Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

9 ความสำเร็จที่แอมเนสตี้ได้ช่วยปกป้องสิทธิผู้หญิงทั่วโลก

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

9 ความสำเร็จที่แอมเนสตี้ได้ช่วยปกป้องสิทธิผู้หญิงทั่วโลก

          ผู้สนับสนุน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หลายแสนคนทั่วโลกได้ร่วมกันลุกขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ในแคมเปญ “ร่างกายของฉัน สิทธิของฉัน” (My Body My Rights) ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2557 แคมเปญนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานง่ายๆ ที่ว่า "ชายและหญิงมีสิทธิที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพ ร่างกาย เพศวิถี และการเจริญพันธุ์โดยปราศจากความหวาดกลัวหรือการถูกบังคับ”

          ต่อไปนี้เป็น 9 ความสำเร็จที่คุณช่วยให้เราสามารถปกป้องสิทธิดังกล่าวของผู้หญิงทั่วโลกได้มากขึ้น

1.มีคนร่วมแสดงพลังเกี่ยวกับสิทธิทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของคนหนุ่มสาวเกือบ 3 แสนคน

          ผู้คนมากกว่า 280,000 คนจาก 165 ประเทศเรียกร้องให้รัฐบาลของตนรับประกันสิทธิของวัยรุ่นในการเข้าถึงการคุมกำเนิดและการบริการทางการแพทย์ ในเดือนเมษายน 2557 ซาลิล เช็ตตี้ เลขาธิการแอมเนสตี้ได้ยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนการเรียกร้องต่อ นายบันคีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ บริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนาที่กรุงนิวยอร์ก

2.เนปาลตระหนักว่าอนามัยเจริญพันธุ์เป็นสิทธิมนุษยชน

          ด้วยความช่วยเหลือของแอมเนสตี้และความพยายามอย่างไม่ลดละของนักกิจกรรมเพื่อสิทธิสตรี ทำให้รัฐบาลเนปาลรวมเอาการป้องกันอาการมดลูกหย่อนยาน ซึ่งทำให้ผู้หญิงหมดเรี่ยวแรงในระหว่างตั้งครรภ์ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทเกี่ยวกับสิทธิมนุษชนในเดือนกรกฎาคม 2557 ประกาศดังกล่าวออกมาหลังจากที่แอมเนสตี้ได้ยื่นข้อเรียกร้องไปไม่นาน โดยมีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 100,000 คน

3.สเปนไม่ถอยหลังลงคลองเรื่องการทำแท้ง

          หลังจากที่รัฐบาลสเปนออกมาตรการควบคุมการทำแท้งในเดือนธันวาคม 2556 ผู้คนมากกว่า 133,400 คนออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านมาตรการดังกล่าว ส่งผลให้รัฐบาลสเปนต้องยอมยกเลิกมาตรการดังกล่าวในที่สุดเมื่อเดือนกันยายน 2557  

4.หลายประเทศตอบสนองต่อการห้ามการทำแท้งในเอลซัลวาดอร์

          งานวิจัยใหม่ที่พูดถึงผลกระทบของการห้ามการทำแท้งในเอลซัลวาดอร์ที่ถูกเผยแพร่ในเดือนกันยายน 2557 กระตุ้นให้หลายๆ เช่น ออสเตรเลีย สาธารณรัฐเช็ก ไอซ์แลนด์ สโลเวเนีย และสเปน เรียกร้องผ่านเวทีสหประชาชาติให้เอลซัลวาดอร์ยกเลิกข้อห้ามดังกล่าว ตลอดจนยกเลิกโทษจำคุกมากกว่า 40 ปีต่อผู้หญิงซึ่งให้กำเนิดทารกที่เสียชีวิตขณะคลอดด้วย

5.ตูนิเซียสัญญาว่าจะปกป้องผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงทางเพศ

          ผู้คนมากกว่า 198,000 คนได้ร่วมลงชื่อกับแอมเนสตี้เรียกร้องให้ประเทศแอลจีเรีย โมร็อกโก และตูนิเซีย ปกป้องผู้หญิงและเด็กที่รอดชีวิตจากการถูกข่มขืนและความรุนแรงทางเพศอื่นๆ หลังจากที่แอมเนสตี้ยื่นรายชื่อต่อรัฐบาลตูนิเซียในเดือนพฤศจิกายน 2557 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงครอบครัวและผู้หญิงและรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุขตูนิเซียได้ออกมารับประกันว่าจะให้การปกป้องผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงทางเพศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฎต่อสาธารณะมาก่อน

6.เอลซัลวาดอร์ปล่อยตัวหญิงที่ติดคุก 30 ปีเพราะต้องสงสัยว่าทำแท้ง

          ผลจากการทำงานหนักของนักเคลื่อนไหวในเอลซัลวาดอร์ ทำให้ การ์เมน กัวดาลูเป วาสเกซ ได้รับการอภัยโทษและเป็นอิสระในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เธอต้องโทษจำคุกถึง 30 ปีด้วยข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา เนื่องจากเธอถูกสงสัยว่าทำแท้งตอนอายุ 18 ปี ในเดือนเมษายน 2558 แอมเนสตี้ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้เอลซัลวาดอร์ยุติกฎหมายห้ามทำแท้ง โดยมีผู้ร่วมลงรายชื่อจากทั่วโลกมากกว่า 300,000 คน

7.ไอร์แลนด์รับรู้ว่า “ผู้หญิงที่ทำแท้งไม่ใช่อาชญากร”

          ข้อความ “She is #notcriminal for needing an abortion” (เธอไม่ใช่อาชญากรเพียงเพราะจำเป็นต้องทำแท้ง) ถูกแชร์บนโลกออนไลน์โดยผู้คนมากกว่า 100,000 คน ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงและแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างกว้างขวางในไอร์แลนด์ ด้วยแรงสนับสนุนจากคนธรรมดาๆ ไปจนถึงนักวิชาการด้านสาธารณสุข ดารา และบุคคลมีชื่อเสียงมากมายที่ร่วมกันเรียกร้องให้ไอร์แลนด์แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยุติการห้ามการทำแท้ง ทำให้เป้าหมายของแอมเนสตี้ใกล้เป็นจริงมากขึ้น

8.บูร์กินาฟาโซพยายามยุติการบังคับเด็กแต่งงาน

          ธันวาคม 2558 บูร์กินาฟาโซประกาศยุติศาสตร์แห่งชาติและแผนแม่บทในเพื่อป้องกันและปราบปรามการบังคับเด็กแต่งงานซึ่งส่งผลกระทบต่อเด็กผู้หญิงมากกว่าครึ่งหนึ่งในประเทศ แผนดังกล่าวเกิดขึ้นจากความเห็นของสาธารณชน ทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและราชวงศ์ของบูร์กินาฟาโซต่างก็สนับสนุนแคมเปญของแอมเนสตี้ที่ช่วยบอกเล่าอุปสรรคที่ผู้หญิงและเด็กต้องเจอในการพยายามเข้าถึงการบริการทางการเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ยังมีงานอีกมากให้ต้องทำ เพราะนี่เป็นเพียงแค่ก้าวแรกเท่านั้น

9.กำแพงความเงียบเรื่องการมีเพศสัมพันธุ์และอนามัยเจริญพันธุ์ถูกพังทลายลง

          เยาวชนมากกว่า 100,000 คนทั่วโลกได้ริเริ่มบทสนทนาที่เกี่ยวข้องกับข้อห้ามทางประเพณีต่างๆ เช่น การล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน การข่มขืน การแต่งงานวนวัยเด็ก และเพศวิถี สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่แอมเนสตี้ได้ทำขึ้นมาผ่านแคมเปญ “ร่างกายของฉัน สิทธิของฉัน” (My Body My Rights) ช่วยท้าทายแนวคิดการเลือกปฎิบัติและความรุนแรงที่ตั้งอยู่บนฐานทางเพศสภาวะ โดยในพื้นที่ชนบทของซิมบับเว ได้มีการเปิดศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาในโรงเรียน ซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่เด็กๆ สามารถพูดคุยเรื่องเพศ ความสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ได้อย่างอิสระ


 

ป้ายคำ: 

  • ร่างกายของฉัน สิทธิของฉัน
  • My Body My Rights
  • สิทธิผู้หญิง
  • สิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
  • ความหลากหลายทางเพศ
  • เพศวิถี
  • การทำแท้ง
  • การบังคับเด็กแต่งงาน
  • ความรุนแรงทางเพศ
  • การข่มขืน
  • ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ
  • สิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล