Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

โทษประหารชีวิตคำถามและคำตอบ

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

โทษประหารชีวิตคำถามและคำตอบ

คนที่ก่ออาชญากรรมร้ายแรงหรือคนที่ฆ่าคนอื่นก็สมควรแล้วที่ต้องตายตกไปไม่ใช่หรือ?

เราไม่อาจใช้การประหารชีวิตเพื่อลงโทษการฆ่าคนได้ พฤติการณ์ของรัฐเช่นนั้นเป็นกระจกสะท้อนถึงเจตจำนงของอาชญากรที่จะใช้ความรุนแรงทางกายต่อผู้เสียหายเช่นกัน นอกจากนั้น ระบบยุติธรรมทางอาญาใดๆ ก็เสี่ยงที่จะเกิดการเลือกปฏิบัติและมีข้อผิดพลาดได้ทั้งนั้น ไม่มีระบบใดสามารถตัดสินหรือจะตัดสินว่าใครจะอยู่หรือใครจะตายอย่างเป็นธรรมอย่างสมํ่าเสมอและไม่มีข้อบกพร่องเลย การเร่งรัดคดีการตัดสินใจโดยใช้อัตวินิจฉัยและความเห็นของสาธารณะอาจมีอิทธิพลต่อขั้นตอนปฏิบัติตั้งแต่การจับกุมในเบื้องต้นไปจนถึงวินาทีสุดท้ายของการขออภัยโทษ

โดยสาระแล้ว สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไปได้ เป็นสิทธิที่บุคคลทุกคนพึงมีอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมีสถานภาพ ชาติพันธุ์ ศาสนา หรือชาติกำเนิดอย่างใด เป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไปจากบุคคลใดไม่ว่าบุคคลนั้นได้ก่ออาชญากรรมอย่างไรขึ้นมาก็ตาม ตั้งแต่คนที่เลวสุดและคนที่ดีสุดล้วนมีสิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น โดยเป็นสิทธิที่คุ้มครองเราทุกคน ช่วยรักษาชีวิตของเราไว้

นอกจากนั้น ประสบการณ์ชี้ให้เห็นว่าเมื่อมีการใช้โทษประหารชีวิต จะต้องมีบางคนที่ถูกสังหาร ในขณะที่บางคนที่ก่ออาชญากรรมคล้ายคลึงกันหรือร้ายแรงกว่ากลับรอดตัวไป นักโทษที่ถูกประหารอาจไม่ใช่ผู้ก่ออาชญากรรมร้ายแรง ในเบื้องต้นก็ได้ แต่อาจเป็นผู้ที่ยากไร้และไม่สามารถว่าจ้างทนายความฝีมือดีๆ มาแก้ต่างให้กับตนเอง หรืออาจเป็นเพราะต้องเจอกับพนักงานอัยการหรือศาลที่ไม่เป็นธรรมก็ได้

ไม่มีความจำเป็นเลยหรือที่จะต้องประหารนักโทษบางคนเพื่อป้องกันไม่ให้เขากระทำความผิดซํ้าอีก?

การใช้โทษประหารชีวิตเพื่อป้องกันการกระทำผิดซํ้าเป็นการใช้เครื่องมืออย่างหยาบๆ เพราะในทางปฏิบัติแล้วเราใช้โทษประหารชีวิตกับนักโทษที่อยู่ระหว่างการคุมขัง ซึ่งนักโทษเหล่านั้นอยู่ในเรือนจำและถูกแยกตัวออกมาจากสังคมอยู่แล้ว ยากนักที่นักโทษคนดังกล่าวจะก่อความรุนแรงในสังคมได้อีก การใช้โทษประหารชีวิตเพื่อเป็นมาตรการเชิงป้องกันจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็น

ต่างจากการคุมขัง โทษประหารชีวิตอาจนำไปสู่ความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมที่ไม่อาจเยียวยาแก้ไขได้อีก มีความเสี่ยงเสมอที่ผู้ต้องขังบางคนซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์อาจถูกประหาร และโทษประหารชีวิตจะไม่ช่วยป้องกันพวกเขาจากการกระทำผิดซํ้าอีก ซึ่งจริงๆ เขาไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดตั้งแต่ต้นด้วยซํ้า

เราไม่สามารถประเมินได้ว่าผู้ที่ต้องโทษประหารชีวิตจะกระทำผิดซํ้าจริงๆ อีกหรือไม่ เพราะการประหารชีวิตเป็นการพรากชีวิตนักโทษ ซึ่งในทางทฤษฎีย่อมทำให้เขาไม่มีโอกาสกระทำความผิดซํ้าอีกอย่างแน่นอน ทั้งยังเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการฟื้นฟูแก้ไขผู้กระทำความผิด

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • สิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล