Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

พม่า: บริษัทเหมืองจากต่างชาติจับมือกันปฏิบัติมิชอบและกระทำการผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
© AP/Press Association Images

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

แถลงการณ์

10 กุมภาพันธ์ 2558

บริษัทเหมืองจากต่างชาติจับมือกันปฏิบัติมิชอบและกระทำการผิดกฎหมายอย่างร้ายแรงในพม่า

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในรายงานที่เผยแพร่วันนี้ ว่ากำไรจากกิจการเหมืองแร่ของบริษัทจากแคนาดาและจีนในบางกรณี เป็นผลมาจากการร่วมมือกับทางการพม่าในการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและถือเป็นกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย กรณีโครงการอุตสาหกรรมเหมืองทองแดงมอญยอ (Monywa) รวมทั้งเหมืองทองแดงเลทปะด่อง (Letpadaung) ที่อื้อฉาว          

                รายงานเรื่อง “เปิดประตูเพื่อธุรกิจ? อาชญากรรมของบรรษัทและการปฏิบัติมิชอบซึ่งเกิดขึ้นที่เหมืองทองคำในพม่า” (Open for Business? Corporate Crime and Abuses at Myanmar Copper Mine) ชี้ให้เห็นปัญหาการบังคับไล่รื้อในวงกว้างและปัญหามลพิษร้ายแรงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการเหมืองที่ทำลายวิถีชีวิต และทำให้ประชาชนหลายพันคนเกิดความเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพ การประท้วงของชาวบ้านส่งผลให้ตำรวจใช้กำลังปราบปรามเกินกว่าเหตุ โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ใช้ฟอสฟอรัสขาว ซึ่งเป็นสารระเบิดที่มีพิษร้ายแรงกับชาวบ้าน

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นการดำเนินงานอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งการละเมิดมาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ

                เมฆนา อับราฮัม (Meghna Abraham) นักวิจัยด้าน Corporate Crimes แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว พม่ากำลังเปิดรับพายุร้ายของการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งที่ผ่านระบบกฎหมายอันอ่อนแอและระบบเศรษฐกิจที่ถูกครอบงำด้วยผลประโยชน์ของกองทัพและผลประโยชน์พิเศษอื่น ๆ รัฐบาลได้บังคับไล่รื้อประชาชน ปราบปรามการประท้วงอย่างสงบ และยังแสดงความไม่ใส่ใจอย่างสิ้นเชิงที่จะเอาผิดกับบริษัท

                “โครงการเหมืองมอญยอเป็นอุทาหรณ์เตือนใจสำหรับการลงทุนในพม่า กล่าวคือโครงการของบรรษัทเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติมิชอบ และการทำให้ชุมชนแตกแยกเพื่อผลกำไรเพียงอย่างเดียว การพัฒนาเหมืองเลทปะด่องต้องยุติลงโดยทันที จนกว่าจะมีการแก้ปัญหาด้านสิทธิเสียก่อน”

                รายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลแสดงข้อมูลที่เป็นหลักฐานต่าง ๆ เช่น

  • ประชาชนหลายพันคนถูกบังคับโยกย้ายในช่วงทศวรรษ 1990 อย่างขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองการลงทุนของบริษัทไอเวนโฮ ไมนส์ (Ivanhoe Mines) จากแคนาดา (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Turquoise Hill Resources) ทางบริษัททราบดีว่าการลงทุนของตนจะส่งผลให้เกิดการโยกย้ายประชาชน แต่ไม่ได้ทำอะไรที่จะแก้ปัญหา มีแต่มุ่งแสวงหาผลกำไรกว่าทศวรรษจากการทำเหมืองทองแดง โดยร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลทหารพม่า และไม่ได้มีการแก้ปัญหาของคนยากจนหลายพันคนที่ได้รับผลกระทบ
  • ประชาชนอีกหลายพันคนยังถูกบังคับโยกย้ายหลังปี 2554 เป็นต้นมาเพื่อการก่อสร้างเหมืองเลทปะด่อง ซึ่งเป็นกิจการของบริษัทวันเปา (Wanbao) จากจีน และ Union of Myanmar Economic Holdings (UMEHL) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของกองทัพพม่า บริษัทวันเปามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการบังคับไล่รื้อ และยังให้ความร่วมมือกับทางการ อย่างเช่น การจัดหารถไถเพื่อใช้ทำลายพืชผลของชาวบ้าน
  • ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ทหารของรัฐบาลได้ใช้ฟอสฟอรัสขาว ซึ่งเป็นสารระเบิดที่มีพิษร้ายแรง โดยเป็นการจงใจทำร้ายชาวบ้านและพระภิกษุซึ่งประท้วงผลกระทบด้านลบจากเหมืองเลทปะด่อง เป็นเหตุให้ประชาชนกว่า 100 คนได้รับบาดเจ็บ บางคนมีรอยแผลไฟไหม้ที่น่ากลัว บางคนต้องพิการไปตลอดชีวิต โดยฐานของปฏิบัติการโจมตีครั้งนั้นส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากบริเวณพื้นที่ของบริษัทวันเปา การที่กองทัพใช้สารฟอสฟอรัสขาวกับผู้ประท้วง ถือเป็นการทรมานอย่างหนึ่ง และเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ 
  • ในเดือนธันวาคม 2557 ผู้หญิงรายหนึ่งเสียชีวิตและชาวบ้านอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บ เมื่อตำรวจกราดยิงใส่ผู้ประท้วงที่พื้นที่เหมืองเลทปะด่อง การประท้วงต่อต้านเหมืองที่ผ่านมามักต้องเผชิญกับการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • บริษัทไอเวนโฮ ไมนส์มีส่วนเกี่ยวข้องเนื่องจากเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนในโครงการเหมืองมอญยอ โดยมีการขายทองแดงให้กับบุคลากรในกองทัพพม่าที่อยู่ในรายชื่อของ “who’s-who” การซื้อขายครั้งนั้นเกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ยังมีมาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจอยู่ บริษัทไอเวนโฮ ไมนส์ให้ข้อมูลเท็จต่อสาธารณะเกี่ยวกับการซื้อขายทองแดงครั้งนั้น และบริษัทลูกของพวกเขาอาจละเมิดมาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
  • ช่วงที่บริษัทไอเวนโฮ ไมนส์เบี่ยงเบนการลงทุนจากพม่า เป็นการกระทำตามกระบวนการปิดลับ โดยมีนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติช เวอร์จิ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง จากการสอบสวนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบหลักฐานว่า บริษัทไอเวนโฮ ไมนส์และนิติบุคคลดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทซึ่งอาจละเมิดมาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐบาลแคนาดาและสหราชอาณาจักร ในช่วงที่มีการรณรงค์เบี่ยงเบนการลงทุนจากพม่า ทางหน่วยงานเรียกร้องให้รัฐบาลแคนาดาและสหราชอาณาจักรดำเนินการไต่สวนทางอาญาในประเด็นนี้ด้วย
  • UMEHL ซึ่งเป็นหน่วยงานของกองทัพได้ดำเนินการโรงงานกรดซัลฟูริกที่ผิดกฎหมาย และมีส่วนเชื่อมโยงกับเหมืองมอญยอเป็นเวลาหกปี เมื่อมีการเปิดโปงในเรื่องนี้ ทางโรงงานได้รับอนุญาตจากทางการให้ดำเนินงาน ต่อไป ในขณะที่รัฐบาลไม่ได้แสดงท่าทีที่จะใช้มาตรการลงโทษต่อ UMEHL เลย

                “ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบโครงการเหมืองมอญยาและเหมืองเลทปะด่อง ต้องเผชิญกับการปฏิบัติมิชอบในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทจากแคนาดา พม่า และจีนในปัจจุบัน การลงทุนมีประโยชน์ต่อประเทศพม่า แต่โครงการนี้ให้ประโยชน์กับบริษัท แต่กลับทำร้ายประชาชน” เมฆนา อับราฮัมกล่าว

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้

  • รัฐบาลแคนาดาและจีนสอบสวนการดำเนินงานของบริษัทไอเวนโฮ ไมนส์และบริษัทวันเปาในพม่า
  • ทางการแคนาดาและสหราชอาณาจักร ต้องสอบสวนว่าบริษัทไอเวนโฮ ไมนส์และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องละเมิดต่อมาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐบาลแคนาดาและ/หรือสหราชอาณาจักรหรือไม่
  • ต้องยุติการก่อสร้างเหมืองเลทปะด่อง จนกว่าจะมีการแก้ปัญหาการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิ
  • ให้ทางการพม่าสอบสวนการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในช่วงที่เกิดการประท้วงที่เหมืองเลทปะด่อง รวมทั้งการใช้ฟอสฟอรัสขาวและบทบาทของบริษัทวันเปา ซึ่งปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้พื้นที่ของบริษัทเป็นที่ตั้งของหน่วยทหารที่ทำร้ายชาวบ้าน
  • ทางการพม่าต้องจัดให้มีการชดเชยอย่างเพียงพอและให้มีการโยกย้ายประชาชนที่ถูกบังคับไล่รื้อไปอยู่ที่ใหม่ และให้ปฏิรูปกรอบกฎหมายเพื่อให้มีการคุ้มครองที่ดีขึ้นต่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมือง

ข้อมูลพื้นฐาน

                โครงการเหมืองมอญยอประกอบด้วยเหมือง Sabetaung and Kyisintaung (S&K) และเหมืองทองแดงเลทปะด่อง โครงการเหมือง S&K เป็นเหมืองที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ส่วนเหมืองเลทปะด่องยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

                บริษัทไอเวนโฮ ไมนส์ จำกัดจากแคนาดา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 ได้เข้าร่วมลงทุนกับหน่วยงาน Mining Enterprise No. 1 (ME1) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของพม่า ทั้งนี้เพื่อก่อตั้งบริษัท Myanmar Ivanhoe Copper Company Limited (MICCL) โดยทั้งสองหน่วยงานต่างถือหุ้นอยู่คนละครึ่ง MICCL เป็นผู้ดำเนินการโครงการเหมือง S&K

                ในปี 2550 บริษัทไอเวนโฮ ไมนส์ตัดสินใจเบี่ยงเบนการลงทุนจากพม่า และจัดให้มีหน่วยงานที่สามอย่าง Trust ซึ่งเป็นเป้าหมายการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินของพม่า

                ในปี 2553 มีการประกาศว่าบรรษัทอุตสาหกรรมไชนานอร์ท (China North Industries Corporation NORINCO) และ UMEHL ได้ตกลงในสัญญาเกี่ยวกับโครงการเหมืองมอญยอแล้ว โดยครอบคลุมพื้นที่ของทั้งเหมือง S&K และเหมืองเลทปะด่อง บริษัทลูกของบริษัทวันเปา ไมนิง จำกัด จากประเทศจีน (เป็นของบริษัท NORINCO) จะมีการเปิดเหมืองทั้งสองแห่งในวันนี้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการผ่องถ่ายทรัพย์สินของ ME1-บริษัทไอเวนโฮ ไมนส์ไปยังบริษัทวันเปา จากจีน และที่ผ่านมาไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของ UMHEL

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพยายามติดต่อบริษัท ซึ่งมีชื่ออยู่ในรายงานเพื่อขอความเห็นต่อข้อกล่าวหาเหล่านี้ กรณีที่มีการตอบคำถามกลับมา เราได้นำข้อมูลมาผนวกไว้ในรายงานฉบับนี้ด้วย

 

Myanmar: Foreign mining companies colluding in serious abuses and illegality