Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ปฏิบัติการด่วน: ผู้ต้องหา 12 คนอาจได้รับโทษจำคุกเป็นเวลานาน

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

ปฏิบัติการด่วน: ผู้ต้องหา 12 คนอาจได้รับโทษจำคุกเป็นเวลานาน

สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ออกปฏิบัติการด่วนเชิญชวนสมาชิกทั่วโลกส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทย เรียกร้องทางการให้ปล่อยตัว 12 ผู้ต้องหาจากภาคเหนือที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่จดหมายหลายพันฉบับ วิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งการรณรงค์ดังกล่าวจะมีไปถึงวันที่ 30 กันยายน 2559

//////

ปฏิบัติการด่วน (คำแปล)

ผู้ต้องหา 12 คนอาจได้รับโทษจำคุกเป็นเวลานาน

ผู้ต้องหา 12 คนจากภาคเหนือต้องเข้ารับการไต่สวนจากศาลทหาร และอาจได้รับโทษจำคุกนานถึง 22 ปีเนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่จดหมายหลายพันฉบับ วิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะขึ้นศาลในวันที่ 27 สิงหาคมนี้

การจับกุมเริ่มต้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม โดยมีบุคคล 12 คนถูกควบคุมตัวโดยทางการไทย ในข้อกล่าวหาว่าเผยแพร่จดหมายวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการแสดงความเห็นชอบในการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม เจ้าพนักงานสอบสวนอ้างว่าได้ตรวจยึดจดหมายกว่า 11,000 ฉบับบริเวณภาคเหนือของไทย โดยนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความจริงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ หลังการจับกุมผู้ถูกกล่าวหาได้ถูกควบคุมตัวไว้ที่กองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11,กรุงเทพมหานคร

วันที่ 2 สิงหาคม เจ้าพนักงานสอบสวนแจ้งต่อผู้ถูกควบคุมตัวว่าได้เริ่มกระบวนการสอบสวนทางอาญา ในความผิดฐานละเมิดประมวลกฎหมายอาญาข้อหาล้มล้างการปกครองและอั้งยี่ซ่องโจร รวมทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญการออกเสียงประชามติ ซึ่งห้ามการเผยแพร่ข้อมูล “ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม” เพื่อกดดันการลงคะแนนเสียง หากศาลตัดสินว่ามีความผิด ผู้ต้องหาแต่ละคนอาจได้รับโทษจำคุกสูงถึง 22 ปี ทางการยืนยันว่าทั้งหมดจะต้องเข้ารับการพิจารณาจากศาลทหารที่จังหวัดเชียงใหม่ ทางภาคเหนือของไทย โดยในปัจจุบันผู้ต้องหาทั้ง 12 คนถูกควบคุมตัวที่เรือนจำจังหวัดเชียงใหม่และทัณฑสถานหญิงจังหวัดเชียงใหม่

ผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 12 คนประกอบด้วยนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์, น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์, น.ส.ธารทิพย์ บูรณุปกรณ์, นายไพรัช ใหม่ชมพู, นายคเชน เจียกขจร, นายอติพงษ์ คำมูล, นายกฤติกร โพทะยะ, น.ส.เอมอร ดับโศรก, นางสุภาวดี งามเมือง, นางกอบกาญจน์ สุตีคา, นายเทวรัตน์ อินต้า และนางเนติธัช อภิรติมัย หลายคนเป็นเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาลและมีความเชื่อมโยงกับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่ในภาคเหนือที่ต่อต้านการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ มีรายงานข่าวว่าผู้ต้องหาหนึ่งคนน้ำหนักลดลงไป 10 กิโลกรัมหลังการจับกุม ทำให้เกิดข้อกังวลต่อสุขภาพ ในวันที่ 3 และ 15 สิงหาคม ศาลทหารเชียงใหม่สั่งให้ควบคุมตัวบุคคลเหล่านี้ไว้เป็นเวลา 12 วัน มีรายงานว่าทางการยังได้จับกุมบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับจดหมายดังกล่าวและการเผยแพร่เอกสารต่อต้านรัฐธรรมนูญ

โปรดเขียนจดหมายทันทีเป็นภาษาไทยหรือภาษาของท่านเอง

  • เรียกร้องให้ทางการปล่อยตัวพวกเขาทั้ง 12 คนโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากพวกเขาถูกควบคุมตัวเพียงเพราะการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ
  • กระตุ้นให้ทางการประกันว่าผู้ถูกควบคุมตัวจะได้รับการรักษาพยาบาลที่จำเป็นโดยทันที 
  • กระตุ้นให้ทางการยกเลิกกฎหมายและคำสั่งใด ๆ ที่เอาผิดทางอาญากับการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ และประกันให้มีการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะที่สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย

กรุณาส่งจดหมายก่อนวันที่ 30 กันยายน 2559 ไปยัง

นายกรัฐมนตรี

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

ทำเนียบรัฐบาล

ถนนพิษณุโลก ดุสิต

กรุงเทพฯ 10300 ประเทศไทย

โทรสาร +66 2 282-5131

 

รัฐมนตรียุติธรรม

พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา

กระทรวงยุติธรรม

อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

เลขที่ 120 หมู่ 3 อาคาร A ถนนแจ้งวัฒนะ

เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

โทรสาร: +66 2953 0503

และส่งสำเนาจดหมายไปที่`

ประธานกรรมการการเลือกตั้ง

นายศุภชัย สมเจริญ

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

เลขที่ 120 ม.3 ชั้น 2 อาคารรวมหน่วยราชการ บี

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210

โทรสาร 66-2-6943228 

ข้อมูลพื้นฐาน

ประเทศไทยอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลทหารนับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 รัฐบาลไทยจัดการออกเสียงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำโดยคณะกรรมการร่างที่แต่งตั้งโดยทหาร ผู้มาใช้สิทธิได้ออกเสียงเห็นชอบรัฐธรรมนูญด้วยเสียงที่มากกว่าอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อปูทางให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงปลายปี 2560

นับแต่รัฐประหาร ทางการได้ใช้อำนาจอย่างเป็นระบบเพื่อปราบปรามการต่อต้านอย่างสงบ กำหนดมาตรการจำกัดการใช้สิทธิมนุษยชนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม และการสมาคมอย่างสงบ ยกตัวอย่างเช่น คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ซึ่งกำหนดโทษอาญาเมื่อมีการฝ่าฝืนโดยเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับบุคคลที่เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองของบุคคลห้าคนหรือกว่านั้น ก่อนจะถึงการออกเสียงประชามติ ทางการยังกำหนดมาตรการจำกัดสิทธิที่กว้างขวางเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 กำหนดให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีและปรับไม่เกิน200,000 บาท รวมทั้งการเพิกถอนสิทธิในการเลือกตั้ง สำหรับการกระทำและการแสดงถ้อยคำใด ๆ ที่ “ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย” รวมทั้งการใช้ถ้อยคำที่มีลักษณะ “ก้าวร้าว” หรือ “หยาบคาย” เพื่อกดดันผู้มีสิทธิ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มีบุคคลถูกจับกุมและตั้งข้อหาตามกฎหมายเหล่านี้และคำสั่งอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ถือเป็นการปฏิบัติที่ขัดกับพันธกรณีของไทยที่มีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)

รัฐมนตรีบางคนในคณะรัฐบาลนี้ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีระบุว่า เสรีภาพในการแสดงออกไม่ใช่สิ่งจำเป็นในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เมื่อวันที่ 19 เมษายน มีรายงานข่าวว่านายกรัฐมนตรีได้ตอบคำถามเกี่ยวกับผู้วิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า

“พวกเขาไม่มีสิทธิ์จะบอกว่าไม่เห็นชอบ [กับร่างรัฐธรรมนูญ] … ผมไม่อนุญาตให้ใครจัดอภิปรายหรือจัดแถลงข่าวเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าพวกเขาขัดขืนคำสั่งของผม ก็จะถูกจับกุมและจำคุก 10 ปี ไม่มีใครได้รับการยกเว้นเมื่อพระราชบัญญัติประชามติจะมีผลบังคับใช้ [ภายหลังประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา] แม้แต่สื่อก็จะจับ ทำไมพวกคุณไม่เคารพกฎหมาย มาถามเกี่ยวกับประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอยู่ตลอดเวลา ทำไม?”