Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

วิทยาศาสตร์ของการทรมาน

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
© iStockphoto.com/helenecanada

เขารู้สึกผงะกับเศษเนื้อเน่าเปื่อยซึ่งกระจายอยู่ในห้องขังแคบ ๆ ที่แออัด นั่นเป็นกลิ่นอายของการทรมาน นายแพทย์ดูอาร์เต เวียร่า (Duarte Vieira) ต้องตกใจอย่างมาก เขาไม่เคยเห็นอะไรเลวร้ายแบบนี้มาก่อน ทั้ง ๆ ที่เคยไปเยี่ยมสถานที่แบบนี้มามากมาย

ในพื้นที่ซึ่งมีขนาดรองรับคนได้เพียงหกคน แต่กลับแออัดไปด้วยผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กถึง 45 คน เขาได้เห็นชายคนหนึ่งมีรอยแผลจากกระสุนปืนที่กำลังเน่าเปื่อยบนเท้า และเห็นคนลักษณะแบบเดียวกันอีกคน และยังมีคนที่สามอีก

แผลบนข้อเท้าของชายคนที่สี่ไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน เรียกว่าเท้าของเขากำลังเน่าเปื่อยสลายไป หลงเหลืออยู่เพียงผิวหนังที่ติดอยู่บาง ๆ

คุณหมอเวียร่ารู้ทันทีว่าได้มีการทรมานขึ้นเพื่อลงโทษผู้ต้องขังเหล่านี้

     “ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้มาเห็นสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นกับมนุษย์เป็น ๆ พวกเขาถูกยิงที่เท้าก่อนสอบปากคำ เป็นการขู่ให้พวกเขารู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น” เขากล่าวกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

การทรมาน?

นายแพทย์ดูอาร์เต เวียร่าเป็นชาวโปรตุเกส เขาเป็นหนึ่งในผู้ชำนาญการนิติเวชศาสตร์ชั้นนำของโลก และอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการทรมานในสถานควบคุมตัวในประเทศไนจีเรียเมื่อปี 2550 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานให้กับนายแมนเฟรด โนวัค (Manfred Novak) ซึ่งเป็นผู้รายงานพิเศษด้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ  

นับแต่นั้นมา เขามีโอกาสไปเยือนสถานควบคุมตัวทั่วโลก เพื่อเก็บข้อมูลการใช้การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ รวมทั้งใช้เพื่อเป็นการลงโทษหรือเพื่อบังคับให้ “สารภาพ”

ข้อสรุปของเขาได้ถูกใช้เป็นหลักฐานในศาล ใช้เป็นหลักฐานเพื่อขอที่พักพิงและจัดทำเป็นรายงานของทางการ

“เราใช้เทคนิคด้านการแพทย์เพื่อสนับสนุนงานด้านยุติธรรม เราเป็นผู้ตีความพยานหลักฐาน และพยายามค้นหาข้อเท็จจริงทั้งหมด ผู้ชำนาญการทำหน้าที่เหมือนแว่นสายตาให้กับผู้พิพากษา ช่วยให้พวกท่านสามารถวินิจฉัยคดีอย่างสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ชัดเจนมากสุดเท่าที่เป็นไปได้” คุณหมอเวียร่าอธิบาย

ในระหว่างการไปเยือนสถานที่เหล่านี้ เขาได้ตรวจอาการและสัมภาษณ์ผู้ถูกควบคุมตัวเกี่ยวกับประสบการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น

 “บางครั้งพวกเขาไม่พูดอะไรเลยเพราะกลัวมาก แต่ส่วนใหญ่แค่มองดูสภาพภายนอกผมก็รู้แล้วว่าเกิดอะไรบางอย่างขึ้นกับพวกเขา จากการสังเกตรอยแผลบนร่างกาย หรือการสังเกตปฏิกิริยาและท่าทางการพูด”

คุณหมอเวียร่าเก็บข้อมูลของบาดแผลที่เกิดขึ้นทั้งขนาด สี ความลึกและทิศทาง ทั้งนี้เพื่อจำแนกว่าเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เป็นผลจากการรักษา เกิดขึ้นเนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น มีการบันทึกข้อมูลทุกอย่างโดยละเอียด

การได้พูดคุยเป็นการส่วนตัวกับผู้ถูกควบคุมตัวมักทำให้ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ต้องการ

“ผมต้องตีความหลักฐานและประเมินสาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งหมด เมื่อเห็นรอยแผลจากไฟไหม้หรือรอยแผลเป็น อาจไม่ได้เป็นเพราะบุคคลดังกล่าวถูกทรมาน รอยแผลเหล่านั้นอาจเกิดจากอุบัติเหตุ เป็นแผลที่เกิดก่อนหน้านั้น หรืออาจเกิดจากการกระทำของตัวผู้ได้รับบาดแผลเอง ผมจึงต้องประเมินว่าคำให้การของผู้ถูกควบคุมตัวสอดคล้องกับร่องรอยต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นหรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากเขาบอกว่าได้รับบาดเจ็บเมื่อ 15 วันที่แล้ว แต่ถ้าผมเห็นว่าเป็นรอยแผลเป็นที่น่าจะเกิดขึ้นมาเจ็ดเดือนแล้ว แสดงว่าข้อมูลไม่ตรงกัน หรือหากเจ้าหน้าที่เรือนจำให้ข้อมูลว่านักโทษตกจากบันได แต่จากการสังเกตทำให้ผมทราบว่าน่าจะไม่ใช่รอยแผลจากการตกบันได”

“ถ้าเห็นผู้ถูกควบคุมตัวมีรอยไหม้ และถ้าเขาแจ้งให้ผมทราบว่าเป็นรอยแผลจากเตารีดร้อนที่เจ้าหน้าที่เอามาทาบเพื่อบังคับให้เขาสารภาพ และปรากฏว่ามีผู้ถูกควบคุมตัวเพียงคนเดียวที่มีรอยแผลในลักษณะนั้น ทำให้ผมไม่อาจระบุได้ว่าบุคคลดังกล่าวถูกทรมาน ผมอาจระบุว่ามีความเป็นไปได้ แต่ก็ไม่อาจละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าเขาอาจได้รับบาดแผลจากไฟไหม้โดยอุบัติเหตุ อย่างไรก็ดี แต่ถ้าผมสังเกตเห็นรอยแผลไหม้เช่นนี้เกิดขึ้นกับผู้ถูกควบคุมตัวหลายคน ผมอาจระบุได้ว่ามีความเป็นไปได้ว่าผู้ถูกควบคุมตัวไม่น่าจะได้รับบาดแผลจากอุบัติเหตุ อาจเป็นรูปแบบที่ชี้ให้เห็นว่าน่าจะมีการทรมานเกิดขึ้นกับพวกเขา”

วิทยาศาสตร์ของความยุติธรรม

เช่นเดียวกับนายแพทย์เวียร่า ผู้ชำนาญด้านการแพทย์ทั่วโลกมีภาระงานที่ท้าทายในการพิสูจน์ว่าบุคคลได้ถูกทรมานหรือได้รับการปฏิบัติอย่างโหดร้ายหรือไม่ หากเป็นกรณีเหล่านั้นจริง รายงานตรวจสอบของแพทย์มักจะเป็นหลักฐานสำคัญในการดำเนินคดีต่อรัฐบาล หรืออาจเป็นหลักฐานสำคัญที่บุคคลนำไปใช้เพื่อขอที่พักพิงในประเทศอื่น

ผู้ชำนาญการต้องผ่านการอบรมด้านนิติเวชศาสตร์เป็นเวลาหลายปี เนื่องจากเป็นสาขาการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการจำแนกร่องรอยการปฏิบัติมิชอบต่อบุคคลและร่องรอยในซากศพของมนุษย์

อย่างไรก็ดี รอยแผลที่เกิดขึ้นบนร่างกายเป็นแค่ครึ่งหนึ่งของเรื่องนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีเทคนิคการทรมานที่ทันสมัยมากขึ้นทั่วโลก และผู้ทำการทรมานพยายามที่จะให้เหลือร่องรอยทางร่างกายให้น้อยสุด และมักใช้การทรมานทางจิตใจแทน

เทคนิคที่พวกเขาใช้ได้แก่ การบังคับไม่ให้นอน การลบหลู่ดูหมิ่น การแกล้งบอกว่าจะประหารชีวิต การข่มขู่ว่าจะทำร้ายและการพรากความรู้สึก (sensory deprivation) และอื่น ๆ ทำให้การพิสูจน์ว่ามีการใช้เทคนิคเหล่านี้เป็นเรื่องยาก

แพทย์หญิงจูเลียต โคเฮน (Juliet Cohen) เป็นแพทย์ใหญ่ประจำหน่วยงานเสรีภาพจากการทรมาน (Freedom from Torture) หน่วยงานซึ่งตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร และเน้นการรักษาและฟื้นฟูผู้เสียหายจากการทรมาน

คุณหมอกล่าวว่าการประเมินว่าบุคคลได้รับการทรมานทางจิตใจหรือไม่? มักเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก

“เราประเมินจากการปฏิบัติตัวของบุคคล พฤติกรรมของพวกเขา วิธีพูดจา และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาที่เฝ้าสังเกต ข้อมูลที่พวกเขาให้ ข้อมูลบางอย่างที่พวกเขาอาจลำบากใจที่จะพูดถึง ผลกระทบของการทรมานที่มีต่อพวกเขา ดิฉันต้องถามคำถามจำนวนมากเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในช่วงที่ผ่านมา และโดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับการหลับนอนของพวกเขา สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงกลางคืน เนื่องจากการทรมานอาจไม่ทิ้งร่องรอยบนร่างกาย และในหลายกรณีอาจไม่มีคุณสมบัติที่สามารถตรวจพบได้ง่าย เราจึงจำเป็นต้องเก็บข้อมูลของภาพรวมโดยละเอียด และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านี้” คุณหมอโคเฮนอธิบาย

เครื่องมืออย่างหนึ่งที่แพทย์นิติเวชใช้ได้แก่คู่มือการสอบสวนและการบันทึกข้อมูลที่เป็นผลมาจากการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี หรือที่เรียกว่า พิธีสารอิสตันบูล (Istanbul Protocol)

พิธีสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเมื่อปี 2542 ประกอบด้วยมาตรฐานและขั้นตอนปฏิบัติอย่างละเอียดที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขสามารถจำแนกและบันทึกอาการจากการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอย่างอื่น ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในศาล

คุณหมอเวียร่าเห็นด้วยว่าเทคนิคการทรมานได้พัฒนาขึ้นมาก แต่ผู้ชำนาญการก็ยังคงมีวิธีที่จะพิสูจน์ว่าบุคคลได้ผ่านการทรมานมาหรือไม่

“รูปแบบการทรมานส่วนใหญ่มักมุ่งที่จะไม่ทิ้งร่องรอยบนร่างกาย แต่ก็มีวิธีที่ทำให้ทราบว่าบุคคลถูกทรมานหรือไม่ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการทรมานมักสามารถอธิบายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ห้องที่ถูกใช้ทรมานเขา สีของกำแพง แสงไฟใต้หลังคา เสื้อผ้าของผู้ทำการทรมาน และถ้าพวกเขาหลายคนสามารถอธิบายเรื่องราวได้แบบเดียวกัน ก็แสดงให้เห็นรูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้เกิดการทรมานขึ้นจริง”

คุณหมอเวียร่ามีความหวังกับอนาคต เขาคิดว่าความก้าวหน้าด้านนิติเวชศาสตร์จะมีคุณูปการอย่างมากต่อการพัฒนางานยุติธรรม และเป็นงานที่เขาทำอยู่ทุกวัน

“เราจะไม่สามารถขจัดการทรมานให้หมดไปได้ แต่อย่างน้อยผมหวังว่าผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบจะต้องถูกนำตัวมาลงโทษ สถานการณ์ในทุกวันนี้ถือว่าดีกว่า 20 ปีก่อนมาก และผมหวังว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน จะถือว่าเลวร้ายมากเมื่อเทียบกับ 20 ปีข้างหน้า” 

The science of torture 

ป้ายคำ: 

  • การทรมาน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • การละเมิด
  • สิทธิมนุษยชน