Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ประธานแอมเนสตี้ประเทศไทยและนักกิจกรรมอีกสองคนอาจต้องโทษจำคุกจากจากเปิดโปงการทรมาน

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

แถลงการณ์

ประธานกรรมการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
และนักกิจกรรมอีกสองคนอาจได้รับโทษจำคุกเนื่องจากเปิดโปงการทรมาน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องทางการไทยต้องยกเลิกการสอบสวนทางอาญาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงทั้งสามคนโดยทันที รวมทั้งต่อประธานกรรมการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ซึ่งอาจถูกแจ้งข้อหาในวันนี้เนื่องจากการจัดทำและตีพิมพ์เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการทรมานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทย

                นายสมชาย หอมลออ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ และนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเมื่อเดือนที่แล้ว อาจต้องได้รับโทษจำคุกห้าปีและถูกปรับเป็นเงินประมาณ 170,000 บาท หากพบว่ามีความผิดฐาน “หมิ่นประมาททางอาญา” และ “ความผิดทางคอมพิวเตอร์” โดยบุคคลทั้งสามจะเข้าพบตำรวจที่สถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานีในวันที่ 26 กรกฎาคมนี้

                ซาลิล เช็ตตี้ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยว่า ในช่วงเวลาที่รัฐบาลไทยสัญญาจะประกาศใช้กฎหมายต่อต้านการทรมาน แต่นับเป็นความขัดแย้งที่พวกเขากลับคุกคามนักกิจกรรมที่พยายามเปิดโปงการกระทำอันน่ารังเกียจเช่นนี้

               “ทางการไทยควรยุติการสอบสวนทางอาญาโดยทันที โดยยกเลิกข้อกล่าวหาต่อนักกิจกรรมทั้งสามคน และดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรมต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงที่พวกเขาเปิดโปง เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคุ้มครองนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่ปกป้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจากความรับผิด”

                นายสมชาย หอมลออ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ และนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ เป็นสมาชิกของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (มสผ.) และกลุ่มด้วยใจ พวกเขาได้ร่วมกันตีพิมพ์เผยแพร่รายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เสนอ 54 กรณีของการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายของเจ้าหน้าที่ตำรวจสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพไทย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ที่มีความอ่อนไหว และมีรายงานการทรมานเกิดขึ้น

                ทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนใต้ และเป็นหน่วยงานที่ถูกกล่าวถึงเป็นพิเศษในรายงานการทรมานฉบับนี้ ได้แจ้งข้อหาต่อบุคคลทั้งสามเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 

                ข้อกล่าวหาต่อบุคคลทั้งสามเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของการข่มขู่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยที่จะต้องคุ้มครองสิทธิของพวกเขา

                ภายหลังรัฐประหารปี 2557 รัฐบาลทหารของไทยเพิ่มความพยายามในการปราบปรามเสียงที่เห็นต่างทุกรูปแบบ มีการจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม และการสมาคมอย่างกว้างขวาง เฉพาะในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ทางการได้ตั้งข้อหาต่อบุคคลกว่า 100 คน เนื่องจากต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม

                “กรณีที่กำลังเกิดขึ้นกับนักกิจกรรมซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งสามคนนี้ ถือเป็นการส่งสัญญาณของรัฐบาลทหารว่า ไม่มีบุคคลใดที่ปลอดภัยและอยู่นอกเหนือการควบคุมของพวกเขาได้” ซาลิล เช็ตตี้กล่าว

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเห็นว่าบุคคลซึ่งถูกคุมขังเพียงเพราะใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกเป็นนักโทษทางความคิด และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพวกเขาโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

ข้อมูลพื้นฐาน

                นายสมชาย หอมลออเป็นนักกิจกรรมอาวุโสและเป็นอดีตประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (มสผ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดทำข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติเป็นผู้อำนวยการของมูลนิธิ

                เมื่อเดือนที่แล้ว นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ซึ่งเป็นการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระจากการทำงานให้กับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (มสผ.)

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลและการตีพิมพ์รายงานการทรมานดังกล่าว

                ในวันที่ 17 ธันวาคม 2558 ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 128 รัฐภาคีสหประชาชาติที่แสดงความเห็นชอบสนับสนุนมติขององค์การสหประชาชาติที่เรียกร้องให้ทางการงดเว้นการข่มขู่และตอบโต้นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

 

/////

AMNESTY INTERNATIONAL

PRESS RELEASE

25 July 2016

Thailand: Amnesty International Thailand’s Chair and other activists face jail for exposing torture

The Thai authorities must immediately drop the criminal investigation against three of the country’s most prominent human rights activists, including the chair of Amnesty International Thailand, who could be charged tomorrow for documenting and publishing a report about torture by Thai security forces, the organization warned.

Somchai Homla-or, Anchana Heemmina, and Porpen Khongkaconkiet, who was appointed Chair of the Amnesty International Thailand board last month, face the prospect of five years behind bars and a fine of US $4,800 if found guilty on charges of “criminal defamation” and “computer crimes”. The three are due to report to Pattani police station on 26 July.

“At a time when the Thai government has promised to introduce anti-torture legislation, it is a cruel paradox that they are harassing activists for exposing the abhorrent practice,” said Salil Shetty, Secretary General of Amnesty International.

“The Thai authorities should immediately stop the criminal investigation, drop the charges against these three activists and order an independent and impartial investigation into the very serious human rights violations they have raised. It is the state’s duty to protect human rights activists, not to shield security forces from accountability.”

Somchai Homla-or, Porpen Khongkaconkiet and Anchana Heemmina are members of the Cross Cultural Foundation, Dua Jai Group (Hearty Support Group. Together, they published a report in February 2016 documenting 54 cases of torture and other ill-treatment by the Royal Thai police and Royal Thai army in the volatile southern provinces, where the reported acts of torture took place.

The complaint against them was filed on 17 May 2016 by the Internal Security Operations Command Region 4, which is responsible for security operation in the southern provinces – the focus of their report on torture.

The allegations against the three are merely the latest in a longstanding pattern of attempts to intimidate human rights defenders, in clear breach of Thailand’s international obligations to protect their rights.

Since the 2014 coup, Thailand’s military government has stepped up efforts to stifle all forms of dissent, including by imposing broad restrictions on the rights to freedom of expression, assembly and association. In the past three months alone, authorities have initiated charges against more than 100 individuals for opposing a draft constitution that is the subject of a 7 August national referendum.

“If this can happen to three well-known activists then the message the military government is sending is that no one is beyond their reach and no one is safe,” said Salil Shetty.

Amnesty International considers any person who is imprisoned solely for expressing their rights to freedom of expression as prisoners of conscience, and calls for their immediate and unconditional release.

Background

Somchai Homla-or is a senior adviser and former President of the Cross Cultural Foundation, an organization that documents human rights violations. Pornpen Khongkachonkiet is Director of the same organization.

Last month, Pornpen Khongkachonkiet was elected Chair of Amnesty International Thailand’s board, a position she holds independent of her work with the Cross Cultural Foundation.

Amnesty International was not involved in the preparation or the publication of their report on torture.

On 17 December 2015, Thailand was one of 128 United Nations member states to support the UN resolution that calls on authorities to refrain from intimidating and mounting reprisals against human rights defenders.

 

ป้ายคำ: 

  • สมชาย หอมลออ
  • พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
  • อัญชนา หีมมิหน๊ะ
  • นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  • หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา