Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ยุโรปควรต้อนรับผู้ลี้ภัยอย่างไรดี?

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

ยุโรปควรต้อนรับผู้ลี้ภัยอย่างไรดี? 

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องกดดันผู้นำในประเทศยุโรปให้ต้อนรับและสนับสนุนผู้ลี้ภัยเพื่อให้ได้รับสิทธิของตน นี่คือสิ่งที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้อง และเราทุกคนสามารถช่วยกันทำให้ข้อเรียกร้องนี้เป็นจริงได้    

ขณะนี้ ผู้นำสหภาพยุโรปต่างให้ความสำคัญกับภารกิจเร่งด่วนในการรับมือวิกฤตผู้ลี้ภัยในยุโรป หลังมีภาพการเสียชีวิตของของหนูน้อยบนชายหาดในประเทศตุรกีที่เผยแพร่ไปทั่วโลกเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ความเมตตาและความสลดหดหู่ที่มีต่อหนูน้อยอัยลาน เคอร์ดี (Aylan Kurdi) น้อยวัยสามขวบที่เสียชีวิตส่งผลให้พวกเขาต้องเผชิญกับกระแสการประท้วงจากทั่วโลก    

ในปีนี้มีผู้ลี้ภัยกว่า 350,000 คน เดินทางเข้าสู่ยุโรปได้อย่างปลอดภัย แต่ที่น่าเศร้าคือ มีผู้เสียชีวิตเกือบ 2,800 คน ส่วนที่เหลือถูกทุบตี ถูกปฏิบัติมิชอบ พวกเขาต้องเดินเป็นเวลาหลายวันท่ามกลางแดดร้อน ระหว่างที่เดินทางเข้าสู่สหภาพยุโรปพวกเขาแทบไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ แม้แต่น้ำสักขวด

หลายปีที่ผ่านมายุโรปได้สร้างกำแพงสูงขึ้นเรื่อยๆ  ปิดกั้นตนเองอยู่ในรั้วลวดหนามที่มีความยาวหลายกิโลเมตร ทั้งยังมีเจ้าหน้าที่คอยลาดตระเวนบริเวณพรมแดนอีกหลายพันนาย มีการตั้งงบประมาณเพื่อปกป้องพรมแดนในสหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2557-2563 จำนวนมากถึง 2.7 พันล้านยูโร

ป้อมปราการของยุโรปกำลังบีบให้คนเหล่านี้ต้องเลือกเส้นทางการหลบหนีที่เสี่ยงภัยมากยิ่งขึ้น 

 

สิ่งที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องคือการจัดให้มีเส้นทางที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย

เราต้องการให้ผู้นำประเทศในยุโรปเปิดเส้นทางที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย เพื่อให้ผู้ลี้ภัยสามารถเดินทางเข้าสู่สหภาพยุโรปได้ และสามารถแสวงหาที่พักพิงโดยไม่จำเป็นต้องข้ามน้ำข้ามทะเลอยู่ในเรือที่แออัด หรือต้องเดินเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ต้องอุ้มลูกจูงหลานและแบกสัมภาระตามไปด้วย และแทนที่พวกเขาจะต้องนำเงินที่สะสมมาทั้งชีวิตไปจ่ายให้กับนายหน้าพาคนเข้าเมือง พวกเขาควรได้ใช้เงินนั้นเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ในสหภาพยุโรป

มีหลายอย่างที่ประเทศในยุโรปสามารถช่วยให้ผู้ลี้ภัยเดินทางไปถึงที่พักพิงที่ปลอดภัย ซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถทำแบบแยกส่วนได้ ดังนั้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงมีข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในยุโรป ดังนี้  

1. การจัดสรรที่พักพิงสำหรับผู้ลี้ภัย 
เป็นระบบขององค์การสหประชาชาติที่ออกแบบเพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัยกลุ่มที่เสี่ยงภัยมากที่สุด รวมทั้งผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการทรมานและผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน โดยช่วยให้พวกเขาสามารถเดินทางไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ และสามารถดำรงชีวิตในประเทศใหม่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่มักเดินทางโดยเครื่องบิน ในช่วงสองปีข้างหน้าคาดว่าจะมีประชาชน 1.38 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องการการจัดสรรที่อยู่ใหม่ ในขณะที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน พวกเขาย่อมสามารถแบ่งปันพื้นที่เพื่อเปิดประตูรับผู้ลี้ภัยได้อย่างน้อย 300,000 คนภายในสิ้นปี 2560 

2. การให้วีซ่าตามหลักมนุษยธรรม 
ผู้ลี้ภัยจำนวนมากไม่มีเอกสารตามข้อกำหนดที่ใช้ประกอบการขอวีซ่าสำหรับเดินทางแบบปรกติ การจัดให้พวกเขาได้รับวีซ่าตามหลักมนุษยธรรม ทำให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปสามารถช่วยเหลือให้ผู้ลี้ภัยสามารถเดินทางอย่างปลอดภัยและสมัครขอสิทธิที่จะมีที่พักพิงเมื่อเดินทางมาถึงที่หมาย

3. การได้กลับไปอยู่ร่วมกับครอบครัว 
เป็นแนวทางเพื่อให้ผู้ลี้ภัยที่อยู่นอกยุโรปสามารถได้มาอยู่ร่วมกับครอบครัวของตนเองซึ่งตั้งรกรากอยู่แล้วในสหภาพยุโรปได้ เหตุใดเราถึงต้องไปบังคับให้พวกเขาต้องเดินทางอันยาวไกลและเสี่ยงภัย ทั้งๆ ที่พวกเขามีครอบครัวที่ตั้งรกรากอยู่ในยุโรปและสามารถให้ความช่วยเหลือเขาได้อยู่แล้ว? 

มาทำความเข้าใจกับบริบทโดยรวมของยุโรปกัน

ในขณะนี้ ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปซึ่งเป็นด่านหน้าเมื่อผู้ลี้ภัยจำนวนมากเดินทางมาถึง อย่างเช่น ประเทศกรีซ กำลังหาทางรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากการช่วยเหลือให้พวกเขาสามารถเดินทางไปสู่ที่พักพิงอย่างปลอดภัยแล้ว เพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยกันควรช่วยเหลือประเทศที่เป็นด่านหน้าเหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อให้ความสนับสนุน ให้อาหารและที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ที่เพิ่งเดินทางมาถึงและเหนื่อยล้า รวมทั้งการช่วยให้บุคคลเหล่านี้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในกระบวนการแสวงหาที่พักพิง

ทั้งหมดฟังดูเหมือนเป็นสิ่งท้าทาย เราคงต้องทำความเข้าใจกับบริบทโดยรวม ปัจจุบันประเทศตุรกีรองรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียกว่า 1.9 ล้านคน ค่ายผู้ลี้ภัยใหญ่สุดในโลกอยู่ที่เมือง Dadaab ประเทศเคนยา โดยมีผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชาวมาลีประมาณ 350,000 คน และจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เสนอให้ที่พักพิงเพียง 104,410 คนสำหรับผู้ลี้ภัยกว่าสีล้านคนจากซีเรีย 

ยุโรปซึ่งมีประชากรกว่า 500 ล้านคนและมีรายได้ประชาชาติรวมกัน 14 ล้านล้านยูโร ยุโรปจึงควรแบ่งเบาความรับผิดชอบในสัดส่วนที่เป็นธรรมเพื่อช่วยกันแก้ไขวิกฤตด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่สุดในยุคปัจจุบัน

 

คุณจะมีส่วนช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้อย่างไร?

การแสวงหาที่พักพิงเป็นสิทธิมนุษยชน และไม่ควรมีใครที่ต้องเสียชีวิตระหว่างเดินทางไปสู่พื้นที่ที่ปลอดภัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอเชิญชวนร่วมลงชื่อในจดหมายของเราทันที เพื่อแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าท่านยินดีต้อนรับผู้ลี้ภัย 

 

 

 

What can Europe do to welcome refugees?

ป้ายคำ: 

  • ผู้ลี้ภัย
  • ยุโรป
  • ซีเรีย
  • การแสวงหาที่พักพิง
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล