Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้เรียกร้องทางการมาเลเซียยกเลิกข้อกล่าวหาซูนาร์นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้เรียกร้องทางการมาเลเซียยกเลิกข้อกล่าวหาซูนาร์นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง

                เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่ผ่าน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการมาเลเซียยกเลิกข้อกล่าวหาที่มีแรงจูงใจทางการเมือง (เขาถูกตั้งข้อหา 9 ข้อหาตามพ.ร.บ.ปลุกระดมหลังทวีตวิจารณ์รัฐ) ต่อนักเขียนการ์ตูนซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศในทันที ซึ่งเขาอาจต้องโทษจำคุกเป็นเวลานานเนื่องจากโพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์

                ซูลกีฟลี อันวาร์ อัลฮาฆี (Zulkiflee Anwar Ulhaque) หรือที่มักรู้จักกันในนามปากกาว่าซูนาร์ (Zunar) ต้องข้อหาเก้าข้อตามพระราชบัญญัติปลุกระดม (Sedition Act) ของมาเลเซียที่ให้อำนาจรัฐอย่างกว้างขวาง โดยกฎหมายนี้มีมาตั้งแต่สมัยอาณานิคมและรัฐบาลใช้เพื่อคุกคามและปราบปรามนักวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งข้อหาต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับข้อความที่ซูนาร์ส่งทางทวิตเตอร์หลายครั้งเพื่อวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หลังจากนายอันวาร์อิบราฮิม ผู้นำพรรคฝ่ายค้านถูกศาลสั่งจำคุกข้อหามีเพศสัมพันธ์โดยวิตถารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558

                 โจเซฟ เบเนดิกต์ (Josef Benedict ) ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า การข้อหาทั้งหมดต่อซูนาร์มีแรงจูงใจทางการเมืองอย่างชัดเจนและทางการมาเลเซียต้องยกเลิกข้อหาเหล่านี้ทันที หลายปีที่ผ่านมา ซูนาร์ชี้ให้เห็นถึงปัญหาทุจริตและการกดขี่ของรัฐบาลผ่านภาพการ์ตูนของเขา และการกระทำของเขาได้ส่งผลให้เขาต้องถูกลงโทษ

                “เป็นเรื่องที่เหลวไหลมากที่ซูนาร์อาจต้องติดคุกหลายสิบปีเพียงเพราะโพสต์ข้อความเหล่านี้ในทวิตเตอร์”

                หลายปีที่ผ่านมา ซูนาร์ได้ตกเป็นเป้าของการคุกคามโดยทางการมาเลเซีย เขาเคยถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นหลายครั้ง อีกทั้งยังมีการข่มขู่และคุกคามสำนักพิมพ์และร้านจำหน่ายการ์ตูนของเขาอีกด้วยโดยทางการได้ส่งเจ้าหน้าที่บุกตรวจค้นสถานที่เหล่านี้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

                การพิจารณาคดีมีขึ้นท่ามกลางการปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออกอย่างกว้างขวางของทางการมาเลเซีย โดยมีการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติปลุกระดมและตั้งแต่ต้นปี 2558 ทางการได้จับกุมหรือตั้งข้อหาบุคคลประมาณ 100 คนตามพระราชบัญญัติปลุกระดม ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีแค่ 29 คน

                “การปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออกโดยใช้พระราชบัญญัติปลุกระดม ยังไม่มีทีท่าจะลดลง ทางการมาเลเซียต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง แทนที่จะเอากฎหมายโบราณมาใช้เพื่อคุมขังและคุกคามผู้วิพากษ์วิจารณ์” โจเซฟกล่าว

                ในปีนี้กรณีของซูนาร์เป็นหนึ่งใน 12 เคสทั่วโลก ที่มีการรณรงค์ผ่านกิจกรรมเขียนจดหมายรัก(ษ์)สิทธิ (Write for Rights) ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-17 ธันวาคม กิจกรรมนี้ถือเป็นการรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนครั้งใหญ่ที่สุดของโลกเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน มีผู้สนับสนุนและนักกิจกรรมของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลหลายแสนคนจากทั่วโลก ที่จะร่วมกันเขียนจดหมายออนไลน์ และส่งจดหมายเพื่อเรียกร้องทางการมาเลเซียให้ยกเลิกข้อหาต่อซูนาร์

ข้อมูลพื้นฐาน

                ตั้งแต่ปี 2556 ทางการมาเลเซียได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติปลุกระดม พ.ศ.2491 เพิ่มมากขึ้น โดยกฎหมายนี้ได้ให้อำนาจอย่างกว้างขวางและเดิมใช้เพื่อปราบปรามผู้เรียกร้องเอกราชให้มาเลเซีย อีกทั้งกฎหมายนี้ยังเคยถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อปราบปรามของเจ้าอาณานิคม ในเดือนเมษายน 2558 รัฐสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับนี้ในลักษณะที่อื้อฉาว โดยมีการขยายอำนาจของกฎหมายให้ครอบคลุมสื่ออิเลคทรอนิกส์ และให้อำนาจรัฐบาลอย่างกว้างขวางเพื่อจับกุม ควบคุมตัว และกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นสำหรับผู้วิพากษ์วิจารณ์

                ผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติปลุกระดมที่ได้รับการแก้ไขใหม่อาจต้องโทษจำคุก 3 ถึง 20 ปีดังนั้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงมีความกังวลเกี่ยวกับกฎหมายนี้ เพราะมีการเอาผิดทางอาญากับการกระทำหลายประการ อีกทั้งยังเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งมีการรับรองไว้ในข้อ 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และยังรับรองไว้ตามมาตรา 10 ของรัฐธรรมนูญมาเลเซียอีกด้วย

Malaysia: Drop charges against cartoonist for tweets

ป้ายคำ: 

  • มาเลเซีย
  • ซูนาร์
  • ทวิตเตอร์