Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

การบังคับให้ผู้เสียหายแต่งงานกับคนที่ข่มขืนตนไม่ใช่ความยุติธรรม!

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องราวเหล่านี้จะยังเกิดขึ้นจริงในประเทศอีกซีกโลกหนึ่งของเรา ในประเทศแอลจีเรียและตูนีเซียมีการตราไว้ในข้อกฏหมายว่า “ผู้ที่กระทำความผิดทางเพศกับผู้เสียหายที่ไม่ยังไม่ได้บรรลุนิติภาวะจะได้รับการงดเว้นโทษเมื่อแต่งงานกับผู้เสียหาย” ในขณะที่ประเทศโมร็อกโกเพิ่งยกเลิกข้อกฎหมายนี้ไปเมื่อต้นปี หลังจากที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งฆ่าตัวตายหลังถูกบังคับให้แต่งงานกับคนที่ข่มขืนเธอ แต่โมร็อกโกก็ยังสร้างเงื่อนไขบทลงโทษผู้ที่ข่มขืนตามความบริสุทธ์ของผู้เสียหาย ซึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ “ความยุติธรรม” อย่างแน่นอน ดังนั้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงต้องทำงานเพื่อปกป้องผู้ที่รอดชีวิตจากการตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศต่อไป

เมื่อเดือนมีนาคม  2555 อมินา ฟิลาลี หญิงสาววัยรุ่นชาวโมร็อกโก ได้ฆ่าตัวตายหลังถูกบังคับให้แต่งงานกับคนที่เป็นคนข่มขืนเธอ การฆ่าตัวตายของเธอสะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายของรัฐ เพราะกฎหมายที่บังคับใช้โดยรัฐแทนที่จะปกป้องผู้เสียหายจากการถูกข่มขืนกลับกลายเป็นการลงโทษไปเสียนั่น

หลังจากจบชีวิตของเด็กหญิงผู้ไม่ยอมจำนนต่อความอยุติธรรม ก็ได้นำพาความเปลี่ยนแปลงมาสู่โมร็อกโก เพราะเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ รัฐสภาโมร็อกโกได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในการแก้ไขมาตรา 475 ในประมวลกฎหมายอาญา ที่ระบุให้ผู้ที่ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นได้งดเว้นโทษหากแต่งงานกับเหยื่อที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี นั่นหมายความว่าต่อไปผู้ที่ข่มขืนผู้อื่นก็จะต้องได้รับโทษโดยไม่มีข้อยกเว้น ถึงแม้ว่าการแก้ไขมาตรานี้จะสายเกินไปสำหรับอมินา แต่ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญสำหรับผู้หญิงอีกจำนวนมากในโมร็อกโก อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงความสำเร็จขั้นต้น เพราะยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องทำเพื่อปกป้องผู้เสียหายจากการใช้ความรุนแรงทางเพศในโมร็อกโก เนื่องจากความรุนแรงของบทลงโทษในคดีขมขืนนั้นยังขึ้นอยู่กับว่าเหยื่อเป็นผู้บริสุทธ์หรือไม่อีกด้วย

ถึงแม้ว่าโมร็อกโกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างแอลจีเรีย และตูนีเซีย ยังคงมีกฎหมายที่งดเว้นโทษให้กับผู้ที่ข่มขืนผู้อื่นหากแต่งงานกับผู้เสียหายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในแอลจีเรียกฎหมายนี้ระบุอยู่ในมารตรา 326 ส่วนในตูนีเซียกฎหมายระบุอยู่ในมารตรา 227 ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหลักการที่บกพร่องของกฎหมายนี้คือการให้ความสำคัญต่อเกียรติและความอับอายมาก่อนความต้องการที่แท้จริงของผู้เสียหาย

กฎหมายในแอลจีเรีย ตูนีเซีย และโมร็อกโกนั้นล้มเหลวในแง่ของการปกป้องผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศและอาจนำมาซึ่งความอับอายที่มากขึ้นด้วยซ้ำไป เงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับคดีข่มขืนควรให้ความสำคัญกับ “อัตราการเสียชีวิต” และ “ความถูกต้อง” มากกว่าเรื่องส่วนตัวหรือความบริสุทธ์ของผู้เสียหาย

ความหมายของการข่มขืนในทั้งสามประเทศแตกต่างจากมาตรฐานสากล โดยจำกัดอยู่แค่ว่าการข่มขืนคือ การที่ผู้ชายมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงโดยที่ผู้หญิงไม่ยินยอม ซึ่งอันที่จริงการข่มขืนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ส่วนการข่มขืนระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ถูกระบุว่ามีความผิด แต่กฎหมายกลับระบุให้การมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสทั้งที่สองฝ่ายยินยอม และการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันถือว่ามีความผิด นั่นอาจจะทำให้ผู้เสียหายที่รอดจากการถูกใช้ความรุนแรงไม่กล้าเข้าแจ้งความ เพราะเกรงกลัวที่จะถูกลงโทษในข้อหาอื่นหากการกล่าวหาในคดีข่มขืนไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ

โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ส่งข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนีเซียให้ยกเลิกการใช้กฎหมายที่เหมือนเป็นการลงโทษผู้เสียหายจากการถูกใช้ความรุนแรงทางเพศ ดังนี้

1. เรียกร้องให้รัฐบาลแอลจีเรีย และตูนีเซียต้องยกเลิกเงื่อนไขทางกฎหมายที่ระบุให้ผู้ที่กระทำผิดได้งดเว้นโทษโดยการแต่งงานกับผู้เสียหายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

2. เรียกร้องให้รัฐบาลโมร็อกโกต้องไม่ตัดสินบทลงโทษของคดีข่มขืนจากความบริสุทธ์ของเสียหาย

และข้อเรียกร้องสำหรับทั้งสามประเทศ ได้แก่

1. เรียกร้องให้มีการปฏิบัติงานเชิงรุกมากกว่านี้เพื่อป้องกันการข่มขืน และระบุให้การข่มขืนระหว่างสามีภรรยานั้นผิดกฎหมาย เข้าใจว่าผู้ชายก็เป็นเหยื่อจากการข่มขืนได้เช่นเดียวกัน และเข้าใจว่าการข่มขืนนั้นเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง

2. เรียกร้องให้ยกเลิกการลงโทษต่อผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางเพศนอกสมรสโดยยินยอม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันด้วย

3. เรียกร้องให้รัฐต้องจัดหาให้มีการบริการและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้เสียหายที่ถูกข่มขืนหรือถูกใช้ความรุนแรงทางเพศ โดยต้องจัดให้มีผู้ความเชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องความปลอดภัย ด้านกฎหมาย และเข้าใจความรู้สึกของผู้เสียหายด้วย

นี่เป็นการทรมาน ไม่ใช่ความยุติธรรม! ร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายนี้  http://bit.ly/1sn6edU

ป้ายคำ: 

  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • สิทธิมนุษยชน
  • การข่มขืน
  • ความรุนแรงทางเพศ