Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

เชลล์ยอมจ่าย 55 ล้านปอนด์ ชดเชยน้ำมันรั่วที่ปากแม่น้ำไนเจอร์

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

เชลล์ยอมจ่าย 55 ล้านปอนด์ ชดเชยน้ำมันรั่วที่ปากแม่น้ำไนเจอร์

          หลังจากรอคอยมาอย่างยาวนาน ในที่สุดก็ได้รับชัยชนะ โดยบริษัทเชลล์ยอมจ่ายค่าชดเชยจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วบริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์  หกปีหลังจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วถึงสองครั้ง ได้ทำลายวิถีชีวิตของผู้คนนับพันในชุมชนโบโด การดำเนินการทางกฎหมายในสหราชอาณาจักรผลักดันให้บริษัทเชลล์ต้องทำความตกลงนอกศาล โดยจ่ายเงินจำนวน  55  ล้านปอนด์ แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจำนวน 15,600 คน และอีก 20 ล้านปอนด์สำหรับชุมชน

          แอมเนสตี้  อินเตอร์เนชั่นแนล  และศูนย์เพื่อสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และการพัฒนา (CEHRD)  เปิดเผยว่า  การที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่างเชลล์จ่ายค่าชดเชยให้กับชุมชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วบริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์ ถึงแม้จะพ้นกำหนดการจ่ายค่าชดเชยมานานแล้วก็ตาม ถือเป็นชัยชนะของผู้เสียหายจากความประมาทขององค์กร

          ออเดรย์ โกห์ราน (Audrey Gaughran) ผู้อำนวยการงานรณรงค์ประเด็นสากล แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยถึงแม้ว่าการจ่ายค่าชดเชยครั้งนี้จะเป็นชัยชนะที่ต้องรอคอยมาอย่างยาวนานสำหรับผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในโบโด แต่ก็ไม่ควรใช้เวลานานถึง 6 ปี ในการจ่ายค่าชดเชยที่เป็นธรรม เพราะตามสภาพแล้ว บริษัทเชลล์ รู้แน่ว่าเหตุการณ์ที่โบโดเป็นอุบัติเหตุที่รอการเกิดขึ้น แต่กลับไม่มีมาตรการใดๆ ในการยับยั้งสิ่งที่จะเกิดขึ้นเลย อีกทั้งยังมีการกล่าวอ้างเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลซึ่งเป็นเท็จ หากบริษัทเชลล์ไม่ถูกบังคับให้เปิดเผยข้อมูลจากการดำเนินการทางกฎหมายแล้วล่ะก็ ผู้คนในชุมชนโบโดคงโดนโกงโดยสมบูรณ์เป็นแน่

          การรอคอยส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนโบโดเป็นอย่างมาก มีคนจำนวนไม่น้อยที่วิถีชีวิตและการดำรงชีพถูกทำลาย เช่น คนที่ทำอาชีพประมง และการเกษตร จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้คนในชุมชนต้องใช้ชีวิตอยู่กับมลภาวะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อไม่มีการจ่ายค่าชดเชย หลายชีวิตจึงต้องเผชิญกับความยากจน

          สติน โอโบโดควา (Styvn Obodoekwe) ผู้อำนวยการโครงการศูนย์เพื่อสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และการพัฒนา (CEHRD) กล่าวว่า การจ่ายค่าชดเชยถือเป็นก้าวย่างหนึ่งที่จะไปถึงความยุติธรรมสำหรับประชาชนในโบโด แต่อย่างไรก็ตาม การจะไปถึงความยุติธรรมจริงๆ ได้นั้น ทางบริษัทเชลล์ต้องทำความสะอาดลำคลอง และหนองน้ำที่ปนเปื้อนมลพิษจากเหตุน้ำมันรั่วดังกล่าวด้วย เพื่อให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพ เช่น การทำประมงและการเกษตรได้กลับไปมีรายได้และสามารถดำรงชีวิตได้ดังเดิม   

          ปาสเตอร์ คริสเตียน เคแพนเด (Pastor Christian Kpandei) ผู้ประกอบอาชีพทำฟาร์มปลาในโบโด เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่ว กล่าวว่า รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ในที่สุดบริษัทเชลล์ได้รับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง และ ขอขอบคุณทนายที่ผลักดันให้บริษัทเชลล์กระทำการที่คาดไม่ถึงนี้

          บริษัทเชลล์ได้ยอมรับมาตลอดว่า เหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เกิดขึ้นทั้งสองครั้งในปี 2551ที่โบโด เป็นความผิดพลาดของระบบท่อส่งน้ำมันของบริษัท แต่ต่อหน้าสาธารณชนหลายๆครั้ง ทางบริษัทกลับให้การว่าปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลนั้นมีปริมาณเพียง 4,000 บาร์เรล จากการรั่วไหลทั้งสองครั้งรวมกัน ถึงแม้ว่าการรั่วไหลของน้ำมันนั้นเกิดขึ้นนานเป็นอาทิตย์ก็ตาม

          ในปี 2555 แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลได้ประเมินผลการรั่วไหลของน้ำมันครั้งแรกจากข้อมูลทางวิดีโอ พบว่า ปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลทั้งหมดนั้นสูงถึง 100,000 บาร์เรล จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งแรกเท่านั้น  ทั้งนี้ระหว่างการดำเนินการทางกฎหมายในสหราชอาณาจักร บริษัทเชลล์ได้ยอมรับในที่สุดว่าตัวเลขที่เคยกล่าวอ้างนั้นผิด และการประเมินปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลทั้งสองครั้งต่ำเกินไป อย่างไรก็ตามทางบริษัทก็ยังไม่ยืนยันถึงปริมาณที่แท้จริง

          นอกจากนี้ ระหว่างการดำเนินการทางกฎหมาย บริษัทเชลล์ได้ถูกบังคับให้เปิดเผยความจริงว่า ทางบริษัทล่วงรู้อย่างน้อยตั้งแต่ปี 2545 แล้วว่า ท่อส่งน้ำมันส่วนใหญ่มีสภาพเก่า และมีบางส่วนที่ “มีความเสี่ยงสูงและเป็นอันตราย” จากเอกสารของทางบริษัทในปี  2545 ระบุว่า ท่อส่งน้ำมันควรได้รับการเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเนื่องจากเกิดการกัดกร่อนเป็นวงกว้าง

          เท่าที่แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล และ  CEHRD รู้ บริษัทเชลล์ไม่มีมาตรการใดๆ เลย ถึงแม้ว่าทางบริษัทจะได้รับรู้ข้อมูลนี้แล้วหนึ่งปีก่อนที่การรั่วไหลจะเกิดขึ้น  ข้อมูลจากอีเมลภายในของทางบริษัทเชลล์ในปี 2552 เปิดเผยว่า ทางบริษัทรู้ถึงการรั่วของน้ำมันในบริเวณโอกอนไนแลนด์ (Ogoniland) ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของชุมชนโบโด โดยในอีเมลระบุว่า  “ท่อส่งน้ำมันในโอกอนไนแลนด์ไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมหรือมีการประเมินความสมบูรณ์ของท่อมามากกว่า 15 ปี”

          ผู้คนนับพันยังคงใช้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของน้ำมันในอนาคต เพราะบริษัทเชลล์ล้มเหลวในการซ่อมบำรุงท่อที่เก่าและทรุดโทรม

“มลพิษจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วบริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์ถือเป็นหนึ่งเรื่องที่อื้อฉาวที่สุดขององค์กร ณ ตอนนี้ บริษัทเชลล์ต้องจ่ายค่าชดเชยที่เหมาะสม ทำความสะอาดคราบน้ำมันและมลพิษ รวมถึงหามาตรการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของท่อส่งน้ำมัน ดีกว่าคอยแต่จะหาช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อหลบลี่ยงความรับผิดชอบ”  ออเดรย์ โกห์ราน  กล่าว

 

ข้อมูลพื้นฐาน

          เหตุการณ์น้ำมันรั่วเกิดขึ้น 2 ครั้งในปี 2551 ตรงบริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์ เหตุการณ์ครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ส่วนครั้งที่สองเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และองค์กร CEHRD ได้ร่วมมือกันรณรงค์ในกรณีน้ำมันรั่วที่โบโดมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนได้รับค่าชดเชย และกำจัดคราบน้ำมัน

          ในปี 2554 ประชาชนจากโบโด โดยบริษัททางด้านกฎหมายจากสหราชอาณาจักรเป็นตัวแทนนำเรื่องขึ้นศาลเพื่อต่อสู้กับบริษัทเชลล์สาขาไนจีเรียที่ประเทศอังกฤษ

          เหตุการณ์น้ำมันรั่วจากบริษัทเชลล์เกิดขึ้นนับร้อยครั้งทุกๆ ปี ซึ่งทางบริษัทเชลล์โทษว่ามลพิษจากน้ำมันรั่วเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมายของผู้คนในบริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์ แต่สุดท้ายแล้วคำกล่าวอ้างของบริษัทเชลล์ก็ถูกเปิดโปงจากการวิจัยโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และองค์กร CEHRD

 

Nigeria: Long-awaited victory as Shell finally pays out £55 million over Niger Delta oil spills

ป้ายคำ: 

  • เชลล์
  • น้ำมันรั่ว
  • ลุ่มน้ำไนเจอร์
  • ไนจีเรีย
  • ชุมชนโบโด
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล
  • CEHRD