Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

โทษประหารชีวิตปี 2556: ข้อเท็จจริงและสถิติ

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

สถิติระดับโลก

มีการประหารชีวิตอย่างน้อย 778 ครั้งใน 22 ประเทศ ในปี 2556 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรายงานว่ามีการประหารชีวิตอย่างน้อย 682 ครั้งใน 21 ประเทศทั่วโลก

การประหารชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นใน จีน, อิหร่าน, อิรัก, ซาอุดิอาระเบีย, สหรัฐฯ และโซมาเลีย ตามลำดับ

จีน ประหารชีวิตบุคคลเป็นจำนวนมากกว่าการประหารชีวิตทั่วโลกรวมกัน แต่เราไม่สามารถแสดงภาพรวมที่แท้จริงของการใช้โทษประหารในจีนได้ เนื่องจากทางการจีนถือว่าข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โทษประหารเป็นความลับของรัฐ ตัวเลขการประหารชีวิต 778 ครั้งทั่วโลก ยังไม่รวมการประหารชีวิตหลายพันครั้งที่เกิดขึ้นในจีน

มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมากในอิหร่านและอิรัก อิรักประหารชีวิตบุคคลอย่างน้อย 169 คน เพิ่มขึ้นเกือบ 30% จากปี 2555 (129) ในอิหร่านมีตัวเลขอย่างเป็นทางการว่ามีการประหารชีวิตบุคคลอย่างน้อย 369 คนในปี2556 เพิ่มจากอย่างน้อย 314 คนในปี 2555 แต่จากรายงานข่าวที่น่าเชื่อถือ คาดว่ามีการประหารชีวิตอีกอย่างน้อย 335 ครั้ง ทำให้ตัวเลขรวมเพิ่มขึ้นเป็น 704 ครั้งสำหรับปี 2556

ในระหว่างปี 2556 มีเพียง 22 ประเทศ หรือประมาณหนึ่งใน 10 ของทุกประเทศทั่วโลกที่ยังมีการประหารชีวิตบุคคล มากกว่าปี 2555 หนึ่งประเทศ แต่ลดลงเกือบหนึ่งในสี่เมื่อเปรียบเทียบกับหนึ่งทศวรรษที่แล้ว (ในปี 2546 จำนวนประเทศที่มีการประหารชีวิตอยู่ที่ 28 ประเทศ)

140 ประเทศทั่วโลก หรือกว่าสองในสาม เป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารทั้งในทางนิตินัยหรือพฤตินัย

การเปลี่ยนโทษหรือการอภัยโทษที่ใช้กับโทษประหาร เกิดขึ้นใน 32 ประเทศในปี 2556 เพิ่มขึ้นจาก 27 ประเทศในปี 2555

มีข้อมูลการใช้โทษประหารอย่างน้อย 1,925 ครั้งใน 57 ประเทศในปี 2556 เพิ่มขึ้นจากปี 2555 (ซึ่งมีการใช้โทษประหารอย่างน้อย 1,722 ครั้งใน 58 ประเทศ)

มีจำนวนนักโทษประหารอย่างน้อย 23,392 คนจนถึงสิ้นปี 2556

ในปี 2556 สี่ประเทศซึ่งหยุดใช้โทษประหารเป็นเวลานานได้เริ่มประหารชีวิตบุคคล ได้แก่ อินโดนีเซีย (ประหารชีวิตครั้งแรกในรอบสี่ปี) คูเวต (ประหารชีวิตครั้งแรกในรอบหกปี) ไนจีเรีย (ประหารชีวิตครั้งแรกในรอบเจ็ดปี) และเวียดนาม (ประหารชีวิตครั้งแรกในรอบ 18 เดือน)

สามประเทศที่ประหารชีวิตบุคคลในปี 2555 ไม่ได้ประหารชีวิตใครเลยในปี 2556 ได้แก่ แกมเบีย ปากีสถาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

วิธีการที่ใช้ในการประหารชีวิตทั่วโลกมีดังต่อไปนี้ การตัดศีรษะ ช็อตด้วยไฟฟ้า แขวนคอ การฉีดยาพิษ และยิงเป้า

มีผู้ถูกประหารอย่างน้อยสามคนในซาอุดิอาระเบีย โดยพวกเขากระทำผิดตามข้อกล่าวหาขณะที่มีอายุไม่ถึง 18 ปี  เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และมีรายงานการประหารชีวิตนักโทษที่เป็นเยาวชนในอิหร่านและเยเมนด้วย 

ในประเทศส่วนใหญ่ที่มีการกำหนดโทษประหารหรือการประหารชีวิตบุคคล มักเป็นการสั่งลงโทษประหารภายหลังกระบวนการไต่สวนที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมระหว่างประเทศ ในหลายประเทศ มีการตัดสินลงโทษโดยอาศัย “คำรับสารภาพ” ซึ่งได้มาจากการทรมานหรือการปฏิบัติอย่างโหดร้าย อย่างเช่นในประเทศอัฟกานิสถาน, จีน, อิหร่าน, อิรัก, เกาหลีเหนือ, ปากีสถาน, เขตปกครองปาเลสไตน์ (บริเวณฉนวนกาซาที่อยู่ใต้การปกครองของกลุ่มฮามัส) และซาอุดิอาระเบีย

ในอินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย และซูดานใต้ ทั้งตัวนักโทษ ครอบครัว และทนายความไม่ได้รับแจ้งข้อมูลก่อนจะมีการประหารชีวิต ในบอตสวานา, อินเดีย และไนจีเรีย และบางกรณีในอิหร่านและซาอุดิอาระเบีย ทางการจะไม่มอบศพของนักโทษคืนให้กับครอบครัวเพื่อทำการฝัง

มีข้อมูลว่ามีการประหารชีวิตต่อหน้าสาธารณะในอิหร่าน, เกาหลีเหนือ, ซาอุดิอาระเบีย และโซมาเลีย ยังคงมีผู้ที่ต้องโทษประหารหรือถูกประหารเพียงเพราะกระทำความผิดที่ไม่อาจถือเป็น “อาชญากรรมร้ายแรงสุด” เพราะไม่ได้เกี่ยวกับ “การฆ่าโดยเจตนา” ตามนิยามของมาตรฐานระหว่างประเทศ ความผิดเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความผิดด้านยาเสพติดในอย่างน้อย 13 ประเทศในเอเชียและตะวันออกกลาง ได้แก่ “การมีชู้” (ซาอุดิอาระเบีย) และ “การหมิ่นศาสนา” (ปากีสถาน) อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (จีน, เกาหลีเหนือ, เวียดนาม) การข่มขืนกระทำชำเรา (อิหร่าน, คูเวต, โซมาเลีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) และ “การลักทรัพย์ที่ใช้ความรุนแรง” รูปแบบต่าง ๆ (เคนยา, ไนจีเรีย, ซาอุดิอาระเบีย, ซูดาน)

ในเกาหลีเหนือ มีรายงานการประหารชีวิตบุคคลเนื่องจากข้อหาลัทธิกินคน ฉ้อโกง ลามกอนาจาร การหลบหนีไปประเทศจีน การทุจริต และการดูวีดิโอต้องห้ามที่มาจากเกาหลีใต้ 

แอฟริกา

มีการประหารชีวิตอย่างน้อย 64 ครั้งในห้าประเทศ เพิ่มขึ้นกว่าครึ่งจากปี 2555 (41 ครั้ง)

ส่วนใหญ่เป็นเพราะการเพิ่มขึ้นอย่างมากของการประหารชีวิตในโซมาเลีย โดยมีการประหารชีวิตอย่างน้อย 34 ครั้งในปี 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับการประหารชีวิตอย่างน้อยหกครั้งในปี 2555 มีข้อมูลการประหารชีวิต 19 ครั้งในปี 2556 ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่กึ่งปกครองตนเองของพันต์แลนด์

ไนจีเรียเริ่มประหารชีวิตบุคคลและมีการลงโทษประหารเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2549 โดยมีการแขวนคอผู้ชายสี่คนในรัฐเอโดทางตอนใต้เมื่อเดือนมิถุนายน

ไนจีเรีย, โซมาเลีย และซูดานมีการประหารชีวิตคิดเป็นกว่า 90% ของการประหารชีวิตทั้งหมด และสองในสามของการลงโทษประหารทั้งหมดในภูมิภาค

ทวีปอเมริกา

สหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่มีการประหารชีวิตบุคคล 39 ครั้งในปี 2556 (น้อยกว่าปี 2555 สี่ครั้ง) มีเพียงเก้ารัฐที่ประหารชีวิตบุคคลในปี 2556 เท่ากับจำนวนรัฐในปี 2555 เฉพาะเทกซัสรัฐเดียวมีการประหารชีวิตคิดเป็น 41% ของการประหารชีวิตทั้งหมด ในเดือนพฤษภาคม รัฐแมรีเลนด์กลายเป็นรัฐที่ยกเลิกโทษประหารรัฐลำดับที่ 18

ในอเมริกากลางและใต้และภูมิภาคแคริบเบียน มีข้อมูลการใช้โทษประหาร 15 ครั้งในสี่ประเทศ ไม่เช่นนั้นแล้วต้องถือว่าภูมิภาคนี้เป็นเขตปลอดการประหารชีวิตในปี 2556

สามประเทศในเขตอนุภูมิภาคแคริบเบียน ได้แก่ เกรนาดา, กัวเตมาลา และเซนต์ลูเซีย ไม่มีรายงานจำนวนนักโทษในแดนประหารเลยเป็นครั้งแรกนับแต่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเริ่มบันทึกข้อมูลในปี 2523

เอเชีย-แปซิฟิก 

มีการประหารชีวิตอย่างน้อย 37 ครั้งใน 10 ประเทศในภูมิภาคนี้ ไม่นับรวมการประหารชีวิตอีกหลายพันครั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในจีน ซึ่งประหารชีวิตบุคคลเป็นจำนวนมากกว่าการประหารชีวิตทั่วโลกรวมกัน แต่เราไม่สามารถแสดงภาพรวมที่แท้จริงของการใช้โทษประหารในจีน เนื่องจากทางการจีนถือว่าข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โทษประหารเป็นความลับของรัฐ

อินโดนีเซีย 

เริ่มประหารชีวิตครั้งแรกโดยไม่ประกาศให้ทราบล่วงหน้าหลังหยุดไปสี่ปีเมื่อเดือนพฤศจิกายน มีการประหารชีวิตนักโทษห้าคนในปี 2556 รวมทั้งพลเมืองต่างชาติสองคนในข้อหายาเสพติด

เวียดนาม 

เริ่มการประหารชีวิตครั้งใหม่หลังจากยุติไปกว่า 18 เดือน มีการประหารชีวิตนักโทษเจ็ดคนด้วยการฉีดยาในปีดังกล่าว

สิงคโปร์ 

ยังคงใช้โทษประหารต่อไป ปากีสถานได้พักการประหารชีวิตอีกครั้ง หลังจากมีการประหารชีวิตนักโทษหนึ่งคนเมื่อปี 2555

ไม่สามารถยืนยันตัวเลขการประหารชีวิตที่แท้จริงในเกาหลีเหนือ จากข้อมูลที่น่าเชื่อถือเชื่อว่ามีการประหารชีวิตอย่างน้อย 70 ครั้ง แต่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงสูงกว่านี้มาก

ยุโรปและเอเชียกลาง

เป็นภูมิภาคปลอดการประหารชีวิตสำหรับปี 2556

เบลารุส เป็นประเทศสุดท้ายในยุโรปและเอเชียกลางที่ยังคงใช้โทษประหาร แต่ไม่มีรายงานการประหารชีวิตสำหรับปี 2556 นับเป็นครั้งแรกที่ปลอดการประหารชีวิตนับแต่ปี 2552 โดยมีการกำหนดโทษประหารสี่คดี ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นผลมาจากการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรม

ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

มีการประหารชีวิตอย่างน้อย 638 ครั้งใน 6 ประเทศ เฉพาะอิหร่าน, อิรัก และซาอุดิอาระเบียเกี่ยวข้องกับกว่า 95% ของการประหารชีวิตที่ยืนยันได้ในภูมิภาคนี้

ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีการประหารชีวิตเกิดขึ้นในอียิปต์หรือซีเรียหรือไม่

มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนการประหารชีวิตอย่างน่าตกใจทั้งในอิหร่านและอิรัก โปรดดูด้านบน

คูเวตเริ่มประหารชีวิตบุคคลเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 2550 ด้วยการแขวนคอผู้ชายห้าคนในปีดังกล่าว

เป็นครั้งแรกในรอบสามปีที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่ได้ประหารชีวิตใครเลย

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • ข้อเท็จจริงและสถิติ