Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

1 ปีวิกฤตผู้ลี้ภัยอาเซียน ขบวนการค้ามนุษย์ยังคงลอยนวล

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย

1 ปีวิกฤตผู้ลี้ภัยอาเซียน ขบวนการค้ามนุษย์ยังคงลอยนวล

นับจากภัยพิบัติทางเรือของผู้ลี้ภัยในอาเซียนเมื่อปี 2558 แอมเนสตี้พบผู้ลี้ภัยหลายร้อยคนที่รอดชีวิตจากเหตุการณืครั้งนั้นถูกกักกันและลเมิดสิทธิในมาเลเซียมาเป็นปีแล้ว ขณะที่ขบวนการค้ามนุษย์ยังคงลอยนวล

          หลังจากภาพอันสลดหดหู่ของผู้ลี้ภัยที่ถูกทิ้งไว้กลางทะเลอย่างสิ้นไร้หนทางถูกแพร่กระจายไปทั่วโลกในเดือนพฤษภาคม 2558 รัฐบาลมาเลเซียประกาศรับผู้ลี้ภัยจำนวน 1,100 คน โดยเกือบ 400 คนในนั้นเป็นชาวโรฮิงญาที่หนีการเข่นฆ่าในเมียนมา หนึ่งปีถัดมา ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่ในศูนย์กักกันตัวที่เบลานติก มาเลเซีย

          ไครูนิสสา ธาลา ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า “เราเดินทางไปยังมาเลเซียเพื่อสืบเสาะชะตากรรมของผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติทางเรือ และพบว่าพวกเขาหลายร้อยคนยังคงตกระกำลำบากและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่”

          “ผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กๆ ที่หนีการเข่นฆ่าจากเมียนมา ต้องถูกซ้ำเติมจากความน่ากลัวของการถูกปล่อยทิ้งไว้กลางทะเลโดยแก๊งนอกกฎหมายที่ควบคุมเส้นทางเดินเรือ มาเลเซียควรจะเป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา แต่กลายเป็นว่าพวกเขาต้องใช้ชีวิตในศูน์กักกันมาหนึ่งปีแล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าการกักตัวนี้จะสิ้นสุดลง” ไครูนิสสา ธาลา กล่าวเสริม

          นอกจากผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาแล้ว เรือผู้อพยพที่เดินทางมาถึงมาเลเซียบรรทุกชาวบังกลาเทศมาอีกราว 700 คนด้วย ซึ่งคาดว่าเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ โดยในการสืบสวนของแอมเนสตี้เมื่อปี 2558 พบว่าชาวบังกลาเทศหลายร้อยคนที่เดินทางไปถึงอินโดนีเซียต่างเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์

          ชาวบังกลาเทศทั้งในมาเลเซียและอินโดนีเซียเกือบทั้งหมดถูกส่งตัวกลับประเทศแล้ว อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในมาเลเซียบอกกับแอมเนสตี้ว่ายังเหลือชาวบังกลาเทศอีก 65 คนที่ยังคงถูกกักตัวอยู่ที่เบลานติก

          แก๊งอาชญากรผู้ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อภัยพิบัติทางเรือในครั้งนั้นไม่เคยถูกนำตัวมาดำเนินคดีแต่อย่างใด แม้ว่าเรือส่วนใหญ่ที่เต็มไปด้วยผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กๆ จะถูกปล่อยทิ้งไว้กลางทะเลโดยสมาชิกของแก๊ง เนื่องจากพวกเขาเกรงกลัวว่าตัวเองจะถูกปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศอาเซียน

          ไครูนิสสา ธาลา ย้ำว่า “รัฐบาลมาเลเซียต้องยุติการเอาผิดและการลงโทษต่อผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถิ่นฐานซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ และหันมาสืบสวนอย่างอิสระและเป็นกลางเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษ”

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องทางการมาเลเซียให้ปล่อยตัวผู้ลี้ภัยและผู้โยกย้ายถื่นฐานโดยทันที และร่วมมือกับพันธมิตรระหว่างประเทศเพื่อรับประกันว่าพวกเขาจะได้รับการปกป้องตามสิทธิที่พวกเขามีซึ่งระบุไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ


อ้างอิง: Malaysia: One year on, no justice for the ‘boat crisis’ survivors

ป้ายคำ: 

  • ผู้ลี้ภัย
  • ผู้โยกย้ายถื่นฐาน
  • ผู้อพยพ
  • โรฮิงญา
  • วิกฤตผู้ลี้ภัย
  • ผู้อพยพทางเรือ
  • มาเลเซีย
  • อินโดนีเซีย
  • บังกลาเทศ
  • ขบวนการค้ามนุษย์
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล