Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

เก็บตกเวทีแถลงข่าวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2558-2559

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

เก็บตกเวทีแถลงข่าวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2558-2559

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2558-2559 โดยนายชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย สรุปภาพรวมของสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกและของประเทศไทย

นอกจากนี้ มีการเปิดเวทีเสวนาประเด็นสิทธิมนุษยชนจากมุมมองของรัฐและเอกชน  ด้านนางนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ระบุว่ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีหน้าที่ในการส่งเสริมความรู้ทางกฎหมายให้ประชาชนเพื่อให้สามารถปกป้องสิทธิของตนเองและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น โดยเผยแพร่ความรู้ทางเว็บไซต์ www.humanrightscenter.go.th และจัดอบรมเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกิดกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพยังมีภารกิจปกป้องสิทธิมนุษยชนอีกด้วย โดยจัดให้มีคลินิกยุติธรรมเพื่อให้บริการความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และจัดตั้งกองทุนยุติธรรมเพื่อมอบเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีในชั้นศาลแก่ประชาชนทั่วไป รวมถึงจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมในแต่ละตำบลทั่วประเทศ โดยมีคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่เฝ้าระวัง ปราบปราม ป้องกัน คุมประพฤติ ให้คำปรึกษา และเยียวยาสมาชิกชุมชน

นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมพยายามผลักดันให้รัฐบาลผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการเผชิญหน้าและการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขความขัดแย้งในชุมชน

ส่วนภารกิจเชิงกฎหมายระหว่างประเทศ กระทรวงยุติธรรมพยายามยกเลิกโทษประหารชีวิตเพื่ออนุวัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานฯ ที่ไทยเป็นภาคี  และพยายามผลักดันให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมเตรียมตั้งกลไกปกป้องและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยจัดทำ White List หรือบัญชีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งอยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นทะเบียนบุคคลเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล

ด้านนางสาวชุติมา สีดาเสถียร ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์ภูเก็ตหวาน  เสรีภาพสื่อในการนำเสนอข่าวด้านสิทธิมนุษยชน มองว่าการถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากกรณีเผยแพร่ข้อมูลว่ากองทัพเรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาโดยอ้างอิงจากสำนักข่าวรอยเตอร์นั้น เป็นการใช้กฎหมายคุกคามเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชน อีกทั้งยังมีการคุกคามสื่อทางอ้อม เช่น การโทรศัพท์ข่มขู่ และการติดภาพของตนบริเวณกองทัพเรือเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด  ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสร้างบรรยากาศของความหวาดกลัวและหวาดระแวงที่จะนำเสนอสถานการณ์การค้ามนุษย์ในพื้นที่ และสุดท้ายเมื่อรัฐใช้อำนาจกลบเกลื่อนความจริงที่เกิดขึ้น สถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนจึงยังคงไม่ได้รับการเปิดเผยภายในประเทศและยังคงอยู่ต่อไป ซึ่งสร้างความเสื่อมเสียให้แก่ประเทศ

นางสาวชุติมา กล่าวว่าได้พยายามใช้สิทธิขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรมเพื่อจ่ายค่าประกันตัวชั่วคราวแล้ว แต่ถูกปฏิเสธ โดยทางกองทุนยุติธรรมอ้างว่าข้อมูลที่นางสาวชุติมาเผยแพร่นั้นเป็นเท็จ จึงยิ่งซ้ำเติมความรู้สึกหมดหวังต่อกระบวนการยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อเท็จจริงต่อสาธารณะ

นอกจากนี้ นางสาวชุติมาเรียกร้องให้ทางการไทยชี้แจงต่อสาธารณชนอย่างเปิดเผยถึงการปฏิบัติงานและนโยบายการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา และขยายผลการสืบสวนเพื่อจับกุมตัวผู้มีส่วนร่วมในเครือข่ายค้ามนุษย์ ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่ามีมากกว่าที่ถูกศาลดำเนินคดี

ส่วนนายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล  ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ระบุว่าทางการไทยมีความพยายามเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 2557 โดยในปี 2556 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ส่งหนังสือขอข้อมูลผู้ใช้และข้อมูลสนทนาจากบริษัทแอพพลิเคชั่นไลน์แต่ถูกปฏิเสธ และในปีเดียวกัน สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติปรึกษาบริษัท Hacking Teamในเรื่องของการดักรับข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นไลน์ วีแชท และวอทส์แอพ

หลังการรัฐประหาร 2557 คณะรัฐประหารออกประหาศและคำสั่งให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ตตรวจสอบการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่อาจขัดต่อความสงบเรียบร้อย ในเดือนธันวาคม 2557 กระทรวงไอซีทีแต่งตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามออนไลน์และประสานงานกับผู้ใหบริการ International Internet Gateway ในเดือนมกราคม 2558 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการ “ชุดร่างกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล” ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ให้อำนาจตรวจค้นข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนอย่างกว้างขวาง

นายอาทิตย์ แสดงข้อกังวลว่า ทางการพยายามใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล แต่ประเทศไทยยังไม่มีขั้นตอนการรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยว่าทางการต้องมีเครื่องมือทางกฎหมายหรือทางเทคโนโลยีสำหรับต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อรักษาความสงบและความปลอดภัย  แต่จำเป็นที่จะต้องมีกลไกคานอำนาจ

นอกจากนี้ นายอาทิตย์ ได้มองแนวโน้มสิทธิเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตว่า มีการตีความกฎหมายที่เข้มข้นขึ้นเพื่อเอาผิดผู้แสดงความเห็นอันขัดต่อการทำงานของรัฐบาล อีกทั้งรัฐพยายามเข้าควบคุมกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากขึ้นพร้อมเสนอว่าทางการไม่ควรเอาผิดข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาโดยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดคอมพิวเตอร์

ในช่วงท้ายของการแถลงข่าวนายชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เป็นตัวแทนมอบรายงานพร้อมทั้งข้อเรียกร้องถึงทางการไทย โดยมีนายอภิรัตน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ผู้อำนวยการกองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยรับมอบรายงาน เพื่อนำเสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  โดยนายอภิรักษ์ กล่าวว่า รัฐบาลยึดมั่นในการดำเนินงานระหว่างประเทศ และจะนำไปพิจารณาเพราะสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องภายในประเทศ ที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทำงานร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ของคนไทย