Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

เหตุใดแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงทำงานรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิต

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

เหตุใดแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงทำงานรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิต


แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม

ไม่มีความชอบธรรมใดๆ สำหรับการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้าย เช่นเดียวกับการทรมาน การประหารชีวิตมีลักษณะที่มุ่งทำร้ายทั้งทางกายและใจอย่างสาหัสต่อบุคคล เราไม่สามารถจำแนกปริมาณความเจ็บปวดทางร่างกายที่เกิดขึ้นจากการสังหารบุคคลได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความทรมานทางใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากทราบล่วงหน้าว่าจะต้องถูกรัฐกระทำให้ตาย

โทษประหารชีวิตมีลักษณะเลือกปฏิบัติและมักถูกนำมาใช้กับคนจน ชนกลุ่มน้อยและผู้ที่มีเชื้อชาติ ชาติพันธุ์และศาสนาบางกลุ่ม โดยมีสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม และมีการบังคับใช้และปฏิบัติโดยพลการ 

ความพยายามของรัฐที่จะเลือกอาชญากรรมและผู้กระทำผิดที่ “เลวร้ายมากที่สุด” จากบรรดาการฆาตกรรม ที่เกิดขึ้นหลายพันครั้งในแต่ละปี ย่อมนำไปสู่ความลักลั่นและความผิดพลาดได้ ความบกพร่องต่างๆ ยิ่งเลวร้ายลง เนื่องจากการเลือกปฏิบัติ ความฉ้อฉลในการฟ้องร้องดำเนินคดี และการไม่มีตัวแทนด้านกฎหมายอย่างเพียงพอ ตราบที่ความยุติธรรมของมนุษย์ยังคงมีความบกพร่องอยู่บ้าง เราไม่อาจกำจัดความเสี่ยงที่จะต้องประหารผู้บริสุทธิ์ได้เลย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงยังคงเรียกร้องให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตทั่วโลกอย่างไม่มีเงื่อนไข

การยกเลิกโทษประหารชีวิตชีวิตเป็นการยอมรับว่านโยบายสาธารณะใดที่ไม่สอดคล้องกับคุณค่าร่วมกันของมนุษย์ เป็นเรื่องที่มุ่งทำลายล้างและสร้างความแบ่งแยก นโยบายเช่นนั้นไม่เพียงนำไปสู่ความผิดพลาดที่ไม่อาจแก้ไข แต่ยังทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก ทั้งยังส่งผลกระทบด้านสังคมและจิตใจอีกด้วย ที่ผ่านมาไม่มีตัวอย่างให้เห็นว่าโทษประหารชีวิตจะส่งผลในการยับยั้งไม่ให้เกิดการกระทำความผิดอย่างชัดเจน แต่เป็นการปฏิเสธโอกาสที่จะได้รับการฟื้นฟูและความสมานฉันท์มากกว่า ทั้งยังส่งเสริมการใช้วิธีมักง่ายเพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์ที่ซับซ้อน แทนที่จะมุ่งแสวงหาคำอธิบายปัญหาที่นำไปสู่ยุทธศาสตร์ในเชิงบวก ทั้งยังสร้างความทุกข์ระทมอย่างต่อเนื่องให้กับครอบครัวของเหยื่อจากการฆาตกรรม ทำให้เกิดความทุกข์ต่อบุคคลอันเป็นที่รักของนักโทษประหารชีวิตด้วย เป็นการนำทรัพยากรและพลังงานไปใช้ในทางอื่น ทั้งๆ ที่ควรจะนำมาใช้เพื่อปราบปรามความผิดทางอาญาที่รุนแรงและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ แสดงถึงอาการของวัฒนธรรมความรุนแรง ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาแต่อย่างใด เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีมนุษย์จึงควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต

กล่าวโดยสรุปคือ เหตุผลในการยกเลิกโทษประหารชีวิต เพราะ

  • การประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์คือสิทธิในการมีชีวิตอยู่ ซึ่งมนุษย์ทุกคนพึงได้รับสิทธินี้เสมอกันโดยไม่คำนึงถึงสถานภาพ ชาติพันธุ์ ศาสนา หรือชาติกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นคนดี หรือคนไม่ดี เป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไปจากบุคคลได้
  • การประหารชีวิตทุกวิธีก่อให้เกิดความทรมานต่อนักโทษอย่างแสนสาหัส แม้แต่การฉีดยาพิษเข้าสู่ร่างกาย 
  • ระบบ / กระบวนการยุติธรรมทางอาญาย่อมมีความเสี่ยงที่จะตัดสินผิดพลาด ไม่มีระบบใดที่จะสามารถตัดสินได้อย่างเป็นธรรม สม่ำเสมอ และโดยไม่มีข้อบกพร่อง : การประหารชีวิตที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถเรียกชีวิตกลับคืนมาได้ แม้ในภายหลังจะมีการสอบสวนว่าผู้ที่ถูกประหารชีวิตนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ตาม
  • นักโทษที่ถูกประหารชีวิตส่วนใหญ่ คือ คนยากจน คนด้อยโอกาสซึ่งไม่สามารถว่าจ้างทนายความที่มีความสามารถเพื่อให้ความรู้และแก้ต่างให้กับตนเองได้ 
  • การประหารชีวิตไม่ได้ยับยั้งอาชญากรรมรุนแรง หรือทำให้สังคมปลอดภัยขึ้น แต่ยังส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อสังคม การที่รัฐอนุญาตให้มีการประหารบุคคลแสดงถึงการสนับสนุนต่อการใช้กำลังและการส่งเสริมวงจรการใช้ความรุนแรง

การยกเลิกโทษประหารชีวิต เป็นการที่สังคมเกิดความต้องการ

ให้รัฐหยุดใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ !!!

สังคมควรมีทัศนคติใหม่ต่อผู้ที่กระทำความผิด ไม่ควรคิดว่าพวกเขาเป็นผู้ร้ายที่สมควรได้รับการลงโทษอย่างสาสม แต่ควรคิดว่าพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตทางสังคมเหมือนเช่นเรา พวกเขากระทำความผิดย่อมหมายถึงบางสิ่งบางอย่างในสังคมของเราทำหน้าที่ผิดเพี้ยนไป สิ่งที่เราควรที่จะคิดกระทำไม่ใช่การ “กำจัด” พวกเขาให้ออกไปจากสังคม แต่เราควรที่จะคิดหาต้นตอของปัญหา ฟันเฟืองที่ทำงานผิดพลาดเพื่อหาวิธีการแก้ไข ไม่เช่นนั้นสักวันหนึ่งระบบสังคมของเราอาจล้มเหลว และเราอาจมีจุดจบไม่ต่างไปจากผู้กระทำความผิด (ความรุนแรงซ่อนหาสังคมไทย, 2553)

 

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • สิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล