Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

การปราบปรามการแสดงความเห็นอย่างเสรีในอาเซียน

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
©Soe Than WIN/AFP/Getty Images.

           ซีเอ็นเอ็นได้ลงบทความที่เขียนโดยรูเพิร์ต แอ็บบอต (Rupert Abbott) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยในเอเชียตะวันออกเฉียงและแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เกี่ยวกับการปราบปรามการแสดงความเห็นอย่างเสรีในอาเซียน

          (CNN) – ในเดือนเมษายนปีนี้ ประชาชนชาวพม่าที่หยิบหนังสือพิมพ์ขึ้นมาอ่าน จะไม่พบข้อความใด ๆ เพราะในวันนั้นหน้าหนึ่งชองหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้เป็นสีดำทั้งหน้า เป็นการแสดงพลังของเพื่อสนับสนุนเพื่อนสื่อมวลชนที่เพียงแต่ทำหน้าที่ของตนเอง ในสัปดาห์นี้ ขณะที่ผู้นำโลกมาประชุมกับเพื่อนร่วมภูมิภาคที่กรุงเนปิดอว์เมืองหลวงของพม่า ในการประชุมสุดยอดสองครั้ง บรรดาผู้เข้าประชุมควรแถลงจุดยืนที่หนักแน่นเกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อ

            หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ที่เป็นสีดำทั้งหน้า เป็นสัญลักษณ์การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประเทศซึ่งไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ รัฐบาลทหารยังควบคุมสื่อทุกประเภทอย่างเข้มงวด เป็นการประท้วงต่อกรณีที่ซอว์เพ (Zaw Pe) ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวอิสระ Democratic Voice of Burma ที่ถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี “ความผิด” ของเขาคือการสอบสวนกรณีทุจริตในพื้นที่ของตนเอง เป็นรายงานข่าวที่ทางการไม่ต้องการให้มีการเผยแพร่ออกไป

            นี่ถือเป็นคำตัดสินที่ไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิงต่อนักข่าว ซึ่งเพียงแต่ทำหน้าที่ของตนเอง และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจัดให้เขาเป็นนักโทษทางความคิด ที่ถูกคุมขังเพียงเพราะใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ ที่น่าเศร้าใจคือคำตัดสินดังกล่าวสะท้อนด้านมืดของเสรีภาพในการแสดงออกในพม่า เนื่องจากทางการได้เพิ่มการควบคุมสื่ออีกครั้ง และยังมุ่งปราบปรามนักวิพากษ์วิจารณ์อย่างสงบ ก่อนจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า

            การควบคุมที่เพิ่มขึ้นมีขึ้นในขณะที่พม่าควรเปลี่ยนผ่านจากยุคของทหาร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2544 แต่ที่ผ่านมากำลังชะลอตัวเนื่องจากรัฐบาลกำลังหาทางรับมือกับการรักษาผลประโยชน์จากการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ต้องควบคุมความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของประชาชนที่มีต่อสิทธิและเสรีภาพของตนเอง โชคร้ายที่การพยายามควบคุมของรัฐบาลมักนำไปสู่การใช้ยุทธวิธีที่คุ้นเคย ทั้งการปราบปรามและการจับกุม

            ประธานาธิบดีเต็งเส่งให้สัญญาว่าจะปล่อยนักโทษทางความคิดทั้งหมดในประเทศ แต่ยังมีนักโทษทางความคิดอีกหลายสิบคนที่ถูกจองจำ ในขณะที่มีการคุมขังนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิที่ดิน นักข่าว และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา

            และนั่นไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะในพม่า รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไม่ว่าจะมีแนวทางการเมืองแบบใด กำลังหาทางควบคุมเสียงที่เห็นต่าง

            อย่างเช่นกรณีประเทศไทย รัฐบาลใหม่ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม ทางการได้ออกกฎหมายอย่างกว้างขวางเพื่อควบคุมสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ มีการสั่งห้ามการชุมนุมกว่าห้าคนขึ้นไป ห้ามแม้กระทั่งการกินแซนด์วิชหรือการอ่านหนังสือ ซึ่งเป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ต่อรัฐบาล และการทำเช่นนั้นอาจทำให้ต้องขึ้นศาลทหาร

            อันที่จริงสื่อมวลชนของไทยต้องทำงานภายใต้การจับตามองอย่างใกล้ชิดของ “คณะกรรมการเซ็นเซอร์” และหลายเดือนภายหลังรัฐประหาร เราจะเห็นคดีที่ตำรวจสอบสวนและพนักงานอัยการฟ้องร้องตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเป็นกฎหมายที่ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์

            ในขณะเดียวกันทางการมาเลเซียได้เพิ่มการใช้พระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นขบถมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อปราบปรามผู้แสดงความเห็นต่างอย่างสงบ เป็นการใช้กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม และให้อำนาจรัฐบาลอย่างกว้างขวางเพื่อปราบปรามเสียงที่เห็นต่าง ในปีนี้มีผู้ถูกตัดสินลงโทษสองคนในข้อหาขบถ และอีกประมาณสิบกว่าคนที่ถูกตั้งข้อหาดังกล่าว นอกจากนี้ตำรวจยังสอบสวนอีกหลายคนเกี่ยวกับกิจกรรมที่มีลักษณะเป็น “ขบถ” รวมทั้งการสอบสวนกรณีนายอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) ตั้งแต่เดือนกันยายน

            ในเวียดนาม ทางการยังคงควบคุมสื่อมวลชนอย่างเข้มงวด และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักเคลื่อนไหวทางอินเตอร์เน็ตและผู้จัดทำเว็บบล็อกถูกตัดสินจำคุกในข้อหาที่กุขึ้นมาเอง มีนักโทษทางความคิดหลายคนที่ต้องทนทุกข์ทรมานในสภาพที่ยากลำบาก ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา เมื่อต้นปีนี้ เจ้าหน้าที่ ยิงคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าจนเสียชีวิต และกำลังมีการออกกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเอาผิดและเซ็นเซอร์การแสดงความเห็นทางอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและนโยบายของพวกเขา

            สุดท้าย แม้ในอินโดนีเซียซึ่งได้รับยกย่องว่ามีความเปิดกว้างและการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชน แต่ยังมีอีกหลายสิบคนที่ถูกฟ้องคดีตามกฎหมายหมิ่นศาสนา และการปราบปรามชนกลุ่มน้อยทางศาสนาที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังไม่นับรวมผู้ประท้วงเรียกร้องเอกราชอย่างสงบอีกหลายคน ที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ในพื้นที่ปาปัวและมาลุกุ บางคนถูกจำคุกนานถึง 20 ปี เพียงเพราะยกธงขึ้นโบก

            เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้พัฒนาขึ้นมามากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาในแง่การส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีส่วนสนับสนุนศักยภาพด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค แต่การควบคุมจำกัดเสรีภาพในการพูดทั่วทั้งภูมิภาคกำลังทำให้เกิดปัญหา และน่าจะทำให้มีการลงทุนจากต่างชาติน้อยลง

            ผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดในเดือนพฤศจิกายนมีโอกาสจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ทั้งนี้โดยการเป็นปากเสียงแทนผู้ที่ถูกปิดปากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษด้านความคิดที่ถูกคุมขังเพียงเพราะการแสดงความเห็นอย่างสงบ

 

Where free speech is threatened 

ป้ายคำ: 

  • เสรีภาพในการแสดงออก
  • เสรีภาพสื่อ
  • นักโทษทางความคิด
  • อาเซียน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล
  • รูเพิร์ต แอ็บบอต