Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

เสรีภาพสื่อในอียิปต์: เมื่อนักข่าวอัลจาซีราถูกตัดสินจำคุก 7-10 ปี

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2557 ศาลอียิปต์ตัดสินจำคุกนักข่าวอัลจาซีราสามคนเป็นระยะเวลา 7-10 ปี ในข้อหาข้อหาสนับสนุนกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและรายงานข่าวที่เป็นเท็จ ด้านแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุคำตัดสินดังกล่าวถือเป็นการโจมตีเสรีภาพสื่ออย่างรุนแรงในอียิปต์

การที่นักข่าวอัลจาซีราสามคนประกอบด้วย ปีเตอร์ เกรสต์ ชาวออสเตรียเลีย โมฮัมเหม็ด ฟาห์มี ลูกครึ่งแคนาดาอียิปต์ และ บาเฮอร์ โมฮัมเหม็ด ชาวอียิปต์ ถูกตัดสินให้จำคุกคนละ 7 ปี โดยที่บาเฮอร์ โมฮัมเหม็ดถูกจำคุกเพิ่มขึ้นอีก 3 ปี รวมเป็น 10 ปีในข้อหามีกระสุนปืนไว้ในครอบครอง ทั้งนี้นักข่าวทั้งสามคนถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลถือว่านักข่าวทั้งสามคนเป็นโทษทางความคิดที่ต้องได้รับการปล่อยตัวทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข

ฟิลิป ลูเธอร์ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่าคำตัดสินในครั้งนี้ถือเป็นการทำร้ายพวกเขาและครอบครัวเป็นอย่างมาก และถือว่าเป็น ‘ยุคมืด’ สำหรับเสรีภาพสื่อมวลชนของอียิปต์ เพราะนักข่าวทั้งสามคนถูกพิพากษาจำคุกในข้อหาที่ถูกมองว่าพวกเขาเป็นอาชญากรหรือผู้ก่อการร้าย ทั้งๆ ที่พวกเขาต่างทำหน้าที่ของตนเองในการนำเสนอข่าวเท่านั้น

เหตุผลหลักๆ ที่นักข่าวทั้งสามคนต้องไปอยู่ในคุกนั้นเพราะว่าทางการอียิปต์ไม่พอใจในสิ่งที่พวกเขาต้องนำเสนอ พวกเขาเป็นนักโทษทางความคิดซึ่งต้องได้รับการปล่อยตัวทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข และในอียิปต์ทุกวันนี้ใครก็ตามที่กล้าหือกับอำนาจของรัฐจะถือเป็นเป้าให้รัฐโจมตีได้โดยชอบธรรม

นอกจากนักข่าวอัลจาซีราทั้งสามคนแล้ว ยังมีนักข่าวอีกหกคนที่ได้รับการไต่สวนคดี โดยสองคนถูกตัดสินให้พ้นโทษ ส่วนสี่คนที่เหลือถูกตัดสินให้จำคุก 7 ปี นอกจากนั้นศาลอียิปต์ยังตัดสินให้นักข่าวคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่มาขึ้นศาลให้จำคุกคนละ 10 ปี ประกอบด้วย ซู เทอร์ธัน และ โดมินิก เคน นักข่าวชาวอังกฤษ และ รีน่า เนตเจส นักข่าวชาวดัตช์

ผู้สังเกตการณ์การตัดสินคดีของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกการปฏบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบปรกติมากมาย เช่น การไม่มีทักษะในการพิจารณาคดีของศาล ทั้ง 12 รอบในการพิจารณาคดีของศาล ไม่มีสักครั้งที่จะสามารถหาหลักฐานที่เป็นรูปธรรมมาเชื่อมโยงนักข่าวทั้งสามคนว่าเป็นการก่อการ้ายได้เลย หรือแม้กระทั่งการพิสูจน์ว่านักข่าวทั้งสามคนนำเสนอข่าวที่มีการบิดเบือนก็ตาม

การพิจารณาคดีในครั้งนี้มีส่วนที่ไม่เป็นความจริงอยู่มาก ซึ่งการที่พวกเขาต้องจำคุกเป็นปีจากการพิจารณาคดีที่ขาดทักษะเช่นนี้ถือเป็นการดูถูกกระบวนการยุติธรรม

การพิจารณาคดีในครั้งนี้ จำเลยไม่มีโอกาสได้แสดงหลักฐานตอบโต้เลย และการพิจารณาคดีก็ดูเหมือนไม่มีการเตรียมการที่ดีเพราะมีการเสนอหลักฐานที่ไม่มีความเกี่ยวข้องหลายครั้ง เช่น พยานปากสำคัญมีคำให้การที่ขัดแย้งต่อหลักฐานในบันทึกข้อความ และผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายเองก็ยอมรับว่าไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่านักข่าวอัลจาซีราทั้งสามคนได้ทำการดัดแปลงภาพถ่ายหรือมีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต

คำตัดสินในครั้งนี้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าทางการอียิปต์จะไม่ยอมหยุดง่ายๆ อย่างแน่นอนในการทำลายใครก็ตามที่กล้าท้าทายอำนาจของรัฐ ถึงแม้ว่าหลักฐานที่นำมาตอบโต้รัฐนั้นจะมีความน่าสงสัยอยู่มากก็ตาม

ไม่ใช่แค่นักข่าวเท่านั้นที่ยืนอยู่บนความเสี่ยง ยังมีผู้คนอีกเป็นพันที่ถูกคุมขังจากการปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้านครั้งใหญ่ในปีที่ผ่านมา โดยมีการตัดสินโทษประหารชีวิตแก่ผู้ที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดี โมฮัมหมัด มอร์ซี อีกด้วย

กระบวนการยุติธรรมของอียิปต์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าจะไม่มีทางหรือไม่สามารถที่จะดำเนินการพิจารณาคดีที่มีความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกมองว่าสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีได้เลย ทั้งนี้แทนที่ทางการอียิปต์จะทำการคุมขังนักข่าวหรือผู้ที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม ทางการควรที่จะให้ความสำคัญกับการพยายามสืบสวนต่อกรณีที่มีผู้คนมากมายถูกทำร้ายโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยมากกว่า ฟิลิป ลูเธอร์ กล่าว 

ข้อมูลเพิ่มเติม

มีผู้ที่ถูกกล่าวหาขึ้นศาลจำนวน 20 คน โดยที่อีก 11 คนไม่มาสู้คดี ผู้ที่มาสู้คดีห้าคนประกอบด้วยนักศึกษาชาวอียิปต์ซึ่งถูกจับในวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ที่กรุงไคโรและเมืองนาร์ซ จำเลยอีก 9 คนเป็นบุคลากรของสำนักข่าวอัลจาซีรา ซึ่งหลังจากที่เรน่า เนตเจส นักข่าวชาวดัตช์ ทราบว่าจะต้องถูกดำเนินคดี เธอได้ล้มเลิกการทำงานกับอัลจาซีราและเดินทางออกจากอียิปต์ในทันที ทั้งนี้ผู้ถูกกล่าวหาที่เหลือทั้งหมดเป็นชาวอียิปต์

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เชื่อมั่นในเสรีภาพของสื่อ ร่วมลงชื่อเพื่อส่งคำร้องไปถึงทางการอียิปต์ได้ที่นี่ http://www.amnesty.org.au/action/action/33972/

ป้ายคำ: 

  • นักข่าวอัลจาซีรา
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • อียิปต์
  • เสรีภาพสื่อ