Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ชี้ คำพิพากษา ผอ.สื่อออนไลน์มีความผิด สร้างบรรทัดฐานที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อเสรีภาพการแสดงออก

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

ใบแถลงข่าว (คำแปล)

23 ธันวาคม 2558

แอมเนสตี้ชี้ คำพิพากษา ผอ.สื่อออนไลน์มีความผิด

สร้างบรรทัดฐานที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อเสรีภาพการแสดงออก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกแถลงการณ์ เผยกรณีศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ผู้อำนวยการสำนักข่าวออนไลน์ประชาไทมีความผิด นับเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อการแสดงออกทางความคิดเห็น โดยเฉพาะการแสดงออกบนโลกออนไลน์ คำพิพากษาดังกล่าวก่อให้เกิดบรรยากาศที่เลวร้ายที่สุดอีกครั้งหนึ่งต่อเสรีภาพในการแสดงออก 

ในวันนี้ศาลฎีกาออกคำพิพากษายืนตามคำตัดสินของศาลชั้นต้นเมื่อปี 2555 ว่า นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการสำนักข่าวออนไลน์ประชาไทมีความผิดฐานไม่ลบข้อความที่ผู้ใช้บริการของประชาไทโพสต์บนเว็บไซต์ ซึ่งทางการเห็นว่าเป็นความเห็นที่ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ภายหลังคำตัดสินดังกล่าว ประชาไทได้ยกเลิกช่องทางการแสดงความคิดเห็นบนเว็บบอร์ดออนไลน์ดังกล่าวลงแล้ว ตั้งแต่ปี 2555

นอกจากนี้ ศาลฎีกายังได้พิจารณา ตามคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ ให้นางสาวจีรนุชได้รับโทษจำคุกหนึ่งปี โดยรอลงอาญา และปรับ 30,000 บาทตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 แต่เนื่องจากจำเลยให้ความร่วมมือในการพิจารณาคดี ศาลจึงลดโทษให้เหลือจำคุกแปดเดือน และปรับ 20,000 บาท  

ฟิลิป ลูเธอร์ (Philip Luther) รักษาการผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายงานวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า คำพิพากษาดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความกลัวของทางการที่จะอนุญาตให้มีการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ได้อย่างเสรี และความต้องการที่จะข่มขู่ให้สื่อหวาดกลัว เพื่อไม่ให้สื่อออกอากาศหรือสนับสนุนให้มีการแสดงความเห็นทางการเมือง ความจริงแล้ว จีรนุชไม่ควรจะต้องถูกนำเข้ากระบวนการยุติธรรมเลยด้วยซ้ำ การแสดงความเห็นที่ ‘ทำให้เกิดความขุ่นเคือง’ ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ควรถูกห้ามตั้งแต่แรก ทั้งนี้ไม่นับว่านี่เป็นการเสดงความเห็นโดยบุคคลอื่น

“คำพิพากษาคดีของจีรนุชควรถือว่าเป็นโมฆะทันที ประชาไทมีผลงานที่เข้มแข็งในการทำให้สาธารณะชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและการนำเจ้าหน้าที่มาอธิบายถึงความผิดหรือข้อผิดพลาดในการทำงานที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สมควรได้รับการสนับสนุน ไม่ใช่ถูกกดขี่ปราบปราม

“คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในวันนี้ชี้ชัดว่า ทางการไทยได้ใช้กฎหมายหลายฉบับโดยมิชอบ เพื่อบังคับไม่ให้มีการแสดงความคิดเห็น และเพื่อกดดันให้เกิดบรรยากาศที่สื่อจะต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง นับตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 เป็นต้นมา ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและสื่อมวลชนต้องดำเนินงานภายใต้บรรยากาศที่มีการปิดกั้นแบบรอบด้านเพิ่มมากขึ้น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและสื่อมวลชนเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันจากเจ้าหน้าที่ ที่ต้องการให้พวกเขาให้ความร่วมมือในการไม่เสนอความคิดเห็นที่ทางการไม่เห็นพ้อง”

จีรนุชเป็นบุคคลแรก ๆ ที่ถูกตัดสินลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านมาทางการไทยได้ใช้กฎหมายที่มีเนื้อหากำกวมนี้ คุมขังนักโทษทางความคิดที่แสดงความเห็นบนโลกออนไลน์อย่างสันติ

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่บกพร่องซึ่งได้กลายเป็นอาวุธอีกชิ้นหนึ่งที่ทางการใช้ในการปราบปรามเสียงที่เห็นต่างให้เงียบหายไป กฎหมายนี้ควรถูกยกเลิกทันทีหรือให้มีการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” ฟิลิป ลูเธอร์กล่าว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้ทางการไทยยุติการปราบปรามการแสดงความเห็นอย่างสันติบนโลกออนไลน์ นับตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 บุคคลหลายสิบคนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเนื่องจากแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ทางการยังข่มขู่ที่จะดำเนินคดีกับประชาชนที่คลิก ‘ไลค์’ ข้อความในเฟซบุ๊ก อย่างต่อเนื่อง

///


AMNESTY INTERNATIONAL
PRESS RELEASE
23 December 2015


Thailand: Guilty verdict against online news director sets appalling precedent for free speech 

The Thai Supreme Court’s decision to uphold a guilty verdict against the director of an online news site sets an appalling precedent for freedom of expression - particularly online - in a climate where official contempt for free speech has hit new lows, Amnesty International said.

The Supreme Court today upheld the guilty 2012 verdict by the Court of First Instance against Chiranuch Premchaiporn, director of independent news site Prachatai (“Free People”), for not removing comments from the website which authorities characterised as insulting to the monarchy. Since the verdict in 2012, Prachatai has suspended its online forum. 

The Supreme Court also upheld Chiranuch Premchaiporn’s punishment of a one-year suspended prison sentence and a fine of 30,000 Baht (USD830) under the Computer Crimes Act in May 2012, reduced to eight months’ imprisonment and a 20,000 Baht (USD550) for cooperation.

“This is a chilling verdict that clearly shows the authorities’ fear of allowing free speech online, and their desire to scare the media from both airing and facilitating political opinions. Chiranuch should never have had to face trial at all– the ‘offending’ comments responsible should not be prohibited in the first place, let alone when they are posted by someone else,” said Philip Luther, Amnesty International’s acting Senior Director for Research.

“The verdict in Chiranuch’s case should promptly be overturned. Prachatai has a strong track record of providing the public with information and holding officials to account – this should be encouraged, not repressed.

“Today’s Supreme Court decision highlights how the Thai authorities are using and abusing a range of laws to enforce direct censorship and impose a climate of self-censorship. Since the military coup in 2014, internet service providers and media outlets have operated under increasingly sweeping restrictions. They are under pressure from authorities to cooperate and steer clear of comments deemed unfavourable.” 

Chiranuch was among the first to be sentenced under the Computer Crimes Act. The Thai authorities have used the ambiguously worded law to lock up prisoners of conscience for peaceful online comment.

“The Computer Crimes Act is a flawed piece of legislation that has become another weapon in the authorities’ arsenal to silence dissent. It should repealed immediately or amended and brought into line with international human rights law and standards,” said Philip Luther.

Amnesty International urges the Thai authorities to desist from their current crackdown on peaceful self-expression on the web. Dozens have been prosecuted for comments about the monarchy since the 2014 military coup, while officials continue to threaten people with prosecution for simply “liking” certain Facebook posts. 

Public Document 
**************************************** 
For more information please call Amnesty International's press office in London, UK, on 
+44 20 7413 5566 or +44 (0)777 847 2126 
email: press@amnesty.org twitter: @amnestypress 
International Secretariat, Amnesty International, 1 Easton St., London WC1X 0DW, UK

ป้ายคำ: 

  • จีรนุช เปรมชัยพร
  • ประชาไท
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์