Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

โทษประหารชีวิต ปี 2556: มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ทำให้จำนวนการประหารชีวิตในโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

อิหร่านและอิรักทำให้ตัวเลขจำนวนการประหารชีวิตทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นมากสำหรับปี 2556 สวนทางกับแนวโน้มของโลกที่มุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุในรายงานประจำปีว่าด้วยโทษประหารชีวิตทั่วโลก

จำนวนการประหารชีวิตที่น่าตกใจเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศเล็ก ๆ เท่านั้นในปี 2556 ส่วนใหญ่อยู่ในตะวันออกกลาง และเป็นเหตุให้จำนวนการประหารชีวิตบุคคลเพิ่มขึ้นในระดับโลกเกือบ 100 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ถือว่าเพิ่มขึ้นเกือบ 15%

ซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่าการเข่นฆ่าสังหารอย่างเมามันที่เราเห็นในประเทศต่าง ๆ เช่น ในอิหร่านและอิรักเป็นเรื่องที่น่าละอาย แต่ประเทศเหล่านี้ยังมีแนวโน้มใช้โทษประหารชีวิตต่อไป ซึ่งถือว่าสวนทางกับประวัติศาสตร์ และกลายเป็นประเทศกลุ่มเล็ก ๆ ลงไปเรื่อย ๆ

“มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังคงทำการสังหารโดยได้รับอนุญาตจากรัฐซึ่งเป็นสิ่งที่กระทำโดยขาดจิตสำนึก แต่พวกเขาไม่สามารถลดทอนความก้าวหน้าโดยรวมที่เกิดขึ้น รวมทั้งแนวโน้มที่มุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต”

จำนวนการประหารชีวิตในอิหร่าน (อย่างน้อย 369 ครั้ง) และอิรัก (169 ครั้ง) เป็นเหตุให้ทั้งสองประเทศนี้ครองอันดับสองและสามของประเทศที่มีการใช้โทษประหารสูงสุด โดยมีจีนครองอันดับหนึ่ง แม้ว่าจำนวนการประหารชีวิตในจีนจะเป็นข้อมูลที่ถูกปิดลับ แต่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่ามีการประหารชีวิตหลายพันคนในจีนในแต่ละปี

ซาอุดิอาระเบีย (79 ครั้ง) และสหรัฐฯ (39 ครั้ง) เป็นลำดับที่สี่และห้า ส่วนโซมาเลียลำดับที่หก (34 ครั้ง)

ไม่นับรวมจีน เรามีข้อมูลการประหารชีวิตอย่างน้อย 778 ครั้งที่เกิดขึ้นในปี 2553 เปรียบเทียบกับ 682 ครั้งในปี 2555

มีการประหารชีวิตบุคคลรวมกันทั้งหมดใน 22 ประเทศในปี 2556 มากกว่าปีก่อนหน้าหนึ่งประเทศ โดยมีอินโดนีเซีย คูเวต ไนจีเรีย และเวียดนามที่รื้อฟื้นการใช้โทษประหารชีวิตใหม่

แม้จะมีความถดถอยในปี 2556 แต่จำนวนประเทศที่ใช้โทษประหารชีวิตมีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และเป็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคเมื่อปีที่แล้ว

หลายประเทศที่ประหารชีวิตบุคคลในปี 2555 ไม่ได้ประหารชีวิตใครเลยในปีที่แล้ว ได้แก่ แกมเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และปากีสถาน โดยทางการสั่งให้ชะลอการใช้โทษประหารอีกครั้ง ส่วนเบลารุสก็ได้งดเว้นการประหารชีวิตเช่นกัน เป็นเหตุให้ยุโรปและเอเชียกลางกลายเป็นภูมิภาคปลอดการประหารชีวิตเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 2552

เมื่อ 20 ปีที่แล้ว 37 ประเทศยังคงใช้โทษประหารชีวิตอย่างสม่ำเสมอ และได้ลดจำนวนลงเหลือ 25 ประเทศในปี 2547 และเหลือ 22 ประเทศในปีที่แล้ว มีเพียงเก้าประเทศทั่วโลกที่มีการประหารชีวิตบุคคลทุกปีติดต่อกันในช่วงห้าปีที่ผ่านมา

“แนวโน้มระยะยาวเป็นที่ชัดเจนมาก โทษประหารชีวิตกำลังกลายเป็นอดีต เราขอกระตุ้นให้รัฐบาลทุกประเทศที่ยังคงเช่นฆ่าผู้คนโดยอ้างความยุติธรรม ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงยุติการใช้โทษประหารชั่วคราวโดยทันที ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกเลิกโทษประหารในเวลาต่อไป” ซาลิล เช็ตติกล่าว

ในหลายประเทศที่ยังคงประหารชีวิตบุคคล การใช้โทษประหารเกิดขึ้นโดยมีการปิดข้อมูลเป็นความลับ ไม่มีการแจ้งให้สาธารณชน และในบางกรณีไม่มีการแจ้งให้ญาติ ทนายความ หรือสาธารณชนทราบล่วงหน้าว่าจะมีการประหารชีวิตเกิดขึ้น

วิธีการที่ใช้ในการก่ออาชญากรรม

วิธีการที่ใช้ในการประหารชีวิตในปี 2556 ประกอบด้วยการตัดศีรษะ ช็อตด้วยไฟฟ้า การยิงเป้า แขวนคอ และการฉีดยาพิษ และมีการประหารชีวิตต่อหน้าสาธารณะในอิหร่าน เกาหลีเหนือ ซาอุดิอาระเบีย และโซมาเลีย

ผู้ต้องโทษประหารมีสาเหตุมาจากการกระทำความผิดที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ได้แก่ การลักทรัพย์ ความผิดด้านยาเสพติดและเศรษฐกิจ รวมทั้งการกระทำใด ๆ ที่ควรถือเป็นอาชญากรรมเลยด้วยซ้ำ เช่น “การมีชู้” หรือ “การหมิ่นศาสนา” หลายประเทศใช้คำว่า “อาชญากรรม” ทางการเมืองที่กำกวมเพื่อลงโทษประหารฝ่ายต่อต้านรัฐบาล 

รายละเอียดตามภูมิภาค 

ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

อิรักมีจำนวนการประหารชีวิตเพิ่มสูงขึ้นมากติดต่อกันเป็นปีที่สาม โดยมีการประหารชีวิตบุคคลอย่างน้อย 169 คน เพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งในสามของปีก่อนหน้านั้น ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาถูกลงโทษตามกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่มีถ้อยคำกำกวม

ในอิหร่าน ทางการยอมรับว่ามีการประหารชีวิตอย่างน้อย 369 ครั้งในปี 2556 แต่แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ระบุว่ามีการประหารชีวิตที่เกิดขึ้นอีกหลายร้อยครั้งแต่ถูกปิดเป็นความลับ ทำให้จำนวนรวมของการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 700 ครั้ง

ซาอุดิอาระเบียยังคงประหารชีวิตบุคคลในอัตราที่ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับสองปีก่อนหน้านี้ (อย่างน้อย 79 ครั้งในปี 2556) และเป็นครั้งแรกในรอบสามปีที่ซาอุดิอาระเบียประหารชีวิตเยาวชน ซึ่งขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ

อิหร่าน อิรัก และซาอุดิอาระเบียทำการประหารชีวิตคิดเป็นอย่างน้อย 80% ของการประหารชีวิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่นับรวมในประเทศจีน

มีการพัฒนาในเชิงบวกอยู่บ้างในภูมิภาคนี้ กล่าวคือเป็นครั้งแรกในรอบสามปีที่ไม่มีการประหารชีวิตบุคคลเลยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจำนวนการประหารชีวิตในเยเมนก็ลดลงเป็นปีที่สองติดต่อกัน

แอฟริกา

ในทวีปแอฟริกาส่วนที่ต่ำกว่าทะเลทรายสะฮาราลงมา มีเพียงห้าประเทศที่ยังประหารชีวิตบุคคล ได้แก่ บอตสวานา ไนจีเรีย โซมาเลีย ซูดานใต้ และซูดาน ในขณะที่ไนจีเรีย โซมาเลีย และซูดานรวมกันมีการประหารชีวิตคิดเป็นกว่า 90% ของภูมิภาค รายงานการประหารชีวิตในโซมาเลียเพิ่มขึ้นจาก 6 ครั้งในปี 2555 เป็นอย่างน้อย 34 ครั้งในปีทีแล้ว

ในไนจีเรีย ชายสี่คนถูกแขวนคอในการรื้อฟื้นการประหารชีวิตเป็นครั้งแรกในรอบเจ็ดปี ภายหลังจากประธานาธิบดีกู๊ดลัก โจนาธาน (Goodluck Jonathan) แถลง เปิดสัญญาณไฟเขียวให้กับการรื้อฟื้นการประหารชีวิตในประเทศ

หลายประเทศทั่วภูมิภาครวมทั้งเบนิน, กานา, ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอนดำเนินการอย่างเข้มแข็งไปในแนวทางยกเลิกโทษประหาร ทั้งโดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและการเสนอร่างประมวลกฎหมายอาญาเพื่อยกเลิกโทษประหาร

ทวีปอเมริกา

สหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่มีการประหารชีวิตบุคคล โดยในปี 2556 มีการประหารชีวิตบุคคล 39 ครั้งน้อยกว่าปี 2555 สี่ครั้ง เฉพาะเทกซัสรัฐเดียวมีการประหารชีวิตคิดเป็น 41% ของการประหารชีวิตทั้งหมด ในเวลาเดียวกัน แมรีเลนด์กลายเป็นรัฐที่ยกเลิกโทษประหารรัฐลำดับที่ 18 หลายประเทศในอนุภูมิภาคแคริบเบียนไม่มีรายงานจำนวนนักโทษในแดนประหารเลย เป็นครั้งแรกนับแต่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเริ่มบันทึกข้อมูลในปี 2523

เอเชีย

เวียดนามและอินโดนีเซียได้รื้อฟื้นการประหารชีวิตเมื่อปีที่แล้ว โดยอินโดนีเซียประหารชีวิตบุคคลเป็นครั้งแรกในรอบสี่ปี เป็นการประหารชายห้าคนในปี 2556 โดยสองคนต้องโทษคดียาเสพติด

จีนยังคงประหารชีวิตบุคคลเป็นจำนวนมากกว่าการประหารชีวิตทั่วโลกรวมกันต่อไป แต่เนื่องจากทางการจีนถือว่าข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โทษประหารเป็นความลับของรัฐ ทำให้เราไม่สามารถหาข้อมูลได้ แต่จีนก็มีความก้าวหน้าอยู่บ้าง เนื่องจากมีการประกาศใช้มาตรการใหม่เพื่อคุ้มครองด้านกฎหมายในคดีที่มีโทษประหารชีวิต และศาลสูงสุดประกาศแผนยุติการนำอวัยวะของนักโทษประหารชีวิตไปใช้ประโยชน์

ไม่มีรายงานการประหารชีวิตในสิงคโปร์ และนักโทษประหารหลายรายได้รับการเปลี่ยนโทษ อนุภูมิภาคแปซิฟิกยังคงเป็นเขตปลอดโทษประหารต่อไป แม้จะมีความเสี่ยงว่าปาปัวนิวกินีจะเริ่มรื้อฟื้นการประหารชีวิตขึ้นมาใหม่

ยุโรปและเอเชียกลาง

เป็นครั้งแรกนับแต่ปี 2552 ที่ยุโรปและเอเชียกลางเป็นภูมิภาคปลอดการประหารชีวิต ประเทศเดียวที่ยังมีแนวโน้มใช้โทษประหารชีวิตได้แก่ เบลารุส แม้ไม่มีการประหารชีวิตใครเลยในปี 2556

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต