Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

คุกกวนตานาโมสัญลักษณ์แห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหรัฐอเมริกา

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

คุกกวนตานาโมสัญลักษณ์แห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหรัฐอเมริกา

            ครบรอบ 13 ปี คุกกวนตานาโม คุกลับของสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกสำนักงานข่าวกรองกลางหรือซีไอเอใช้เป็นสถานที่สอบปากคำนักโทษหรือผู้ต้องสงสัยคดีก่อการร้ายด้วยการทรมานร่างกาย

            11 มราคม 2545 ผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายชุดแรก 20 คนถูกพาข้ามน้ำข้ามทะเลไปคุมขังที่ฐานทัพเรือสหรัฐในอ่าวกวนตานาโม ที่สหรัฐเช่าจากคิวบาภายใต้สัญญาเช่าตั้งแต่ปี 2446 และเป็นวันที่โลกต้องตกตะลึงกับภาพนักโทษในชุดสีส้มสว่าง สวมกุญแจมือ และคลุมศีรษะปิดหน้าตาอยู่ในกรงขัง 

            ผู้ชายและเด็กหนุ่มมุสลิมจำนวน 779 คนกลายเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีก่อการร้ายและถูกควบคุมตัวในคุกลับแห่งนี้ ที่ผ่านมามีการปล่อยตัวนักโทษไปแล้ว 650 คน ในขณะนี้เหลืออีก 127 คนที่ยังถูกคุมขังอยู่ โดย 59 คน ได้รับการพิจารณาแล้วว่าสมควรถูกปล่อยตัว แต่พวกเขาก็ยังคงถูกคุมขังต่อไป ในขณะที่อีก 23 คน ถูกพิจารณาว่าต้องคุมขังไว้โดยไม่มีกำหนด เพราะเชื่อว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะถูกปล่อยออกไป ส่วนนักโทษที่เหลือยังรอการไตร่สวนโดยกองทัพของสหรัฐ          

            แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเคยออกรายงานเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีคุกกวนตานาโม ชื่อ “กวนตานาโม: หนึ่งทศวรรษแห่งความเสื่อมของสิทธิมนุษยชน” ระบุว่าความล้มเหลวในการปิดคุกกวนตานาโมของสหรัฐ กำลังทิ้งมรดกพิษด้านสิทธิมนุษยชน รากเหง้าของปัญหา ย้อนหลังไปถึงการอิดออดไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล ดังที่สหรัฐมักคาดหวังจะเห็นจากประเทศอื่นเสมอมา

            ร็อบ ฟรีเออร์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่ากวนตานาโมเป็นสัญลักษณ์แห่งการไม่เคารพหลักการสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบของสหรัฐ เพื่อตอบโต้เหตุวินาศกรรม 11 กันยา หากประเทศอื่น เปิดคุกแบบกวนตานาโมบ้าง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เรื่องนี้จะต้องปรากฏอยู่ในรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนโลกประจำปีของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นอน

            บารัค โอบามา เคยใช้เรื่องการปิดคุกกวนตานาโมในการหาเสียง วันแรกๆ เมื่อเข้ามานั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2552 เขาระบุว่าจะปิดสถานกักกันแห่งนี้ “ภายใน 1 ปี” โดยประกาศด้วยความมุ่งมั่น ณ องค์การบริหารจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ กรุงวอชิงตัน ว่า “ในฐานะประธานาธิบดี ผมจะไม่ยอมให้ปัญหานี้เรื้อรังต่อไป”

            ปัจจุบันยังมีนักโทษถูกคุมขังอยู่ที่คุกกวนตานาโม แม้โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ เปิดเผยว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัก โอบามากำลังเร่งขั้นตอนปิดตคุกกวนตานาโมอยู่ หลังจากมีการปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังเพิ่มอีก 6 คนเมื่อเดือนธันวาคม 2557 ทำให้ในปี 2557 สหรัฐปล่อยตัวนักโทษกวนตานาโมเพิ่มเป็น 19 คนแล้ว แต่นายดิกซัน ออสบอร์น นักวิชาการจากอเมริกันซีเคียวริตี้โปรเจ็คท์ ระบุว่าเป็นเรื่องยากที่จะปิดคุกแห่งนี้ได้ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า

            แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังรณรงค์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สหรัฐอเมริกาปิดคุกกวนตานาโม เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในคุกกวนตานาโมถือเป็นการบ่อนทำลายกระบวนการยุติธรรมทั้งกระบวน และรุกรานหลักการพิจารณาคดีระหว่างอัยการกับลูกความ หลักกระบวนการอันควรแห่งกฎหมาย (due process) และสิทธิในการเข้าถึงการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม รวมไปถึงมีการทรมานอย่างกว้างขว้าง นอกจากนั้นยังมีนักโทษอีกหลายคน เช่น Shaker Aamer ที่ถูกคุมขังอย่างไม่มีกำหนดมา 13 ปี โดยไม่มีการตั้งข้อหาใดๆ และไม่มีการกำหนดเวลาขึ้นศาลอีกด้วย

            เราในฐานะพลเมืองของโลก ต้องไม่ยอมจำนนต่อความอยุติธรรมโดยการปิดปากเงียบ ดังที่มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ด้านมนุษยธรรมชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า "ความอยุติธรรมไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใด ก็เป็นภัยต่อความยุติธรรมทั่วทุกหนแห่ง" ร่วมรณรงค์ปล่อย Shaker Aamer หนึ่งในผู้ถูกควบคุมตัวมา 13 ปีโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใดๆ ทั้งสิ้น http://bit.ly/1IDVMBG

13 years too many. ‪#‎CloseGitmo

ป้ายคำ: 

  • คุกกวนตานาโม
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล