Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

เสียงสะท้อนของเจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2558

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

เสียงสะท้อนของเจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2558

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่แนล ประเทศไทย ได้จัดได้จัดพิธีมอบ “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2558 โดยแชมพา พาเทล รักษาการผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกเป็นผู้มอบรางวัลให้แก่สื่อมวลชน และยังจัดให้มีการปาฐกถาในหัวข้อ “สื่อคือแสงสว่างในความมืด?” โดย นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และนางสาวศุภรา จันทร์ชิดฟ้า อดีตนักข่าวหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ และเคยได้รับรางวัลผู้สื่อข่าวด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่นจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ประเทศไทย

แชมพา พาเทล รักษาการผู้อำนวยการประจำสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวถึงบทบาทของสื่อมวลชนว่ามีความสำคัญในการปกป้องสิทธิมนุษยชน และหวังว่ารางวัลนี้จะช่วยส่งเสริมให้สื่อมวลชนมีความเข้าใจต่อปัญหานี้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังแสดงความยินดีกับสื่อมวลชนที่ได้รับรางวัล และขอบคุณที่สื่อมวลชนไทยให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน สะท้อนผ่านผลงานที่ได้รับรางวัลในปีนี้ ที่มีทั้งสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญา มีงานที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการค้ามนุษย์ การอพยพทางเรือที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งงานสารคดีเชิงข่าวที่สร้างความเข้าใจถึงที่มาปัญหาของชาวโรฮิงญาและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมไปถึงงานปกป้องสิทธิมนุษยชนให้กับคนชายขอบ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและความขัดแย้งทางการเมืองด้วย

 

ชุติมา ซุ้นเจริญ เจ้าของผลงานสารคดีเชิงข่าว “หมอชายแดนแสงสุดท้ายคนชายขอบ” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ รางวัลดีเด่นประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับชาติ

“ก่อนอื่นก็คงต้องขอบคุณหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจนะคะที่เปิดพื้นที่ให้คนชายชอบ คนเล็กคนน้อยมาตลอด ก็อยากจะขอบคุณแอมเนสตี้ที่สนับสนุนการทำงานของสื่อที่สนใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน อย่างที่คุณศุภราบอก การทำงานนำเสนอของประเด็นคนชายขอบ ความยากนอกจากการที่จะต้องไปลงพื้นที่ ไปเจอกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง วัฒนธรรมที่แดกต่างแล้วก็ปัญหาที่ดูซับซ้อนแล้วก็อาจจะสะเทือนใจบ้างในบางโอกาสและมีความยากในการนำเสนอและยืนยันความสำคัญของประเด็นนี้ต่อบรรณาธิการเพื่อให้เกิดการยอมรับว่าเรื่องนี้มันสำคัญเพียงพอที่จะทำ เพราะว่าหลายๆ ครั้งประเด็นของคนเล็กคนน้อย มักดูเล็กน้อยสำหรับคนทั่วไป ถึงแม้ว่าคนทำงานสิทธิมนุษยชนทุกคนจะคิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ สุดท้าย บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเราถึงได้มาทำประเด็นเรื่องเหล่านี้ อยากจะบอกว่าความคาดหวังที่มาทำประเด็นสิทธิมนุษยชนสิ่งที่อยากเห็นคือ อยากเห็นคนในสังคมนี้เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน อยากเห็นการยอมรับการแตกต่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นชาติพันธุ์ เพศสภาพ ศาสนา หรือแม้แต่ทางการเมือง"

 

นันท์ชนก วงษ์สมุทร เจ้าของผลงาน สารคดีเชิงข่าว “Military mind games play out under strict insecurity” หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รางวัลดีเด่นประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับชาติ

“ถือว่าเป็นครั้งที่สองแล้วที่ดิฉันเข้าชิงรางวัลสิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จริงๆ แล้วต้องขอขอบคุณทางบรรณาธิการของบางกอกโพสต์ที่ให้เสรีภาพกับดิฉันในการทำงานมาโดยตลอด บทความนี้เป็นบทความที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการเข้ายึดอำนาจของทาง คสช. นั่นก็คือการปรับทัศนคติของบุคคลต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของ คสช. ทั้งหลาย ซึ่งถ้าดูตัวเลขจาก iLaw ปีที่แล้วมีทั้งหมด 800 กว่าคนที่ถูกเรียกให้ไปรายงานตัว โดยที่การปรับทัศนคตินั้นจะมีหลายกรณีที่ไม่เป็นไปตามกฏหมาย ยกตัวอย่าง เช่น อาจจะเป็นการซ้อมทรมาน หรือว่าจะเป็นการข่มขู่ ซึ่งจากการที่ดิฉันได้สัมภาษณ์ บุคคลต่างๆ นั้นทุกคนล้วนบอกว่าการปรับทัศนคติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะทำให้เขาเปลี่ยนความคิดเห็นได้ สุดท้ายนี้ดิฉันก็ต้องขอขอบคุณทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลที่จัดงานนี้ขึ้นมาเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับคนที่ทำหน้าที่สื่อให้ผลิตข่าวที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่อไปค่ะ”

วริษฐา ภักดี เจ้าของผลงานข่าว “สิทธิชุมชนคนแม่เมาะการต่อสู้ที่ยังไม่สิ้นสุด”  หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ รางวัลดีเด่นประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น

“ต้องขอบคุณคณะกรรมการตัดสินรางวัลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยที่มองเห็นผลงานและคุณค่าของหนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ที่ส่งมาในครั้งนี้ ผลงานข่าวนี้เป็นผลงานที่ลานนาโพสต์ได้ติดตามมาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องของชุมชนเล็กๆ ของคนแม่เมาะ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นตำนานของชุมชนที่ต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชน จนมาถึงวันนี้ดูเหมือนว่าการต่อสู้ของเขาจะถึงจุดหมายปลายทาง แต่ว่าการต่อสู้ของพวกเขาจะต้องเดินทางไปอีกไกล ขอบคุณแอมเนสตี้มากค่ะที่ให้โอกาส ลานนาโพสต์เล็งเห็นตลอดเวลาว่า ไม่ว่าเราจะเป็นสื่อเล็กหรือสื่อน้อยหรือสื่อใหญ่ เราไม่ได้มีหน้าที่ในการตอบสนองข่าวเพื่อความอยากรู้ของประชาชนอย่างเดียว แต่เราต้องทำงานข่าวตามจริยธรรมของสื่อด้วย”

กิตติ วงศ์รัตนาวุธ เจ้าของผลงานข่าว “พลังมวลชนต้านโรงไฟฟ้าชีวมวล หนังสือพิมพ์ปักษ์ใต้ทูเดย์” รางวัลชมเชยประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น

“ขอบคุณแอมเนสตี้ ขอบคุณพี่ๆ น้องๆ สื่อมวลชนทุกท่านครับ ผมกิตติ วงศรัตนาวุธ จากหนังสือพิมพ์ปักษ์ใต้ทูเดย์โพส ขอบคุณที่ให้เกียรติหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกับการเขียนเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดพังงา ปักษ์ใต้ทูเดย์นั้นเกาะติดสถานการณ์กับนายทุนที่เริ่มที่จะคุกคามในการก่อสร้าง ในขณะเดียวกันพี่น้องชาวจังหวัดพังงาและพี่น้องชาวข้างเคียงนั้นมากกว่าครึ่งหมื่นคนที่ร่วมกันต่อต้านเพื่อที่จะให้เกิดมลพิษในท้องถิ่นเรา จึงใช้เวลาไม่น้อยกว่าสองเดือนเต็มๆ กับการเกาะติดสถานการณ์นี้ สู้กับอดีต ส.ว. สู้กับสมาชิกองการณ์บริหารส่วนตำบล รวมทั้ง ส.จ.ที่นั่น ดีใจมากๆ ตื่นเต้นมากที่ในวันนี้ได้เล็งเห็นและก็ให้ความสำคัญกับสื่อท้องถิ่น ขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ตื้นตันใจครับ”

 

เอกสุภา วงษ์แก้วจันทร์ บก.เฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ เจ้าของผลงานข่าว “รายงานพิเศษเปิดโปงกลจับแพะ แฉสารพัดทรมานโหด” ไทยรัฐออนไลน์ รางวัลดีเด่นประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือสื่อออนไลน์

“ขอบคุณสำหรับรางวัลนะครับ ในปีที่ผ่านมารวมทั้งปีสื่อเราถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างหนักจากประชาชนว่า ละเลยสิ่งที่สื่อมวลชนควรกระทำ นั่นก็คือการเป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชนนะครับ แต่ณ วันนี้จากผลงานทุกท่าน ผมเชื่อว่าเราได้ตอบคำถามนั้นกับประชาชนได้แล้ว”

อัสดง โตะดง เจ้าของผลงาน ข่าว “รายงานพิเศษ เพราะประวัติศาสตร์“ปาตานียุคใหม่”เริ่มต้นที่นี่? จึงต้องบูรณะบ้าน-สุเหร่า“หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" เว็บไซด์ Deep South Watch  รางวัลชมเชยประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือสื่อออนไลน์

“ขอความสันติสุขจงมีแต่กับท่านนะครับ ขอบคุณเจ้าหน้าที่แอมเนสตี้ที่โทรให้เราส่งข่าว แล้วก็ขอบคุณที่ทำให้เราได้รับรางวัลในครั้งนี้นะครับ เราคิดว่าการทำงานของเราในพื้นที่ ในพื้นที่ของความขัดแย้ง เราไม่ได้หวังอะไรเลย เราหวังแค่ว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นในดินแดนปัตตานี หรือว่าในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คิดว่ารางวัลอันนี้คงจะเป็นกำลังใจเล็กๆ สำหรับสื่อในพื้นที่ คิดว่ามันทำให้เรามีกำลังใจในการทำงานในพื้นที่มากยิ่งขึ้นครับ เพื่อสันติภาพในอนาคต”

นันทพร ทาวะระ เจ้าของผลงาน สารคดีเชิงข่าว “เอดส์...ที่ยืนของคนชายขอบ”  เว็บไซด์ไทยรัฐออนไลน์ รางวัลชมเชยประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือสื่อออนไลน์

“ขอบคุณสำหรับการพิจารณาในวันนี้ หลังจากที่ลงพื้นที่ที่ศูนย์พักพิงผู้ติดเชื้อเอดส์ โคกร้าง จ.ร้อยเอ็ด เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ผู้ติดเชื้อเอดส์ยังรอคอยความช่วยเหลือจากพวกเราจริงๆ แล้วเรื่องของสิทธิมนุษยชนไม่อยากให้เป็นเรื่องที่อยู่แค่ในหนังสือ อยากจะให้ข่าวชิ้นนี้สะท้อนออกมาให้เห็นว่าพวกเขายังเป็นคนที่ยังมีสิทธิมีเสียงเหมือนพวกเราทุกคนและยังต้องการจุดยืนในสังคม ไม่ใช่เป็นแค่คนชายขอบ”

ฐปณีย์ เอียดศรีไชย  เจ้าของผลงานข่าว “เรือมนุษย์โรฮิงญา” สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3 รางวัลดีเด่นประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล

“ขอขอบคุณแอมเนสตี้นะคะสำหรับรางวัลชิ้นนี้ จริงๆ ก็เป็นคนไม่ได้ส่งงานประกวดสักเท่าไหร่แต่ว่า งานชิ้นนี้ก็ตั้งใจส่งไม่ใช่เพื่อเกียรติประวัติของตัวเอง แต่อยากให้เป็นเกียรติประวัติของผู้คนในเรือลำนั้นที่เราเรียกว่าเรือมนุษย์โรฮิงญา ข่าวชิ้นนี้ก็อย่างที่ทุกคนทราบว่าเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ขึ้นมากมายในสังคมไทย เบื้องหลังกว่าจะได้ข่าวชิ้นนี้มาถ้าจะเล่าก็อาจจะเยอะมากกับสิ่งที่ต้องเผชิญ ไม่เฉพาะเรื่องการลอยลำอยู่กลางทะเลซึ่งอาจจะเป็นเวลาแค่ 18 ชั่วโมงเท่านั้นที่ทำข่าวนี้ แต่ถ้าเทียบกับการที่เขาต้องล่องเรืออยู่สามเดือนกลางทะเลอาจจะน้อยนิด แต่สิ่งที่จะต้องฝ่าฝันหลังจากการทำข่าวชิ้นนี้ก็มีหลายอย่างที่อาจจะยากเย็นอยู่มาก ทั้งเรื่องของการที่จะให้ข่าวชิ้นนี้ออกอากาศได้ก็ถูกแรงกดดันหลายอย่างที่บางเรื่องอาจจะไม่สามารถเปิดเผยได้ ในเรื่องของการถูกแทรกแทรกแซงต่างๆ

สุดท้ายข่าวชิ้นนี้ก็สามารถออกอากาศได้ ด้วยการทำความเข้าใจและบอกกับผู้เกี่ยวข้องว่า ยังไงก็อยากให้ภาพข่าวชิ้นนี้ได้ออกอากาศสู่สายตาผู้คนด้วยเหตุผลที่ว่า เราไม่สามารถที่จะละเลยกับภาพของชีวิตหรือความตายที่อยู่ตรงหน้าได้ เป้าหมายคือให้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือและก็มีชีวิตรอดในสิ่งที่พวกเขาอยากจะเดินทางไป และที่สำคัญหลังจากที่ข่าวนี้ออกอากาศไป แน่นอนก็เกิดปรากฏการณ์หลายๆ อย่างขึ้นในสังคมเกิดกระแสการวิพากย์วิจารณ์การต่อต้านโรฮิงญา หรือแม้กระทั่งส่วนตัวที่ถูกวิพากย์วิจารณ์เรื่องการทำหน้าที่สื่อ เรื่องของคำครหาที่ว่าเป็นนักข่าวดราม่าซึ่งก็แน่นอนเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับในเรื่องของการทำหน้าที่ เราต้องทบทวนว่าเราจะทำหน้าที่ของเราต่อไปอย่างไร เรื่องของเหตุการณ์เรื่องของความรู้สึก ข้อเท็จจริงต่างหากคือสิ่งที่เราจะต้องนำเสนอและหน้าที่ของสื่อที่สำคัญมากกว่านั้นคือ ทำอย่างไรที่เราจะต้องให้ความรู้กับผู้คนให้เข้าใจถึงปัญหาเหล่านั้น และที่สำคัญคืออยากที่จะปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คนในเรือลำนั้น ข่าวชิ้นนี้จึงขอให้เป็นรางวัลที่พวกเราจะได้ตระหนักถึงการปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง”

นิติธร สุรบัณฑิตย์ เจ้าของผลงานสารคดีเชิงข่าว “สิทธิใต้บงการ เสรีภาพใต้ความกลัว”  สถานีโทรทัศน์วอยซ์ ทีวี รางวัลชมเชยประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล

“ผมคิดว่าหลังจากนี้ทั้งแอมเนสตี้รวมไปถึงคนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปก็คงต้องเจอกับความท้าทายในเรื่องสิทธิ ดังนั้นผมคิดว่างานวันนี้มันตอบโจทย์สิ่งที่เรากำลังเดินไป คือหาความหมายสิทธิมนุษยชนที่ต้องทำให้มันสมบูรณ์ให้ได้”

หทัยรัตน์ พหลทัพ เจ้าของผลงานสารคดีเชิงข่าว “ผลกระทบเหมืองทองคำ” สถานีโทรทัศน์ Thai PBS รางวัลชมเชยประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล

“เบื้องหลังการทำงานผลกระทบเหมืองทองคำ เราไม่ได้ทำงานเพียงคนเดียว มีเพื่อนทีมข่าวอีกสองสามคนที่ไม่ได้มา ณ ที่นี้ด้วย ดิฉันถือว่าเป็นตัวแทนของเพื่อนที่มารับรางวัลครั้งนี้ การส่งประกวดผลกระทบของเหมืองทองคำเราไม่ได้พยายามที่จะเป็นนักล่ารางวัล แต่เราพยายามที่จะบอกว่าผลกระทบที่มันเกิดขึ้นมันควรได้รับการแก้ไข เพราะว่าเราพยายามติดตามเรื่องนี้มามากกว่าสามปี ในปีนี้เราก็ยังจะต้องติดตามอยู่เหมือนกัน ตอนนี้ชาวบ้านรอบเหมืองแร่ตรวจพบว่ามีสารโลหะหนักในร่างกายก็ประมาณ 700 กว่าคน โดยตอนนี้ 400 คนอาการไม่ค่อยดีแล้วในสิ่งที่นอกเหนือจากนั้นคือว่า มันมีผลถึงการเปลี่ยนแปลง DNA ของเด็กซึ่งการที่เขาอยู่อาศัยรอบๆ เหมืองแร่ซึ่งมีบ่อไซยาไนด์ มีแมงกานีส มีนิกเกิลไหลออกมาจากบ่อเก็บกักแร่ซึ่งถือว่าเป็นเหมืองแร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มันสร้างผลกระทบมากกว่าที่จะสร้างกำไรมหาศาลให้กับประเทศ คนที่ได้ก็คือนักลงทุน คนต่างประเทศ แต่ว่าชาวบ้านที่อยู่รอบข้างเหมืองแร่สิ่งที่เขาได้คือสารสะสมในร่างกาย

เราพยายามที่จะส่งสารแล้วก็บอกต่อเขาให้ เหมือนกับว่ารัฐบาลเองก็ได้เข้ามาติดตามตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งก็มีผลให้ทาง กปร. ที่เกี่ยวกับเรื่องการอุสาหกรรมมีคำสั่งให้ปิดเหมืองมาสองครั้ง อันนี้เราก็ไม่คิดว่า ไม่ใช่เพียงThai PBSที่ทำหน้าที่เกาะติดเรื่องนี้แต่มีเพื่อนสื่ออีกหลายคนที่ทำหน้าที่ติดตามเรื่องนี้ จนนำผลมาสู่ถึงวันนี้ ซึ่งผลระหว่างนี้ทางบริษัทเขาก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบ เราจะร่วมตรวจสบด้วยกันโดยเพื่อนๆ สื่อหลายๆ คนเอง ไม่ใช่เฉพาะ Thai PBS ไม่ใช่พลังของสื่อ นี่คือพลังของการสื่อสาร”

ธนานุช สงวนศักดิ์ เจ้าของผลงานสารคดีเชิงข่าว “ปฎิบัติการกำจัดชาติพันธุ์โรฮิงญา” สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี รางวัลชมเชยประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล

“ขอบคุณแอมเนสตี้ ขอบคุณคณะกรรมการตัดสินรางวัลทุกท่านที่ได้มอบรางวัลนี้ให้กับทางทีวีของเนชั่นทีวี ส่วนตัวแล้วเป็นคนที่ติดตามเรื่องโรฮิงญามาตลอด5-6 ปี ดีใจที่ได้รับรางวัลนี้แล้วก็ภูมิใจด้วย เวลาเราได้ยินได้เจอชาวโรฮิงญา เขาจะบอกว่าเขาไม่มีสิทธิความเป็นพลเมือง เขามีความทุกข์ยากลำบากเยอะแยะไปหมด ซึ่งนั่นก็คือข้อเท็จจริงทุกอย่างที่เราปฎิเสธไม่ได้

งานของดิฉันเป็นซีรี่ย์ 5 ตอน พยายามที่จะหาคำตอบว่ารากเหง้าของปัญหาที่แท้จริงคืออะไร รากเหง้าที่เป็นระบบหรือว่าเป็นปฏิบัติการของรัฐนั่นหมายถึงประเทศต้นทาง คือรัฐบาลพม่าซึ่งในรายงานเราก็ค้นพบอย่่างชัดเจนว่า มันมีกระบวนการการกระทำผ่านมาตรการต่างๆ ทั้งนโยบาย กฎหมาย แล้วก็ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลให้เป็นแรงผลักดันให้ชาวโรฮิงญาทะลักออกมา มีการออกมาสามระลอกใหญ่แล้ว เมื่อปี 2555 ซึ่งเกิดการการจราจลในรัฐยะไข่ถือว่าเป็นครั้งที่สาม ก็ดีใจแต่ว่าการทำงานค่อนข้างยาก เพราะว่าเราอยู่ในประเทศไทย วิธีการที่เราใช้ก็คือว่าเราสืบค้นทางเอกสารออนไลน์ แล้วก็หาหลักฐาน แน่นอนว่าดิฉันทำเรื่องนี้มา ดิฉันก็อยากให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไข มีแรงกดดันจากนานาชาติในเรื่องของประเทศผู้บริจาค ในเรื่องของผู้ลงทุนทั้งหลายแต่ว่าความหวังนี้อาจจะไม่ใกล้นัก อาจจะไม่ง่าย แต่ในฐานะสื่อมวลชนสิ่งที่คาดหวังก็คือเมื่องานชิ้นนี้ออกมาสังคมจะมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น ดิฉันก็คาดหวังว่า จะสามารถลดอคติและความเกลียดชังที่มีอยู่ได้”

ธัญญธร สารสิทธิ์ เจ้าของผลงานสารคดีเชิงข่าว "เหยื่อคดีอาญา" สถานีโทรทัศน์ช่อง ONE รางวัลชมเชยประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล

“อย่างแรกคงต้องบอกว่า ขอบคุณแอมเนสตี้นะคะที่มีรางวัลนี้ขึ้นมา ไม่ใช่เพราะให้สื่อมวลชนแต่ว่าเพื่อที่สังคมจะตระหนักว่ายังมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่ รางวัลนี้ดิฉันถือว่าไม่ใช่รางวัลว่าเป็นการทำข่าวที่ดี แต่เป็นการยืนยันว่าปัญหาของสิทธิมนุษยชนนั้นยังคงมีอยู่และเราจะเดินหน้าในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหานี้ไปด้วยกัน”

ธนา บุญวิเศษ สารคดีเชิงข่าว “แสงสว่างในเงามืด” สถานีโทรทัศน์เสียงไทยแลนด์เคเบิลทีวี     

 “ต้องบอกว่าผลงานนี้ คงไม่ใช่ความภาคภูมิใจของผมเพียงคนเดียวเป็นความภาคภูมิใจของสื่อท้องถิ่น และสื่อเคเบิลทีวีด้วยที่ได้รับเกียรติจากทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยที่กดดันให้เราได้ส่งสารคดีเชิงข่าวเข้ามาร่วมประกวดในหัวข้อสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งหัวข้อนี้ยังไม่เป็นที่กว้างขวางมากนักในสื่อท้องถิ่น เราคาดหวังว่าทางแอมเนสตี้จะยังคงให้โอกาสแล้วสนับสนุนให้สื่อท้องถิ่นของเราได้นำเสนอข่าวเพื่อสิทธิมนุษยชนอย่างนี้เพื่อออกสื่อสังคมสู่สายตาประชาชนต่อไป”

ป้ายคำ: 

  • รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • สิทธิมนุษยชน
  • ข่าว
  • สารคดีเชิงข่าว
  • Media Awards