Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

จดหมายเปิดผนึกว่าด้วยวิกฤตผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

จดหมายเปิดผนึกว่าด้วยวิกฤตผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1 กรกฎาคม 2558

เรียน รัฐบาลประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ออสเตรเลียและบังคลาเทศ

                 หนึ่งเดือนผ่านไปหลังจาก 17 ประเทศได้มาประชุมร่วมกันที่กรุงเทพฯ เพื่อพูดคุยถึงวิกฤตผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเราจึงเขียนจดหมายมาถึงท่านเพื่อแสดงข้อกังวลอีกครั้ง เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมและการประสานงานระดับภูมิภาคเพื่อร่วมกันแก้ไขวิกฤตที่เป็นอยู่รวมทั้งสาเหตุอันเป็นรากเหง้าของปัญหาซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน  

                การประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย (The Special Meeting on Irregular Migration in the Indian Ocean) ที่กรุงเทพฯ และคำประกาศของรัฐบาลอินโดนีเซียและมาเลเซียว่าจะสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการให้ที่พักพิงชั่วคราวต่อไปกับผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานไม่เกิน 7,000 คน นับเป็นก้าวย่างที่น่ายินดีในการแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นอยู่

                อย่างไรก็ดี มาตรการที่เป็นรูปธรรมและการประสานงานระดับภูมิภาคนั้นก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อตอบสนองต่อหลักการด้านมนุษยธรรมในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ เพื่อรับประกันว่าสิทธิของผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้แสวงหาที่พักพิงจะได้รับการเคารพและคุ้มครอง และเพื่อให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาระดับภูมิภาคในระยะยาวเพื่อจัดการกับต้นตอของวิกฤตที่เกิดขึ้น

พวกเราขอเรียกร้องให้ท่านใช้แนวทางการทำงานระดับภูมิภาคที่มีการประสานงานอย่างเข้มแข็งขึ้น เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และประสานงานการค้นหาและช่วยเหลือชีวิตผู้ที่เสี่ยงภัย

                ตามหลักกฎหมายทะเล กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ รัฐบาลของท่านจะต้องไม่ผลักดันเรือที่พยายามเข้าสู่ดินแดนของท่าน ในทางกลับกัน รัฐบาลของท่านควรให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้นให้สามารถเข้าสู่ชายฝั่งอย่างปลอดภัย โดยจัดสถานที่รองรับตามแนวทางดำเนินงานที่เคยจำแนกและจัดทำไว้ และให้การอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอต่อผู้ที่ถูกช่วยเหลือให้รอดชีวิต

                อีกทั้งท่านยังจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่จะไม่ส่งบุคคลไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงต่อชีวิต หรือไปยังที่ที่พวกเขาอาจเผชิญกับการคุกคามหรือการทรมาน เพราะในบรรดาผู้ที่เข้าสู่ชายฝั่งทางเรือซึ่งประกอบไปด้วยชาวโรฮิงญาจากพม่านั้น พวกเขาอยู่ในฐานะผู้ลี้ภัยและผู้ไร้สัญชาติ ที่จึงจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองในระดับสากล ด้วยเหตุดังกล่าว พวกเราจึงเรียกร้องให้ท่านรับประกันว่าบุคคลผู้แสวงหาที่พักพิงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สถานะผู้ลี้ภัยและได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยการสนับสนุนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Refugees - UNHCR) และได้รับการคุ้มครองชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพระหว่างรอการแก้ปัญหาอย่างถาวร อีกทั้งรัฐบาลยังควรร่วมมือทำงานเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ที่ไม่ต้องการการคุ้มครองระดับสากลและผู้ที่ต้องการกลับบ้านเกิดของตนเองโดยสมัครใจสามารถกระทำในสิ่งที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและอย่างมีศักดิ์ศรี

                นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ พวกเราขอเรียกร้องให้ท่านไม่ควบคุมตัวผู้ลี้ภัยหรือผู้โยกย้ายถิ่นฐานโดยพลการ และให้ใช้แนวทางอื่นเพื่อแก้ปัญหาแทนการควบคุมตัว

                สุดท้ายนี้ แม้การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์จะเป็นเรื่องสำคัญ และควรใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการสอบสวนและฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเหล่านี้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีผู้คนอีกจำนวนมากที่เสี่ยงจะถูกเอารัดเอาเปรียบ เนื่องจากไม่อาจทนรับกับสภาพชีวิตในบ้านเกิดตนเองได้ รัฐบาลประเทศของท่านต้องร่วมมือกันส่งเสริมให้เกิดการแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ที่รากเหง้า เพราะการประชุมสุดยอดที่กรุงเทพฯ ยังคงไม่ครอบคลุมอย่างชัดเจนถึงการเลือกปฏิบัติและการคุกคามอย่างเป็นระบบเป็นเวลานานหลายทศวรรษต่อชาวโรฮิงญาในพม่า

                เมื่อทราบว่าชีวิตของบุคคลกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง รัฐมีพันธกรณีที่จะต้องช่วยเหลือชีวิตของพวกเขา และเมื่อทราบว่าบุคคลมีความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน รัฐก็มีพันธกรณีที่จะต้องคุ้มครองพวกเขา ด้วยเหตุดังกล่าว พวกเราในฐานะผู้อำนวยการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล 16 ประเทศ รวมทั้ง 60,000 รายชื่อที่ร่วมลงนามใน “ปฏิบัติการด่วน” ขอเรียกร้องให้ท่านดำเนินการดังต่อไปนี้อย่างเร่งด่วน

  • ให้การประกันว่าจะมีปฏิบัติการค้นหาและช่วยชีวิต เพื่อจำแนกพิกัดและให้ความช่วยเหลือเรือที่ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อไป
  • ช่วยเหลือให้เรือซึ่งมีผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ชายฝั่งของประเทศที่ใกล้สุดอย่างปลอดภัย และต้องไม่ผลักดันเรือออกไป ไม่คุกคามหรือข่มขู่พวกเขา และให้จำแนกและจัดทำสถานที่รองรับบุคคลเหล่านี้อย่างปลอดภัย และมีการอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ
  • ตอบสนองทันทีต่อความต้องการด้านมนุษยธรรมของผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ทั้งในแง่ของอาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย และบริการด้านสาธารณสุข
  • ให้การประกันว่าบุคคลที่ต้องการที่พักพิงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สถานะผู้ลี้ภัย และจะให้ความเคารพต่อหลักการไม่ส่งกลับ รวมถึงรับประกันว่าจะไม่ส่งตัวบุคคลไปยังสถานที่ใด ๆ รวมทั้งบ้านเกิด กรณีที่เสี่ยงจะถูกละเมิดหรือปฏิบัติมิชอบอย่างร้ายแรงด้านสิทธิมนุษยชน
  • ให้การประกันว่าจะไม่มีการเอาผิดทางอาญากับบุคคล รวมถึงไม่ควบคุมตัวหรือลงโทษเพียงเพราะวิธีการเข้าเมืองของพวกเขา
  • สำหรับประเทศซึ่งยังไม่ได้ให้สัตยาบัน กรุณาให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย (UN Convention relating to the Status of Refugees) และพิธีสารเลือกรับ พ.ศ. 2510 และอนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของบุคคลไร้สัญชาติ (Convention relating to the Status of Stateless Persons) และให้ปฏิบัติตามกฎบัตร นโยบาย และแนวทางปฏิบัติเหล่านี้
  • เรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายุติการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในทางกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา โดยในขั้นแรกโดยทันที พวกเขาควรสามารถเข้าถึงสิทธิด้านสัญชาติอย่างเท่าเทียมตามหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติ

                เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะร่วมกันรับผิดชอบและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเหล่านี้ 

ขอแสดงความนับถือ

ลงชื่อ

Claire Mallinson

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศออสเตรเลีย

Rameshwar Nepal

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศเนปาล

Philippe Hensmans

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศเบลเยียม

Eduard Nazarski

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศเนเธอร์แลนด์

Stephan Oberreit

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศฝรั่งเศส

Grant Bayldon

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศนิวซีแลนด์

Mabel Au

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฮ่องกง

Gemma Regina Cunanan

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศฟิลิปปินส์

Aakar Patel

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศอินเดีย

Manon Schick

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

Hideki Wakabayashi

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศญี่ปุ่น

Piyanut Kotsan

รักษาการผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

Catherine Kim

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศเกาหลีใต้

Bo Tedards

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไต้หวัน

Shamini Darshni

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศมาเลเซีย

Steven W. Hawkins

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศสหรัฐอเมริกา

เอกสารที่เกี่ยวข้อง: 

ป้ายคำ: 

  • ผู้ลี้ภัย
  • จดหมายเปิดผนึก
  • การโยกย้ายถิ่น
  • อาเซียน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล