Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ทั่วโลกรวมพลังเรียกร้องทุกฝ่ายทำความเข้าใจ-ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

 แอมเนสตี้ทั่วโลกรวมพลังเรียกร้องทุกฝ่ายทำความเข้าใจ-ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย

          วันที่ 17 กันยายน 2559 สมาชิกและนักกิจกรรมแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รวมตัวกันจัดกิจกรรม “วันหยุดสุดสัปดาห์ จูงมือคนที่คุณรัก ร่วมรู้จักผู้ลี้ภัย” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสัมผัสเรื่องราว "ผู้ลี้ภัย" ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นพร้อมกับคนทั่วโลกเนื่องในโอกาส "สัปดาห์ผู้ลี้ภัย" ของแอมเนสตี้ เพื่อมุ่งสร้างความเข้าใจและเรียกร้องประชาคมโลกให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัย โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นในบริเวณสวนรถไฟ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่และครอบครัวมากยิ่งขึ้น

          นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เผยว่า แอมเนสตี้เล็งเห็นว่าปัจจุบันปัญหาของผู้ลี้ภัยถือเป็นวิกฤตที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งในการแก้ไขปัญหานี้สามารถเริ่มได้จากคนธรรมดา ไปจนกระทั่งนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบาย หากเราเริ่มที่จะเปิดใจฟังปัญหาของผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้น มองผู้ลี้ภัยในอีกมุมว่าพวกเขาก็เหมือนกับเราที่ต้องการใช้ชีวิตอยู่ในที่ที่ปลอดภัยสักแห่ง มีงานทำ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เราต้องมองข้ามความหวาดกลัว อคติต่างๆ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเรากับผู้ลี้ภัย

          จากข้อมูลของ UNHCR ปัจจุบัน มีผู้ลี้ภัยราว 21 ล้านคนทั่วโลก แต่มีเพียง 14% เท่านั้นที่พักพิงอยู่ในประเทศมั่งคั่ง โดยผู้ลี้ภัยในเอธิโอเปีย เคนยา จอร์แดน เลบานอน ปากีสถาน และตุรกีมีจำนวนมากถึง 1/3 ของผู้ลี้ภัยทั่วโลก แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีขนาดเศรษฐกิจเพียง 1.6% ของโลกเท่านั้น

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลหวังว่าภายในปี 2561 จะมีผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 1.2 ล้านคนได้รับความช่วยเหลือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างการเดินทางอพยพอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ตลอดจนการได้รับการยอมรับให้ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศใหม่ เราเชื่อว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้จะยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลี้ภัยไม่ต้องตกอยู่ในเส้นทางที่อันตราย สามารถที่จะสร้างชีวิตใหม่และเข้ากับชุมชนที่พวกเขาไปตั้งถิ่นฐานใหม่ได้

          “การแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยต้องเป็นการแบ่งความรับผิดชอบของประชาคมโลกในการให้ความคุ้มครองเพื่อนมนุษย์ของเราให้มีสิทธิและเสรีภาพที่พวกเขาพึงจะมีตามอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติที่ระบุว่าการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยที่เป็นผลนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของนานาประเทศในการคุ้มครองให้ผู้ลี้ภัยปลอดภัยและมีการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร”

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกแสดงศักยภาพความเป็นผู้นำที่แท้จริงร่วมกันรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะจากประเทศที่มั่งคั่ง ให้แสดงความตั้งใจในการจัดหาที่อยู่ใหม่ให้ผู้ลี้ภัยมากกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ ตลอดจนช่วยเหลือทางกฎหมายให้ผู้ลี้ภัยเข้าถึงความปลอดภัยด้วย

           โดยตลอดเดือนกันยายนนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทั่วโลกร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อผู้ลี้ภัยในกว่า 50 ประเทศ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมมีความน่าสนใจแตกต่างกันไป เช่น การเดินขบวนต้อนรับผู้ลี้ภัยในอังกฤษ กิจกรรมแจกสติ๊กเกอร์ในเดนมาร์ก การแสดงละครในมาลี แฟลชม็อบที่สวิตเซอร์แลนด์ หรือจะเป็นงานผู้ลี้ภัยในสวนที่ชิลีซึ่งคล้ายคลึงกับงานในประเทศไทย

          สำหรับกิจกรรมดังกล่าวปิดท้ายที่นักกิจกรรมแอมเนสตี้ร่วมแปรอักษรเชิงสัญลักษณ์สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย โดยแปรเป็นสัญลักษณ์รูปบ้านเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ลี้ภัยที่จำเป็นต้องพลัดถิ่นฐานบ้านเกิดนั้น สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือที่อยู่ใหม่ที่ปลอดภัยและสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ

 

ป้ายคำ: 

  • ผู้ลี้ภัย
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • สัปดาห์ผู้ลี้ภัย
  • ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย