Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้เรียกร้องยกเลิกการประหารชีวิตคุณแม่ลูกสองในซูดาน

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แคนาดาเชิญชวนร่วมลงชื่อที่ http://bit.ly/1op9EaW เพื่อช่วยเหลือ     มีเรียม ยาเฮีย อิบราฮิม อิชัก หญิงชาวซูดานวัย 27 ปี ที่ถูกศาลซูดานตัดสินประหารชีวิตโทษฐานที่เธอเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ หลังจากที่แต่งงานกับสามีที่เป็นคริสเตียน โดยเธอตั้งครรภ์ในขณะที่รอรับโทษประหารชีวิตและเพิ่งคลอดลูกในโรงพยาบาลของเรือนจำเมื่อเช้าวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2557  ศาลซูดานตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอนางมีเรียม ยาเฮีย อิบราฮิม อิชัก หญิงชาวซูดานวัย 27 ปี ซึ่งตั้งครรภ์ได้ 8 เดือน ในข้อหาละทิ้งศาสนาจากการที่เธอเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ หลังจากที่แต่งงานกับสามีที่เป็นคริสเตียน

ทั้งนี้ศาลได้ให้เวลานางมีเรียมเพื่อตัดสินใจเปลี่ยนกลับมานับถือศาสนาอิสลามเป็นเวลา 4 วัน แต่เธอก็ยังยืนยันจะนับถือศาสนาคริสต์ต่อไป โดยศาลยังสั่งเฆี่ยนเธอ 100 ทีด้วย ในความผิดฐานที่เธอแต่งงานและมีเพศสัมพันธ์กับชายที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม

ขณะที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่ได้ติดตามเรื่องราวของนางมีเรียมมาตลอด ระบุว่านางมีเรียมนั้นนับถือศาสนาคริสต์มาตั้งแต่แรก ไม่ได้มาเปลี่ยนภายหลังการแต่งงาน โดยพ่อของเธอนั้นเป็นชาวซูดาน ขณะที่แม่ของเธอป็นชาวเอธิโอเปีย นับถือศาสนาคริสต์ นิกายออธอดอกซ์ แต่เนื่องจากพ่อของเธอทอดทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่เธออายุได้ 6 ปี ทำให้ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่มาตลอด

แต่ศาลซูดานเห็นว่า นางมีเรียมต้องนับถือศาสนาอิสลาม ตามศาสนาของผู้ที่เป็นพ่อ ซึ่งศาลถือว่ามีเรียมนับถือศาสนาอิสลามมาโดยตลอด ดังนั้นเธอจึงไม่มีสิทธิ์แต่งงานกับคนนอกศาสนา

คำตัดสินดังกล่าวทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ ได้ออกแถลงการณ์ประณาม พร้อมกับแนะนำให้ทางการซูดานทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง ขณะเดียวกันชาวซูดานกว่า 50 คน ก็ได้ออกมารวมตัวด้านหน้าศาล พร้อมกับชูป้ายประท้วงต่อต้านคำตัดสินในครั้งนี้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีเรียมได้ให้กำเนิดทารกเพศหญิงในโรงพยาบาลเรือนจำใกล้กรุงคาร์ทูมแล้ว อย่างไรก็ตามเธอได้รับอนุญาตให้ดูแลลูกของเธอเป็นเวลา 2 ปีก่อนที่จะมีการลงโทษประหารชีวิตเธอด้วยการแขวนคอ นอกจากนั้นมีเรียมยังมีลูกชายวัย 20 เดือนอยู่กับเธอด้วยขณะที่เธอถูกจองจำอยู่ในคุกตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ซูดานมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมซึ่งใช้กฎหมายอิสลามบริหารประเทศ

คุณสามารถช่วยชีวิตคุณแม่ลูกสองคนนี้ได้ โดยร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้องรัฐบาลซูดานให้ยกเลิกการประหารชีวิตเธอได้ที่ http://bit.ly/1op9EaW

 

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • ซูดาน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล