Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ประเทศไทย: สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนยังตึงเครียดหลังหนึ่งเดือนของกฎอัยการศึก

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
2014 Getty Images

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

แถลงการณ์ (คำแปล)

20 มิถุนายน 2557

ประเทศไทย: สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนยังตึงเครียดหลังหนึ่งเดือนของกฎอัยการศึก

ยังไม่มีท่าทีว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประการจะยุติลง หลังมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็นเวลาหนึ่งเดือนในไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวเตือนในวันนี้

นับแต่กองทัพประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 มีการจำกัดอย่างเข้มงวดต่อการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ และยังขยายอำนาจการควบคุมตัว ส่งผลให้มีการควบคุมตัวบุคคลโดยพลการประมาณ 511 คน แม้ส่วนใหญ่จะถูกควบคุมตัวเพียงไม่กี่วัน

“การเสียสละสิทธิมนุษยชนโดยอ้างว่าเพื่อเร่งรัดการทำงานด้านการเมือง เป็นการกระทำที่ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเสมอ คณะรักษาความสงบแห่งชาติของไทยต้องประกันว่า มีการคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ และต้องยุติการควบคุมตัวบุคคลโดยพลการและการฟ้องคดีต่อผู้วิจารณ์อย่างสงบ” ริชาร์ด เบนเน็ต (Richard Bennett ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว 

“ถึงเวลาที่กองทัพไทยต้องยกเลิกบรรดาประกาศคำสั่งที่กดขี่ปราบปรามและมีถ้อยคำคลุมเครือ ซึ่งประกาศเหล่านี้หลายฉบับละเมิดพันธกรณีของไทยที่มีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ”

การงดเว้นไม่ปฏิบัติตามการคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญและมาตรการป้องกันการควบคุมตัว บั่นทอนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม และอาจส่งผลให้เกิดการบังคับบุคคลให้สูญหายซึ่งเกิดขึ้นกับนักเคลื่อนไหวอย่างน้อยหนึ่งคน

กริชสุดา คุณเสน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สำคัญท่านหนึ่งได้หายตัวไป นับแต่มีรายงานข่าวว่าเธอได้ถูกจับกุมที่จังหวัดชลบุรี ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม

การควบคุมตัวบุคคลโดยพลการ การไม่ให้ประกันตัวและการฟ้องคดี เป็นมาตรการที่ถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อปิดปากไม่ให้ประชาชนแสดงออกเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมามีการควบคุมตัวโดยพลการต่อบุคคลที่ถูกเรียกให้มารายงานตัวเป็นจำนวนหลายร้อยคน โดยกว่า 90% ล้วนแต่เป็นพันธมิตรหรือผู้สนับสนุนทางการเมืองของรัฐบาลชุดที่แล้ว รวมทั้งนักวิชาการและสื่อมวลชน

ในปัจจุบัน การฝ่าฝืนไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งถูกปฏิบัติเหมือนเป็นความผิดทางอาญา ส่วนผู้ที่ไปรายงานตัวและได้รับการปล่อยตัว ถูกขู่ว่าจะมีการฟ้องคดี หากไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทหารเห็นว่าเป็นการต่อต้านการยึดอำนาจ

ทางการได้ตั้งข้อหาต่อผู้วิจารณ์ซึ่งได้ประท้วงอย่างสงบ โดยใช้อำนาจของกฎหมายความมั่นคงและกฎหมายอื่นที่จำกัดสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มงวด ถือว่าขัดต่อพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศของไทย มีการประกาศว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเรียกร้องให้มีการชุมนุม หรือแม้กระทั่งการคลิก “ไลค์” ในเฟซบุ๊กก็อาจเป็นความผิดทางอาญาเช่นกัน

ทางการยังเร่งฟ้องคดีโดยใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเอาผิดต่อวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ และปฏิเสธไม่ให้ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว

การจำกัดสิทธิเช่นนี้ไม่เพียงส่งผลให้สื่อมวลชนต้องปิดปากตนเอง หากยังทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการเซ็นเซอร์ตัวเอง และทำให้เกิดความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ไม่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเสรีในกระบวนการพูดคุยเพื่อหาทางปรองดองและกำหนดอนาคตทางการเมืองของไทย

“มาตรการกดขี่ปราบปรามจำนวนมากที่ประกาศใช้ในไทย ทำให้สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎอัยการศึกมีลักษณะตึงเครียด กองทัพต้องยกเลิกมาตรการจำกัดสิทธินี้โดยทันที และต้องยุติการควบคุมตัวและฟ้องคดีนักเคลื่อนไหวที่ใช้สิทธิมนุษยชนของตนอย่างสงบ” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอเรียกร้องอีกครั้ง ให้ทางการประกาศอย่างชัดเจนถึงรายละเอียดส่วนบุคคลและสถานที่ควบคุมตัวบุคคลทุกคนโดยใช้กฎอัยการศึก ทางหน่วยงานเรียกร้องให้ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากพวกเขาถูกควบคุมตัวเพียงเพราะใช้สิทธิมนุษยชนของตนในการประท้วงอย่างสงบ ทั้งสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม และควรตั้งข้อหาและฟ้องคดีต่อผู้ต้องสงสัยโดยใช้ฐานความผิดทางอาญาตามกฎหมาย และให้ดำเนินการผ่านศาลพลเรือน และดูแลให้กระบวนการยุติธรรมสอดคล้องกับมาตรฐานว่าด้วยความเป็นธรรมระหว่างประเทศ

Thailand: Grim outlook for human rights after a month of martial law

ป้ายคำ: 

  • แอมเนสตี้
  • รัฐประหาร
  • กฎอัยการศึก