Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ตัวเลขและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การทรมานทั่วโลก

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

ตัวเลขและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การทรมานทั่วโลก

วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล แต่ในประเทศไทยมักคุ้นเคยกันนาม “วันต่อต้านการทรมานสากล” ซึ่งประกาศโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาและเชิญชวนให้คนในสังคมหันมาช่วยกันยุติการทรมาน หรือการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี และเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายให้ได้รับความเป็นธรรม วันนี้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงขอเสนอตัวเลขและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การทรมานทั่วโลก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มโครงการการรณรงค์ยุติการทรมานเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิกฤตการทรมานระดับโลก การรณรงค์มุ่งส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากการถูกทรมาน โดยผ่านมาตรการที่หลากหลาย เช่น การตรวจสอบสถานที่ควบคุมตัวโดยหน่วยงานอิสระ การให้ทนายความและศาลเข้าถึงตัวผู้ถูกควบคุมตัวได้ทันที และการสอบสวนตามข้อกล่าวหาว่ามีการทรมานอย่างเป็นอิสระ จนกระทั่งการทรมานถูกกำจัดให้หมดไป

การทรมาน – วิกฤตระดับโลก

ในขณะที่หลายประเทศมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการต่อต้านการทรมาน แต่รัฐบาลทั่วโลกยังคงใช้การทรมานเพื่อรีดข้อมูล บังคับให้รับสารภาพ ข่มขู่ไม่ให้แสดงความเห็นต่าง หรือเพียงเพื่อเป็นการลงโทษที่โหดร้ายในรูปแบบหนึ่ง โดยจากการทำงานวิจัยในประเด็นดังกล่าวทำให้สามารถสรุปตัวเลขได้ดังนี้

157 – จำนวนประเทศซึ่งให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ

141 – จำนวนประเทศซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจัดทำรายงานเกี่ยวกับการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้ายในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ในบางประเทศมีการใช้น้อย แต่บางประเทศก็ใช้อย่างแพร่หลาย แต่เราไม่ยอมรับให้มีการใช้การทรมานแม้เพียงกรณีเดียว

82% – เราพบว่ามีรายงานการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้ายสี่จากห้าประเทศตามข้อมูลในรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี 2557 ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

ตัวเลขการทรมาน

นับแต่เริ่มต้นโครงการรณรงค์ยุติการทรมานเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เผยแพร่รายงานการทรมานในประเทศเม็กซิโก โมร็อคโค ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ และอุเบกิสถาน รายงานเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่าในประเทศเหล่านี้ยังใช้การทรมานอยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่ผู้ทำการทรมานมักลอยนวลพ้นผิดไม่ถูกลงโทษ

1,505 – จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายในเม็กซิโกในปี 2556 เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ถึง600% 

50% ของประชาชนในไนจีเรียรู้สึกเสี่ยงจะถูกทรมานหากถูกควบคุมตัว

21 – จำนวนเหยื่อการทรมานซึ่งเป็นเด็กในฟิลิปปินส์ ที่ให้ข้อมูลกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จากจำนวนเหยื่อการทรมานทั้งหมด 55 คนที่เรามีโอกาสสัมภาษณ์

13 – จำนวนคำร้องที่ผู้ชำนาญการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยื่นเพื่อขอเข้าเยี่ยมประเทศอุเบกิสถาน ทั้งนี้เพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศดังกล่าว นับแต่ปี 2545

8 – จำนวนผู้ที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหลังจากมีร้องเรียนหรือแจ้งความว่ามีการทรมานในโมร็อคโคนับแต่เดือนพฤษภาคม 2557 ในข้อหาต่าง ๆ รวมทั้ง“การปฏิบัติในเชิงดูหมิ่น” “การรายงานข้อมูลเท็จ” “การดูหมิ่นสาธารณะ” และ “การหมิ่นประมาท”

– จำนวนคดีที่ศาลระดับประเทศตัดสินลงโทษในข้อหาการทรมานในเม็กซิโกนับแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีกฎหมายเอาผิดกับการทรมาน ทุกปีมีการแจ้งความหลายพันคดี

0 – จำนวนคดีที่มีการฟ้องภายหลังพระราชบัญญัติต่อต้านการทรมานของฟิลิปปินส์ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2552 

วิธีการทรมานทั่วโลก

เครื่องมือที่แพร่หลายที่มากสุดของการทรมานมีลักษณะแบบพื้น ๆ และโหดร้าย ทั้งการใช้มือ การใช้รองเท้า และการใช้ไม้กระบอง วัตถุใด ๆ ก็ได้ที่ทำให้เกิดบาดแผลหรือกระดูกหัก

ในปัจจุบันมีวิธีการที่ “ทันสมัย” มากขึ้นซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เก็บข้อมูลไว้

เม็กซิโก: “Tehuacanazo” – การฉีดน้ำโซดาย้อนขึ้นไปทางโพรงจมูกของผู้ถูกควบคุมตัว

โมร็อคโค: “ไก่ย่าง” – การผูกเข่าและข้อมือของผู้ถูกควบคุมตัวเข้ากับแท่งเหล็ก จากนั้นมีการพลิกหมุนให้กลับข้าง ทำให้เกิดความตึงอย่างแรงที่บริเวณเข่าและหัวไหล่

ไนจีเรีย: “Tabay” – เจ้าหน้าที่เอาข้อมือผู้ถูกควบคุมตัวผูกไว้ด้านหลัง จากนั้นห้อยตัวลงมา 

ฟิลิปปินส์: “วงล้อการทรมาน” – ตำรวจจะหมุนวงล้อการทรมานเพื่อตัดสินว่าจะใช้วิธีไหนในการทรมาน โดยในแต่ละช่องบนวงกลมแบ่งออกเป็น เช่น“30 วินาทีในท่าค้างคาว” ซึ่งจะมีการจับผู้ถูกควบคุมตัวห้อยหัวลงมา (เหมือนค้างคาว) และ “20 วินาทีในท่าแมนนี่ ปาเกียว” ซึ่งเป็นชื่อของนักมวยที่มีชื่อเสียงของประเทศ หมายถึงการต่อยแบบรัว ๆ เป็นเวลา 20 วินาทีใส่ผู้ถูกควบคุมตัว

อุซเบกิสถาน: การผูกมือและห้อยผู้ถูกควบคุมตัวลงจากเพดาน จากนั้นทำการซ้อม โดยมักมีการผูกมือไพล่หลัง หรือมีการใส่กุญแจมือล่ามไว้กับเครื่องฉายรังสีหรือแท่งเหล็กที่ติดกับผนัง

โครงการรณรงค์ยุติการทรมาน

การรณรงค์ยุติการทรมานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนหลายพันคนร่วมปฏิบัติการทางตรง เริ่มตั้งแต่เมื่อปี 2557 โดยใช้ยุทธวิธีและกิจกรรมที่หลากหลาย และพุ่งเป้าไปที่รัฐบาลห้าประเทศ

2 ล้าน – จำนวนกิจกรรมที่ประชาชนได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ยุติการทรมานนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจดหมายไปจนถึงการร่วมเดินขบวน

340,000 – จำนวนผู้ลงชื่อในจดหมายร้องเรียนที่ส่งไปถึงสำนักงานอัยการสูงสุดของเม็กซิโก เพื่อขอให้มีการสอบสวนอย่างเต็มที่สำหรับคดีของClaudia Medina ซึ่งถูกนาวิกโยธินทรมาน โดยบังคับให้เธอให้การเป็นปรปักษ์กับตนเองและบุคคลอื่นในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

300,000 – จำนวนผู้ลงชื่อในจดหมายร้องเรียนเพื่อขอให้ปล่อยตัว Alfreda Disbarro คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ซึ่งถูกตำรวจฟิลิปปินส์ทรมาน หลังถูกกล่าวหาว่าขายยาเสพติด และเธอปฏิเสธข้อหาดังกล่าว เธอได้รับจดหมายจากผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากจากทั่วโลก เจ้าหน้าที่เรือนจำถึงกับบ่นว่าแทบไม่มีเวลาทำอย่างอื่นนอกจากต้องมานั่งสแกนจดหมายของเธอ

200,000 – จำนวนจดหมายร้องเรียนที่ส่งถึงสถานเอกอัครราชทูตอุเบกิสถานในเมืองต่าง ๆ 12 แห่งในยุโรปเมื่อเดือนตุลาคม 2557 เรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัว Dilorom Abdukadirova นักโทษทางความคิด ซึ่งถูกจับกุมโดยพลการและถูกทรมานระหว่างการควบคุมตัวเพื่อรอการไต่สวน เธอถูกจับช่วงที่เดินทางกลับประเทศหลังจากไปลี้ภัยในต่างแดนระยะหนึ่งเนื่องจากเธอต้องการกลับมาอยู่กับครอบครัว

– แผ่นป้ายขนาดใหญ่ใจกลางกรุงมะนิลาเรียกร้องให้ประชาชนในฟิลิปปินส์ต่อต้านการทรมานของตำรวจเมื่อเดือนธันวาคม 2557 สมาชิกและผู้สนับสนุนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นผู้ออกทุนในการทำโฆษณาดังกล่าว และยังมีการซื้อพื้นที่เพื่อโฆษณาในนิตยสารด้วย

ความก้าวหน้าในการต่อสู้กับการทรมาน

เราสามารถยุติการทรมานได้ ประเทศต่าง ๆ ที่นำหลักการป้องกันไว้ก่อนมาใช้ ทำให้จำนวนคดีและข้อร้องเรียนการทรมานลดลงอย่างมาก การรณรงค์ยุติการทรมานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบว่ามีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อช่วยคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้

21 พฤษภาคม 2557 – ทางการโมร็อคโคได้เริ่มสอบสวนคดีใหม่กรณีการทรมาน Ali Aarrass และสั่งให้มีการตรวจร่างกายซ้ำ ซึ่งเป็นไปตามคำร้องขอของคณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติและแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล การตรวจร่างกายมีขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 โดยใช้เวลาหลายวัน แต่ไม่มีการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระ ซึ่งทั้ง Ali Aarrass และทนายความของเขาต่างยังไม่ได้เห็นรายงานฉบับใหม่ดังกล่าวเลย

15 ตุลาคม 2557 – เม็กซิโกปล่อยตัวผู้เสียหายจากการทรมานชาวฮอนดูรัสและนักโทษทางความคิดที่ชื่อ Ángel Amilcar Colón โดยไม่มีข้อกล่าวหา หลังจากควบคุมตัวเขาไว้ระหว่างรอการไต่สวนกว่าห้าปี ประชาชน 20,000 คนลงนามในจดหมายร้องเรียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

10 ธันวาคม 2557 – ตำรวจไนจีเรียตีพิมพ์คู่มือการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อกำหนดมาตรฐานสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รณรงค์ตั้งแต่ปี 2551 ให้ตำรวจจัดทำแนวปฏิบัติอย่างละเอียดเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามหลักสิทธิมนุษยชนได้

29 พฤษภาคม 2557 – กระทรวงยุติธรรมและอิสระของโมร็อคโคสั่งการให้พนักงานอัยการและศาล สั่งให้มีการตรวจร่างกายกรณีมีผู้ร้องเรียนว่าถูกทรมานและปฏิบัติอย่างโหดร้าย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เตือนว่าแม้จะมีมาตรการเชิงป้องกัน แต่ศาลมักไม่สั่งการใดๆ แม้มองเห็นสัญญาณว่ามีการทรมาน

4 ธันวาคม 2557 – วุฒิสภาฟิลิปปินส์ลงมติให้มีการไต่สวนตามรายงานการทรมานในประเทศของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล การไต่สวนดังกล่าวมีขึ้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2558

3 มิถุนายน 2558 – สภาแห่งชาติของไนจีเรียออกกฎหมายใหม่เพื่อเอาผิดกับการทรมาน เป็นไปตามข้อเรียกร้องในรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการลงนามโดยประธานาธิบดีบูฮารีที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้ง

3 มิถุนายน 2558 – ทางการไนจีเรียปล่อยตัว Moses Akatugba เหยื่อการทรมานชาวไนจีเรียที่ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตจากการใช้อาวุธในการลักทรัพย์ซึ่งประกอบด้วยโทรศัพท์มือถือสามเครื่อง โดยเขาอ้างว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด แต่ต้อง “รับสารภาพ” เนื่องจากถูกทรมานระหว่างการควบคุมตัว ผู้สนับสนุนกว่า 800,000 คนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องต่อ Emmanuel Uduaghan ผู้ว่าการรัฐเดลตาให้ลดโทษประหารชีวิต โดยมีการรณรงค์ผ่านจดหมายและข้อร้องเรียน สุดท้ายผู้ว่าการรัฐยอมให้อภัยโทษต่อโมเสสเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 ซึ่งเป็นหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งสุดท้ายก่อนที่เขาจะลงจากตำแหน่ง

สถานการณ์การทรมานในประเทศไทย

ประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบัน (เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) เมื่อปี 2550 ประเทศไทยมีหน้าที่ต้องดำเนินการแก้ไขด้านบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญา เช่น การบัญญัติให้การทรมานเป็นความผิดตามกฎหมายในประเทศ การให้มีการสืบสวนสอบสวนและลงโทษผู้กระทำความผิดฐานนี้ หรือการกำหนดมาตรการเยียวให้เหยื่อที่ถูกทรมาน 

แม้ว่าไทยเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ทว่าการทรมานยังคงมีอยู่ในสังคมไทย อีกทั้งความเข้าใจในประเด็นนี้ในสาธารณะชนก็ยังอยู่ในวงที่ค่อนข้างจำกัด สาเหตุสำคัญที่ทำให้การปฏิบัติตามพันธะกรณีของไทยเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพคือความบกพร่องของระบบกฎหมาย ทั้งนี้ คำว่า “การทรมาน" ไม่มีตัวตนอยู่ในระบบกฎหมายไทย ในกฎหมายไทยยังไม่มีการให้คำนิยามของการทรมานไว้ การทรมานจึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา จึงไม่สามารถเอาโทษกับผู้กระทำผิดได้

ถึงแม้ “การทรมาน” อาจยังไม่ได้เกิดขึ้นกับเราโดยตรง แต่กลับมีความสำคัญเฉกเช่นประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่พวกเราทุกคนซึ่งยังไม่ได้ถูกริดรอนสิทธิและเสรีภาพไปมากนัก จะได้ใช้เสรีภาพที่เรายังคงมีอยู่นั้น เป็นกระบอกเสียงเพื่อผู้ถูกละเมิด และช่วยปกป้องคุ้มครองพวกเขาตามศักยภาพที่เรามีอยู่

ดังนั้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเชิญชวนร่วมลงชื่อที่ www.amnesty.or.th เพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาดำเนินการแก้ไขกฎหมายอาญาเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี โดยมีข้อเรียกร้องดังนี้

1. บัญญัติให้การทรมานเป็นความผิดทางอาญา
2. กำหนดให้มีการสืบสวนสอบสวนและลงโทษผู้กระทำความผิดฐานนี้ตามมาตรฐานระหว่างประเทศ
3. กำหนดมาตรการเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานและครอบครัว ทั้งทางด้านกฎหมาย ร่างกาย จิตใจและสังคม

ป้ายคำ: 

  • การทรมาน
  • ยุติการทรมาน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • ตัวเลข
  • สถิติ
  • วิธีการทรมาน
  • อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน