Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ส่งจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องทางการลาว ต้องคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อจากการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีนายสมบัด สมพอน

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
www.tcijthai.com

เรียน ฯพณฯ

เรื่อง ทางการลาวต้องคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อจากการบังคับบุคคลให้สูญหาย นายสมบัด สมพอน

                ในโอกาสที่โลกฉลองวันรำลึกเหยื่อการบังคับบุคคลให้สูญหายสากล ในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงท่าน เพื่อย้ำข้อเรียกร้องให้รัฐบาลของท่านให้การประกันว่าจะมีการนำนายสมบัด สมพอน ผู้นำภาคประชาสังคมคนสำคัญของลาวกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัย มีผู้พบเห็นนายสมบัด สมพอนเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อค่ำวันที่ 15 ธันวาคม 2555 ในช่วงที่เขาถูกนำตัวออกไปจากป้อมตำรวจในกรุงเวียงจันทน์ และในขณะที่มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย

                การหายตัวไปของนายสมบัด สมพอนได้รับการบันทึกภาพด้วยกล้องวงจรปิด ซึ่งครอบครัวของเขาสามารถทำสำเนามาได้ ภาพจากกล้องวงจรปิดบริเวณไฟสัญญาณจราจรแสดงให้เห็นช่วงที่เขาออกจากรถเพื่อไปพูดคุยกับตำรวจ จากนั้นมีคนขี่มอเตอร์ไซค์เข้ามาจอด และขับรถของนายสมบัด สมพอนออกไป พร้อมกับทิ้งมอเตอร์ไซค์เอาไว้ จากนั้นมีรถกระบะซึ่งเปิดไฟกระพริบมาจอด และมีการนำตัวนายสมบัด สมพอนเข้าไปในรถและขับออกไป ดูเหมือนว่าคนที่นั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ที่ขับนำหน้ารถกระบะจะยิงปืนขึ้นฟ้าก่อนจะขับหลบหนีไป ทางการลาวปฏิเสธว่าไม่ได้จับกุมนายสมบัด สมพอน และไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการบังคับบุคคลให้สูญหายที่กระทำต่อเขา โดยอ้างว่าเขาอาจถูกลักพาตัวไปเพราะความขัดแย้งส่วนตัว หลังจากที่หยุดรถให้ตำรวจตรวจเอกสารตามปรกติ แถลงการณ์ที่ตำรวจเผยแพร่อีกหลายฉบับในประเด็นนี้ แทบไม่ได้ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมเลย

                ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะล้มเหลวในการจัดให้มีการสอบสวนโดยพลัน อย่างละเอียด อย่างมีประสิทธิภาพ และอย่างไม่ลำเอียง นอกจากนั้น รัฐบาลยังปฏิเสธไม่รับความช่วยเหลือที่ประเทศอื่นเสนอมาให้ รวมทั้งการนำภาพจากกล้องวงจรปิดที่เป็นต้นฉบับไปวิเคราะห์

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ตรวจสอบอย่างละเอียดถึงพฤติการณ์การหายตัวไปของนายสมบัด สมพอน และมีการจัดทำเป็นรายงานที่ชื่อ “ลาว: จับผิดจากกล้อง การบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีสมบัด สมพอน” (Caught on Camera - The Enforced Disappearance of Sombath Somphone, Index ASA 23/2013.002) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายน 2556 และมีข้อสรุปว่าเจ้าหน้าที่ของลาวมีส่วนรับผิดชอบต่อการหายตัวไปของนายสมบัด สมพอน ไม่ว่าจะในแง่เป็นผู้กระทำการโดยตรงหรือให้ความร่วมมือ ให้ความสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจ และมีข้อเสนอหลายประการเพื่อประกันให้เขาสามารถเดินทางกลับมาอย่างปลอดภัย แต่นับแต่มีการเผยแพร่รายงาน ยังไม่มีความคืบหน้าต่อการคลี่คลายปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหายในกรณีนี้แต่อย่างใด

                ในคดีนี้การสอบสวนเต็มไปด้วยข้อบกพร่อง มีการจงใจปฏิเสธไม่ตั้งคำถามที่สำคัญ ความลักลั่น และการปฏิเสธไม่รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ กล่าวโดยสรุป รัฐบาลลาวล้มเหลวในการเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง และมีการละเมิดพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

                ลาวลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CPED) เมื่อเดือนกันยายน 2551 แม้ว่าลาวจะยังไม่ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาดังกล่าว แต่คาดว่าลาวควรปฏิบัติตามเนื้อหาและเจตนารมณ์ของอนุสัญญา และมีพันธกรณีต้องหลีกเลี่ยงการปฏิบัติใด ๆ ที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์และเป้าประสงค์ของสนธิสัญญาฉบับนี้ ลาวยังเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลต้องให้ “การเยียวยาที่เป็นผล” เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิที่มีการรับรองในกติกาฉบับนี้ รวมทั้งสิทธิที่จะมีอิสรภาพและความปลอดภัยของบุคคล

                ในบริบทของวันสากลของเหยื่อจากการบังคับบุคคลให้สูญหาย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงขอเสนอข้อเสนอเหล่านี้อีกครั้ง ซึ่งหากมีการปฏิบัติตามก็น่าจะช่วยประกันให้นายสมบัด สมพอนสามารถเดินทางกลับมาได้อย่างปลอดภัย และประกันว่าครอบครัวของเขาจะสามารถเข้าถึงความจริงและความยุติธรรม โดยเราขอกระตุ้นให้รัฐบาลลาวประกันให้มีการปล่อยตัวนายสมบัด สมพอนโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข และให้เขากลับไปอยู่กับครอบครัวได้อย่างปลอดภัย ให้จัดให้มีคณะกรรมการอิสระโดยทันทีเพื่อสอบสวนอย่างไม่ลำเอียงและอย่างละเอียดกรณีการหายตัวไปของนายสมบัด สมพอน และประกันว่ามีการปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อจำแนกที่อยู่ของเขา ช่วยเหลือเขาจากผู้ที่จับกุมตัวไป และให้นำตัวเขากลับไปสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัยโดยเร็วสุด ซึ่งสอดคล้องกับพันธกรณีของลาวที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

                ให้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับโดยเร็วสุดเท่าที่เป็นไปได้ ให้ประกาศตามข้อ 31 และ 32 เพื่อยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายที่จะรับและพิจารณาข้อร้องเรียนจากบุคคลที่อ้างว่าตกเป็นเหยื่อของการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการลักพาตัว ให้นำเนื้อหาของข้อดังกล่าวไปผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในประเทศ และให้นำมาปฏิบัติในฐานะเป็นนโยบายและแนวการปฏิบัติ

                ให้ดำเนินการตามมาตรการที่จำเป็นเพื่อกำหนดนิยามของการบังคับบุคคลให้สูญหายโดยถือเป็นความผิดทางอาญา และให้มีการกำหนดโทษอย่างเหมาะสมในกฎหมายของลาว

                ให้เชิญคณะทำงานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายและการสูญหายโดยไม่สมัครใจ รวมทั้งคณะทำงานด้านการควบคุมตัวโดยพลการ มาเยือนประเทศลาว เพื่อทำการสอบสวนและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และให้มีการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานเหล่านี้โดยพลัน

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอกระตุ้นให้ท่านใช้วิธีการทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อประกันให้หน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเหล่านี้โดยไม่ชักช้า จนกว่านายสมบัด สมพอนจะกลับมาสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัย เราจะไม่ยุติการเคลื่อนไหวในกรณีของเขา และเราจะยังคงเรียกร้องให้นำตัวเขากลับคืนมาต่อไป

                จดหมายฉบับนี้มีการส่งถึง ฯพณฯ ทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน และฯพณฯ ทองลุน สีสุลิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และมีการนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

                เราหวังว่าจะได้รับคำตอบจากท่านโดยเร็ว

 

ขอแสดงความนับถือ

ซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty)

เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง: 

ป้ายคำ: 

  • สมบัด สมพอน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • การบังคับบุคคลให้สูญหาย
  • ลาว
  • ซาลิล เช็ตติ
  • สิทธิมนุษยชน