Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ผู้นำโลกที่นิวยอร์กกับผู้ลี้ภัยที่ถูกละทิ้งกลางทะเลทราย

หมวดหมู่ : บล็อก

ผู้นำโลกที่นิวยอร์กกับผู้ลี้ภัยที่ถูกละทิ้งกลางทะเลทราย

เรื่อง: ซาลิล เซ็ตตี้ เลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แปลและเรียงเรียง: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

          ผู้นำทั่วโลกยังคงเมินเฉยต่อความทุกข์ทรมานของผู้ลี้ภัย แม้ว่าเลขาธิการสหประชาชาติและประธานิบดีสหรัฐฯ จะพยายามกระตุ้นให้ทุกชาติร่วมกันแก้ปัญหาในการประชุมใหญ่สองครั้งในเดือนนี้ก็ตาม โดยเฉพาะการเจรจาก่อนการประชุมเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติที่ล้มเหลวไม่เป็นท่าก่อนที่การประชุมจริงจะเริ่มขึ้นเสียอีก ขณะที่การประชุมของโอบามาเองก็ไม่มีวี่แววว่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้

          ความเร่งด่วนของปัญหาผู้ลี้ภัยเห็นได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นบริเวณสันทรายแห่งหนึ่งในทะเลทรายใกล้ชายแดนจอร์แดนและซีเรีย ผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กๆ ราว 80,000 คนถูกถอดทิ้งให้อยู่ในพื้นที่บริเวณนี้มาเกือบหนึ่งปีแล้ว และหลังจากที่ป้อมทหารของจอร์แดนถูกโจมตีเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทางการจอร์แดนปิดชายแดนระหว่างพวกเขากับซีเรีย ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ตกอยู่ใน “ดินแดนไร้เจ้าของ” ที่ซึ่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมใดๆ ไม่สามารถเข้าถึงได้

          ท่ามกลางพายุทรายและสภาพอากาศที่ไร้ความปรานีในหน้าร้อน ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่สันทรายแห่งนี้ต่างต้องเอาชีวิตรอดด้วยเสบียงอาหารและน้ำที่ลดลงอย่างรวดเร็ว หลายคนป่วยหนัก และมีรายงานว่าหลายคนเสียชีวิตลงแล้ว สถานการณ์ทั้งหมดนี้สามารถป้องกันได้ หากประเทศอื่นๆ ทั่วโลกร่วมกันแบ่งความรับผิดชอบในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ซึ่งเฉพาะในจอร์แดนมีอยู่มากกว่า 500,000 คน

          ขณะที่โศกนาฏกรรมของผู้ลี้ภัยกำลังดำเนินไปเรื่อยๆ นักการทูตทั้งหลายในนครนิวยอร์กกลับทะเลาะกันเรื่องแผนของสหประชาชาติที่เสนอให้ทุกประเทศร่วมกันแบ่งความรับผิดชอบด้วยการช่วยเหลือและหาที่อยู่ใหม่ให้กับผู้ลี้ภัยทั่วโลกให้ได้ 10% ต่อปี การถกเถียงจบลงที่สหภาพยุโรป จีน และรัสเซียปฏิเสธแนวทางดังกล่าว โดยเห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าปัญหาระดับโลก

          ในการประชุมสองครั้งในเดือนกันยายนนี้ หากผู้นำโลกล้มเหลวในการลุกขึ้นมาแก้ปัญหาอย่างจริงจัง พวกเขาอาจกระตุ้นให้รัฐบาลอีกหลายประเทศทั่วโลกปล่อยผู้ลี้ภัยให้ตกอยู่ในอันตรายมากขึ้น ไม่ต่างจากเหล่าผู้ลี้ภัยที่สันทรายชายแดนจอร์แดนและซีเรียก็เป็นได้

          เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เคนยาประกาศแผนที่จะปิด “ค่ายดาบาบ” ค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกและส่งผู้ลี้ภัยชาวโซมาเลียหลายแสนคนกลับประเทศ แม้ว่าโซมาเลียจะยังมีสงครามอยู่ ขณะที่ทางการปากีสถานก็ขู่ว่าจะเนรเทศผู้ลี้ภัยจากอัฟกานิสถานกว่า 1,500,000 คนออกนอกประเทศ และมีผู้ลี้ภัยประมาณ 60,000 คนยอมเดินทางกลับประเทศแล้วก่อนหน้านั้น เพราะถูกรังแกและคุกคามโดยเจ้าหน้าที่รัฐปากีสถาน แม้ว่าอัฟกานิสถานจะยังมีสงครามอยู่ก็ตาม

          การปิดชายแดนจะไม่ช่วยทำให้ผู้ลี้ภัยทั่วโลกหยุดแสวงหาที่ปลอดภัยสำหรับตัวเองและครอบครัวของพวกเขา ในทางตรงกันข้าม มันมีแต่จะทำให้พวกเขาต้องเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นและทุกข์ทรมานในสภาพแวดล้อมอันเลวร้ายมากกว่าเดิม

          หลังจากการประชุมชองสหประชาชาติที่ล้มเหลวเพียงหนึ่งวัน การประชุมของประธานาธิบดีโอบามาจะกลายเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่ผู้นำทั่วโลกจะได้แก้ตัว เพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขาจะยอมใช้เวลาสองวันนี้ไปกับการพูดเรื่องซ้ำซากและปล่อยให้ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียหลายหมื่นคนเสี่ยงตายในทะเลทรายต่อไปอีกหรือไม่

          เราต้องการให้ประเทศร่ำรวยเข้ามาร่วมแก้ปัญหามากขึ้น ไม่ว่าจะในการประชุมรอบนี้หรือในอนาคตอันใกล้ และความล้มเหลวของทุกฝ่ายในการประชุมที่นิวยอร์กครั้งนี้จะไม่สามารถถูกประเทศต่างๆ นำมาใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการหันหลังให้กับความรับผิดชอบได้

          ความจริงที่โหดร้ายในตอนนี้คือมีผู้คนมากกว่าหนึ่งล้านคนที่จำเป็นต้องได้รับการจัดหาที่อยู่ใหม่ภายในปี 2560 หากประเทศต่างๆ เสนอตัวเพื่อช่วยแก้ปัญหามากขึ้น การดำเนินการก็จะง่ายขึ้นตามไปด้วย และไม่ว่าเหล่าผู้นำจะใช้เวลาเจรจาบนโต๊ะกันมากแค่ไหน วิกฤตผู้ลี้ภัยจะไม่มีทางบรรเทาลงได้เลยหากพวกเขาไม่ลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง สำหรับผู้ลี้ภัยในทะเลทรายและทุกที่ทั่วทุกมุมโลกแล้ว ผลชองความล้มเหลวในการแก้ปัญหานั้นแย่เกินกว่าที่จะรอคอยต่อไปได้

          เราทุกคนคงหวังว่าหากตัวเองต้องตกอยู่ในอันตรายจากสงครามหรือการประหัตประหาร เราก็ควรมีสิทธิที่จะหลบหนีไปยังสถานที่อันปลอดภัย แต่สิทธิข้อนี้นี่เองที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงและยังไม่เกิดขึ้นจริง หากผู้นำโลกยังคงกลับกลอกบนความทุกข์ยากของผู้ลี้ภัยอยู่แบบนี้ พวกเราอาจต้องเผชิญกับโลกดิสโทเปีย ที่ซึ่งพลเรือนจำนวนมหาศาลไม่มีที่ไปและต้องถูกส่งกลับไปยังพื้นที่สงครามที่พวกเขาพยายามหนีออกมา


 

ป้ายคำ: 

  • ผู้ลี้ภัย
  • สิทธิผู้ลี้ภัย
  • ผู้อพยพ
  • ผู้ลี้ภัยในยุโรป
  • สหประชาชาติ
  • สหภาพยุโรป
  • สหรัฐฯ
  • จีน
  • รัสเซีย
  • ซีเรีย
  • จอร์แดน
  • ทะเลทราย
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล