Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ในกาซ่า

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
© EPA

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีความคิดเห็นอย่างไรกับการลงมติของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา ควรมีแนวทางอย่างไรต่อไป?

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลสนับสนุนการลงมติ S-21/1 เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเกิดจากความขัดแย้งที่กำลังปะทุอยู่ในขณะนี้ คณะกรรมการสอบสวนมีความสำคัญอย่างมากในการยุติวงจรของการไร้ผู้รับผิดชอบต่อกรณีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งในอิสราเอลและเขตยึดครองปาเลสไตน์ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน คณะกรรมการสอบสวนควรทำงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน มีความเป็นอิสระ มีความเป็นธรรม และตรวจสอบการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น การสอบสวนต้องมีข้อมูลที่เพียงพอและไม่จำกัดการเข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลสนับสนุนให้ทุกประเทศ รวมทั้งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปซึ่งงดออกเสียงในการลงมติครั้งนี้ ให้ความร่วมมือต่อคณะกรรมการสอบสวนด้วย

ภาระหน้าที่ที่สำคัญภายใต้กรอบกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศใดที่ทุกกลุ่มต้องปฏิบัติตามระหว่างที่มีการสู้รบเกิดขึ้น?

ระหว่างที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกองกำลังของรัฐหรือไม่ก็ตาม ต้องเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายในการคุ้มครองชีวิตของพลเรือนด้วยการควบคุมความประพฤติของทุกฝ่ายระหว่างที่มีการสู้รบเกิดขึ้น และระหว่างที่เกิดความขัดแย้ง ทุกประเทศควรจะต้องให้ความเคารพต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศด้วย

ภายใต้กรอบของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ กลุ่มผู้ขัดแย้งทุกฝ่ายต้องแยกแยะเป้าหมายการโจมตีระหว่างเป้าหมายทางทหารและพลเรือน หรืออาคารที่อยู่อาศัยของพลเรือน โดยโจมตีเฉพาะเป้าหมายทางทหารเท่านั้น การโจมตีโดยตั้งใจไปยังพลเรือน หรือทรัพย์สินของพลเรือน เช่น บ้าน โรงพยาบาล โรงเรียน อาคารของรัฐ ซึ่งไม่ได้ถูกใช้ด้วยความประสงค์ทางทหารถือเป็นเรื่องที่ผิดและเป็นอาชญากรรมสงคราม  นอกจากนี้ การโจมตีโดยไม่ระบุเป้าหมาย (โดยตัวเลขจำนวนพลเรือนที่บาดเจ็บและเสียชีวิต หรือความเสียหายของทรัพย์สินของพลเรือนมีแนวโน้มเกินกว่าผลประโยชน์ทางทหารที่จะได้รับ) นั้นถือเป็นเรื่องที่ผิดด้วยเช่นกัน

ทุกฝ่ายควรมีความระมัดระวังระหว่างการโจมตี เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับพลเรือนหรือทรัพย์สินของพลเรือน ซึ่งประกอบด้วย การเตือนล่วงหน้าแก่พลเรือนก่อนที่จะมีการโจมตี และต้องมีการยกเลิกหรือเลื่อนการโจมตีหากการโจมตีมีเป้าหมายไปยังพลเรือน รวมทั้งต้องมีการคุ้มครองพลเรือนภายใต้ความดูแลของแต่ละฝ่ายอย่างดีที่สุดเพื่อไม่ให้การโจมตีส่งผลกระทบต่อพลเรือน เช่น การหลีกเลี่ยงไม่เปิดฉากการโจมตีไปยัง หรือ มาจากพื้นที่ที่มีพลเรือนอาศัยอยู่หนาแน่น

ตั้งแต่ที่อิสราเอลเปิดฉากปฏิบัติการปกป้องเขตแดนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีข้อบ่งชี้อย่างไรต่อการละเมิดหลายรูปแบบโดยกองกำลังของอิสราเอลในฉนวนกาซ่า?

กองกำลังอิสราเอลได้เปิดฉากการโจมตีซึ่งส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิตนับร้อยคน โดยใช้อาวุธที่มีความแม่นยำสูงเช่น อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน และ มิสไซน์ รวมถึงอาวุธอย่างเช่น ปืนใหญ่ ซึ่งไม่สามารถระบุเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ โจมตีไปยังพื้นที่อยู่อาศัยที่หนาแน่น เช่น ชูจาอียะห์ และยังมีการโจมตีโดยตรงไปยังบ้านเรือนนับพันหลัง เนื่องจากอิสราเอลมองว่าบ้านเรือนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มฮามาสถือเป็นเป้าหมายทางทหารที่ชอบธรรม ซึ่งการกระทำของอิสราเอลครั้งนี้ถือว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 

นอกจากนี้โรงพยาบาลหลายแห่ง และอาคารของรัฐซึ่งไม่เกี่ยวข้องทางทหารในฉนวนกาซ่า ถูกทำลายและได้รับความเสียหาย จากการรายงาน โรงเรียนขององค์การสหประชาชาติซึ่งจัดตั้งเป็นศูนย์ลี้ภัยในกาซ่าถูกโจมตีโดยกองกำลังของอิสราเอลถึงสองครั้ง นอกจากนี้โรงเรียนซึ่งจัดตั้งเป็นศูนย์ลี้ภัยในเบต ฮานาว ทางตอนเหนือของกาซ่า ถูกโจมตีด้วยเช่นกัน ในวันที่ 24 กรกฎาคม ส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 15 คน และได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก ซึ่งทางองค์การสหประชาชาติได้เร่งให้มีการสืบสวนทันที

ถึงแม้ว่าทางการอิสราเอลจะได้ให้การว่าได้เตือนพลเรือนล่วงหน้าเกี่ยวกับการโจมตีที่จะเกิดขึ้นในกาซ่าแล้วก็ตาม แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเตือนของอิสราเอลถือว่าเป็นการเตือนที่ไม่มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เพราะการโจมตีโดยกองกำลังของอิสราเอลทำให้พลเรือนปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่าไร้ที่อยู่จำนวนมาก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีท่าทีอย่างไรต่อการยิงจรวดโดยไม่ระบุเป้ามายจากฉนวนกาซ่าโดยกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์? ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2014 มีการกระทำโดยกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ใดอีกหรือไม่ที่ถือเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ?

จากคำให้การของทหารอิสราเอล กองกำลังของกลุ่มฮามาสและกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ได้ยิงจรวดมากกว่า 17, 000 ลูก มายังอิสราเอล ตั้งแต่วันที่ 8-18 กรกฎาคม และยังมีจรวดอีกจำนวนมากที่ถูกยิงมายังอิสราเอลทุกวัน ส่งผลให้พลเรือนอิสราเอล 3 คน เสียชีวิต บ้านเรือนและทรัพย์สินของพลเรือนอิสราเอลได้รับความเสียหาย ซึ่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าการใช้อาวุธที่ไม่สามารถระบุเป้าหมายได้เป็นเรื่องต้องห้าม การยิงจรวดจากฉนวนกาซ่ามายังอิสราเอลไม่สามารถระบุเป้าหมายได้แม่นยำซึ่งนั่นหมายความว่าแค่การใช้อาวุธชนิดนี้ก็ถือเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศแล้ว ทั้งนี้การยิงจรวดโดยไม่ระบุเป้าหมายนั้นเป็นอันตรายต่อพลเรือนปาเลสไตน์ทั้งในฉนวนกาซ่าและเวสต์แบงค์ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ จากคำให้การของหัวหน้ากลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์บางคน แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่มีความรู้สึกละอายใจหรือรู้สึกแย่อะไรเลยในการโจมตีไปยังพลเรือน และความจริงแล้วพวกเขาตั้งใจที่จะโจมตีโดยตรงไปยังพลเรือนอิสราเอลเพื่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต ทั้งนี้การโจมตีโดยมีเป้าหมายโดยตรงไปยังพลเรือนและการโจมตีโดยไม่ระบุเป้าหมายซึ่งส่งผลให้พลเรือนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตนั้นถือเป็นอาชญากรรมสงคราม

ที่ทหารอิสราเอลเตือนประชาชนในฉนวนกาซ่าให้อพยพถือเป็นการทำตามพันธะสัญญาในการคุ้มครองพลเรือนภายใต้กรอบของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศหรือไม่?

การเตือนล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นแค่หนึ่งข้อกำหนดในการระมัดระวังไม่ให้การโจมตีที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อพลเรือน การเตือนโดยกองกำลังอิสราเอลยังขาดคุณสมบัติหลายประการที่ระบุว่าเป็นการเตือนที่มีประสิทธิภาพ เช่น ความเที่ยงตรง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่ปลอดภัยในการอพยพ การอำนวยความสะดวกและให้เวลาที่เพียงพอในการอพยพก่อนที่การโจมตีจะเกิดขึ้น ทั้งนี้มีรายงานว่าการโจมตีเกิดขึ้นเร็วเกินไปหลังจากที่มีการเตือน ซึ่งไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ตาม แค่การเตือนไม่ได้หมายความว่าเป็นการทำตามเงื่อนไขในการคุ้มครองพลเรือน การเตือนต้องรวมไปถึงการทำทุกวิถีทางในการลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตของพลเรือนรวมถึงความเสียหายต่อทรัพย์สินของพลเรือนให้มากที่สุด ซึ่งจากการที่ทหารอิสราเอลตั้งด่านจำนวนมากในฉนวนกาซ่าและมีการปิดด่านราฟาห์โดยทางการอียิปต์ ส่งผลให้พลเรือนปาเลสไตน์ในกาซ่าไม่สามารถอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้

จากการที่ฝ่ายอิสราเอลอ้างว่ากลุ่มฮามาสและกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ใช้มนุษย์ซึ่งก็คือพลเรือนปาเลสไตน์เป็นเกราะกำบังในการโจมตี ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีหลักฐานในการพิสูจน์คำพูดนี้หรือไม่?

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกำลังตรวจสอบและสืบสวนรายงานนี้ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในขณะนี้ในการระบุว่ากลุ่มฮามาสและกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ใช้พลเรือนเป็นเกราะกำบังในการสู้รบโดยตั้งใจ แต่จากการบันทึกการโจมตีโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ได้สั่งสมอาวุธและยิงจรวดโดยไม่ระบุเป้าหมายจากเขตพื้นที่อยู่อาศัยในฉนวนกาซ่า ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้รายงานยังระบุอีกว่ากลุ่มฮามาสสนับสนุนให้ประชาชนเพิกเฉยต่อการเตือนให้อพยพจากฝ่ายอิสราเอล อย่างไรก็ตาม การกระทำของกลุ่มฮามาสอาจมีความตั้งใจในการไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเกิดการไร้ที่อยู่ ซึ่งแตกต่างจากการมีคำสั่งให้ประชาชนอยู่กับบ้านเพื่อต้องการใช้มนุษย์เป็นเกราะกำบัง และภายใต้กรอบของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ถึงปาเลสไตน์จะใช้มนุษย์เป็นเกราะกำบังจริง อิสราเอลก็ยังคงต้องทำตามพันธะกรณีในการคุ้มครองพลเรือนให้ถึงที่สุด

มีรายงานว่ากองกำลังฝ่ายอิสราเอลใช้กระสุนลูกดอกโจมตีไปยังฉนวนกาซ่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีท่าทีอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? ทหารอิสราเอลเคยใช้กระสุนลูกดอกโจมตีกาซ่ามาก่อนหรือไม่?

กระสุนลูกดอกเป็นเหล็กที่มีความยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร มีความแหมคม สามารถบรรจุกระสุนได้ถึง 5,000 ถึง 8,000 นัด ต่อการโจมตีแต่ละครั้งโดยใช้รถถังในการยิง ซึ่งการยิงแต่ละครั้งสามารถยิงได้ไกลถึง 300 เมตร กระสุนลูกดอกถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีพลทหารจำนวนมาก หรือกำลังพลในที่โล่ง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อพลเรือนอย่างมากเมื่อมีการยิงเข้าไปในพื้นที่อยู่อาศัยที่หนาแน่น

กลุ่มสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในพื้นที่รายงานว่ามีพลเรือนในกาซ่าเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากการใช้กระสุนลูกดอก   แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังไม่ได้ทำการตรวจสอบต่อกรณีนี้ แต่มีบันทึกการใช้กระสุนลูกดอกโดยกองกำลังอิสราเอลก่อนหน้านี้ เช่น ขณะที่มีปฏิบัติการคาสต์ลีด ซึ่งส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิตโดยมีเด็กรวมอยู่ด้วย

ถึงแม้ว่ากระสุนลูกดอกจะไม่ได้เป็นข้อห้ามภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ แต่ก็ไม่ควรใช้อาวุธชนิดนี้ในพื้นที่ที่พลเรือนอาศัยอยู่หนาแน่น

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลอยากฝากอะไรไปถึงประชาคมโลกหรือไม่?

ทุกประเทศ (โดยเฉพาะผู้สนับสนุนหลัก เช่น สหรัฐฯต่ออิสราเอล) ควรระงับการส่งอาวุธ อุปกรณ์ทางทหาร หรือ เทคโนโลยีใดๆ ให้กับกลุ่มผู้ขัดแย้งทุกฝ่ายจนกว่าจะแน่ใจว่าจะไม่มีการใช้อาวุธหรืออุปกรณ์นั้นๆ เพื่อละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน การระงับรวมไปถึงการการส่งออกทางอ้อมผ่านทางประเทศอื่น รวมทั้งระงับการทำธุรกรรมหรือโลจิสติกส์ ที่จะสามารถอำนวยความสะดวกต่อการขนย้ายอาวุธได้

ทุกประเทศควรใช้รายงาน “ Fact-Finding Mission on the Gaza Conflict”  ขององค์การสหประชาชาติปี 2009 และรายงานที่กำลังจะมีขึ้นในอาทิตย์นี้โดยคณะกรรมการสอบสวนภายใต้การควบคุมโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการตัดสินและสืบสวนที่เป็นสากลต่ออาชญากรรมภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศครั้งนี้ 

ป้ายคำ: 

  • อิสราเอล
  • ปาเลสไตน์
  • กาซ่า
  • ความขัดแย้ง
  • แอมเนสตี้
  • สิทธิมนุษยชน