Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ชี้มาตราการเร่งด่วนที่ยุโรปต้องทำคือรักษาชีวิตของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ชี้มาตราการเร่งด่วนที่ยุโรปควรทำคือรักษาชีวิตของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ชี้รัฐบาลยุโรปต้องให้ความสำคัญกับการทำแผนการค้นหาและช่วยชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเลขของผู้เสียชีวิตที่พยายามเดินทางข้ามทะเลมิเดเตอร์เรเนียนสูงมากไปกว่านี้

จอห์น ดาลฮุยเซน (John Dalhuisen) ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำภูมิภาคยุโรป และเอเชียกลาง กล่าวว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเสียชีวิตจากการจมน้ำบริเวณชายฝั่งของประเทศลิเบียราว 100 คนต่อสัปดาห์ เหตุการณ์นี้ถือเป็นวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ต้องการความร่วมมือจากยุโรปในทันที ไม่ใช่การบ่ายเบี่ยงและการปฏิเสธ

ผู้คนนับร้อยจมน้ำเสียชีวิตหลังจากที่เรือของพวกเขาล่มบริเวณชายฝั่งประเทศลิเบียเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และเฉพาะในปีนี้คาดว่ามีผู้คนจมน้ำราว 1,600 คน

จอห์น ดาลฮุยเซน กล่าวเพิ่มเติมว่า อียูและผู้นำประเทศยุโรป พูดย้ำอยู่เสมอว่าจะใช้วิธีการแบบองค์รวมในการแก้ปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือกับประเทศต้นทางและประเทศระหว่างทางในการควบคุมการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ตอนนี้สิ่งที่สำคัญกว่าคือความปลอดภัยของผู้ลี้ภัย และผู้อพยพที่ยังคงเดินทางผ่านทะเลมิเดเตอร์เรเนียนเพื่อมาให้ถึงยุโรป และการประชุมในวันนี้ต้องมีข้อเสนอในประเด็นเรื่องมาตรการค้นหา และช่วยชีวิตของยุโรป  

หยุด “ความทรมาน” และ “ความตาย” ที่ชายแดน

“ตอนที่เรือจม ผมหาเพื่อนไม่เจอ ผมถูกถามว่า ‘พวกนั้นอยู่ไหน’ จากนั้นผมจึงเจอ โอมาร์ ส่วนเพื่อนคนอื่นๆ ยังหาไม่พบ ผมพยายามช่วยคนอื่น แต่ก็ทำไม่ได้ โอมาร์และผมช่วยเหลือกันและกัน แต่มันก็เป็นเรื่องยากที่ต้องว่ายน้ำอยู่เป็นชั่วโมง ในน้ำตอนนั้นทุกคนต่างมองหาเพื่อน และครอบครัว”

ผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย โมฮัมหมัด อายุ 21 ปี บอกเล่าประสบการณ์ที่เลวร้ายของเขาในวันที่ 11 ตุลาคม 2556 เมื่อเรือที่เขาโดยสารมาพร้อมผู้คนอีก 400 คน จมลงในทะเลมิเดเตอร์เรเนียนห่างจากเกาะลัมเปดูซา ประเทศอิตาลี ราว 70 ไมล์

นโยบายคนเข้าเมืองของอียูกำลังทำให้หลายชีวิตต้องตกอยู่ในความเสี่ยง

ทุกๆ ปีผู้คนนับล้านทั่วโลกต้องถูกบังคับให้จากบ้านเกิดเมืองนอนเพราะปัญหาความขัดแย้ง การถูกข่มเหงรังแก และความยากจน ในจำนวนผู้คนนับล้านนี้มีแค่คนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นที่ได้ลี้ภัย และมีชีวิตที่ดีขึ้นในสหภาพยุโรป แต่ขณะนี้ประเทศในอียูกำลังมีมาตรการเพิ่มขึ้นในการกันคนกลุ่มนี้ออกไป โดยในไม่กี่ปีที่ผ่านมา อียูกำลังยุ่งอยู่กับการสร้างรั้วทั้งในแบบรูปธรรม และนามธรรม ซึ่งเป็นการเพิ่มเดิมพันที่สูงขึ้นแก่ผู้คนที่สิ้นหวัง และพร้อมที่จะเสี่ยงเดินทางมาที่นี่

ทุกๆ ปีผู้คนนับร้อยต้องจบชีวิตลงจากการพยายามเดินทางมาให้ถึงชายฝั่งของยุโรป และมีผู้คนนับไม่ถ้วนที่ถูกผลักดันกลับด้วยความรุนแรง และติดอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งไม่เคารพสิทธิของพวกเขา

แต่ยังมีหนทางช่วยชีวิตเหลืออยู่

พวกเราขอเรียกร้องให้อียูหยุดการกระทำที่ส่งผลให้ชีวิตผู้คนต้องตกอยู่ในความเสี่ยงจากป้อมปราการที่ถูกสร้างขึ้น โดยมีข้อเรียกร้องให้ผู้นำของอียูคุ้มครองชีวิตและสิทธิของผู้คนแถบชายแดน ดังนี้

  • เพิ่มความแข็งแกร่งของมาตรการค้นหา และช่วยเหลือในทะเลมิเดเตอร์เรเนียน และทะเลอีเจียน ผ่านการร่วมมือกันของทุกประเทศในอียู
  • หาเส้นทางที่ปลอดภัย และถูกกฎหมายในการมายุโรปให้แก่ผู่ที่หลบหนีจากความขัดแย้ง และการถูกข่มเหง เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่ต้องถูกบังคับให้เดินทางในเส้นทางที่อันตรายตั้งแต่แรก และต้องให้พวกเขาได้เข้าถึงการคุ้มครองระหว่างประเทศเมื่อพวกเขาเดินทางมาถึงชายแดนยุโรป
  • ยุติความร่วมมือกับประเทศที่มีรายงานด้านสิทธิมนุษยชนในระดับต่ำ และจำกัดการอพยพเข้าไปในสหภาพยุโรป

ร่วมลงชื่อได้ที่นี่ 

ป้ายคำ: 

  • SOS EU
  • ผู้ลี้ภัย
  • ผู้อพยพ
  • ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • อียู
  • ยุโรป
  • สิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล