่สำคัญที่สุดที่ไม่มีชาวลาวคนไหนกล้าเอ่ยปากถาม นั่นคือ “สมบัด สมพอน” อยู่ที่ไหน?

          เขาเป็นนักกิจกรรมภาคประชาสังคมคนสำคัญของลาว เขาถูกตำรวจเรียกให้หยุดและมีคนถ่ายรูปเขาขณะถูกนำตัวขึ้นรถบรรทุกเมื่อเดือนธันวาคมปี 2555 ไว้ได้ และไม่มีใครได้ข่าวเกี่ยวกับเขาอีกเลยหลังจากนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นสถานการณ์การบังคับบุคคลให้สูญหาย (อุ้มหาย) ในลาวได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้มีการเสนอข้อมูลกรณีการอุ้มหายในลาวอีกแปดกรณีต่อกลุ่มทำงานของสหประชาชาติที่สืบสวนการอุ้มหาย ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

          รัฐบาลลาวไม่ได้แค่ล้มเหลวในการสืบสวนการหายตัวไปของสมบัด สมพอนอย่างอิสระเท่านั้น แต่ยังมีความพยายามขัดขวางไม่ให้มีการนำประเด็นนี้เข้าสู่ที่ประชุมอาเซียนซัมมิทครั้งก่อนที่มาเลเซียอีกด้วย

          ถึงตอนนี้ สื่อมวลชนและคณะผู้ติดตามประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีสองทางเลือกด้วยกัน คือเลือกที่จะซึมซับความสงบเงียบของลาวและจากไปด้วยความประทับใจเล็กๆ น้อยๆ หรืออีกทาง คือเลือกที่จะพยายามหาคำตอบที่ชาวลาวรอคอยมานาน...เพียงแต่ไม่กล้าเอ่ยปากถามเท่านั้น


The questions Laos doesn’t want to answer

 

ป้ายคำ: 

  • ลาว. สมบัด สมพอน
  • รัฐบาลลาว
  • พรรคคอมมิวนิสต์ลาว
  • แม่โขง
  • สิทธิมนุษยชนในลาว
  • สิทธิมนุษยชน
  • อาเซียนซัมมิท
  • บารัก โอบามา
  • อาเซียน
  • การบังคับบุคคลให้สูญหาย
  • การอุ้มหาย
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล