Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ยินดีเมียนมาตั้ง “โคฟี อันนัน” เป็นประธานแก้ปัญหาโรฮิงญา

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ยินดีเมียนมาตั้ง “โคฟี อันนัน” เป็นประธานแก้ปัญหาโรฮิงญา

แอมเนสตี้ระบุการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาซึ่งนำโดย “โคฟี อันนัน” ถือเป็นก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่ของเมียนมา แนะควรยุติการจำกัดสิทธิชาวโรฮิงญาเป็นสิ่งแรก และรับรองสิทธิของคนทุกคนในรัฐอย่างเท่าเทียมกัน

          ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักรัฐมนตรีของ “ออง ซาน ซูจี” ได้ประกาศจัดตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่ซึ่งเป็นพื้นที่ขัดแย้งระหว่างชาวเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะชาวโรฮิงญา โดยมี “โคฟี อันนัน” อดีตเลขาธิการสหประชาชาติทำหน้าที่เป็นประธาน

          ราเฟนดี จามิน ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “การประกาศในครั้งนี้เป็นสัญญาณว่าทางการเมียนมาให้ความสำคัญกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่ แต่มันจะกลายเป็นปฏิบัติการที่คุ้มค่าก็ต่อเมื่อคนทุกคนในรัฐมีสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกันอย่างแท้จริงเท่านั้น”

          รัฐยะไข่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมา เป็นที่อยู่ของชาวโรฮิงญาซึ่งต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความรุนแรงมานานหลายสิบปี โดยสถานการณ์เลวร้ายลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2555 หลังเกิดการปะทะกันซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ทั้งการสังหารและการไล่ทำลายที่อยู่อาศัย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและผู้พลัดถิ่นจำนวนมาก

          สื่อทางการของรัฐบาลเมียนมาระบุว่าคณะที่ปรึกษาเกี่ยวกับรัฐยะไข่นี้มีสถานะเป็นหน่วยงานระดับประเทศ โดยแอมเนสตี้เชื่อว่าคณะกรรมการดังกล่าวอาจเป็นหน่วยงานแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่ที่เป็นอิสระและน่าเชื่อถือที่สุดของเมียนมาในปัจจุบัน

          “คณะที่ปรึกษาควรสืบสวนการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยในรัฐยะไข่ รับประกันว่าจะมีการรับผิดชอบ เสนอแนะการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ ตลอดจนสร้างกระบวนการปรองดองให้เกิดขึ้น” ราเฟนดีกล่าว

          ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาดังกล่าวจะมีสมาชิกสามคนจากต่างประเทศและหกคนจากเมียนมา ซึ่งรวมถึงตัวแทนของชาวพุทธและชาวมุสลิมด้วย ในช่วงแรกคณะที่ปรึกษาจะเน้นการทำงานเพื่อป้องกันความชัดแย้ง สนับสนุนการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน และกระบวนการปรองดอง โดยจะส่งรายงานให้รัฐบาลเมียนมาหลังดำเนินงานครบหนึ่งปี

          ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกของแอมเนสตี้ระบุว่าสิ่งแรกที่คณะที่ปรึกษานี้จำเป็นต้องทำคือการยกเลิกการจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของชาวโรฮิงญา ตลอดจนเปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถเข้าถึงการศึกษา ทำงาน และการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่างๆ ได้ ขณะที่การสืบสวนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนควรไปเป็นอย่างอิสระและเป็นกลาง เพราะการได้มาซึ่งข้อเท็จจริงคือหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างถอนรากถอนโคน


 

ป้ายคำ: 

  • โรฮิงญา
  • ยะไข่
  • อาระกัน
  • เมียนมา
  • พม่า
  • ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
  • มุสลิมโรฮิงญา
  • พุทธหัวรุนแรง
  • สิทธิมนุษยชน
  • เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและเดินทาง
  • สิทธิในการศึกษา
  • กลุ่มชาติพันธุ์
  • ชนกลุ่มน้อย
  • โคฟี อันนัน
  • สหประชาชาติ
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล