Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ระบุ 20 ประเทศหันไปใช้โทษประหารชีวิตเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ระบุ 20 ประเทศหันไปใช้โทษประหารชีวิตเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย

แอมเนสตี้แถลงการณ์เนื่องในวันยุติโทษประหารชีวิตสากลปีที่ 14 ระบุมีอย่างน้อย 20 ประเทศใช้โทษประหารกับข้อหาก่อการร้ายเพิ่มขึ้นในปี 2558

          ปี 2558 มีอย่างน้อย 20 ประเทศได้ตัดสินประหารชีวิตบุคคลหรือได้ทำการประหารชีวิตบุคคลในข้อหาก่อการร้ายไปแล้ว ได้แก่  แอลจีเรีย บาห์เรน แคเมอรูน ชาด จีน สาธารณรัฐคองโก อียิปต์ อินเดีย อิหร่าน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ตูนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสหรัฐอเมริกา มีการปกปิดข้อมูลการพิจารณาต่อคดีโทษประหารดังกล่าว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบข้อมูลว่ามีการใช้โทษประหารลักษณะนี้จำนวนมากขึ้น

          เจมส์ ลินช์ (James Lynch) รองผู้อำนวยการแผนก ประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนระดับสากล, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่ามีการใช้โทษประหารชีวิตมากขึ้นเพื่อเป็นการตอบโต้การก่อการร้าย  ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดพลาดโดยหน่วยงานของรัฐ ไม่มีหลักฐานใดบอกว่าโทษประหารชีวิตมีส่วนช่วยป้องกันการก่ออาชญากรรมรุนแรงได้ดีกว่าการลงโทษแบบอื่น โทษประหารชีวิตเป็นการแก้ปัญหาที่สะท้อนความอ่อนแอและความรีบเร่งในการดำเนินคดีมากกว่า

          “การใช้ความรุนแรงทำร้ายประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดความยากลำบากต่อครอบครัวและผู้ตกเป็นเหยื่อ โดยไม่ใช่สิ่งที่ชอบธรรมเลย รัฐบาลต้องสอบสวนและนำตัวผู้รับผิดชอบมาลงโทษ แต่การที่รัฐใช้อำนาจสั่งการให้ประหารชีวิตบุคคลไม่ใช่การแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา  แต่กลับทำให้เกิดความอยุติธรรมและความทุกข์ทรมานมากขึ้น และทำให้มีวงจรความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่ต่อไป โดยที่ผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม”

          “โทษประหารชีวิตนั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันกว่าสองในสามของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตัดสินใจยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติแล้ว รัฐบาลทุกประเทศจึงควรปฏิบัติตามเช่นเดียวกัน”

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิต ตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม

ข้อมูลเพิ่มเติม

          ในวันที่ 10 ตุลาคมนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลร่วมกับขบวนการขับเคลื่อนเพื่อต่อต้านโทษประหารทั่วโลกจะจัดวันต่อต้านโทษประหารสากลเป็นครั้งที่ 14 โดยเน้นที่การใช้โทษประหารกับความผิดด้านการก่อการร้าย ซึ่งถือเป็นประเด็นที่สำคัญในช่วงเวลานี้ แม้ว่าการโจมตีด้วยการใช้อาวุธและความรุนแรงอาจไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการก่อความรุนแรงครั้งใหญ่ซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยในหลายกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความไร้เสถียรภาพและความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระเทือนไปทั่วโลก 

          สำหรับประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาแล้วทุกประเภท ส่วนลาว พม่า และบรูไน ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ (การที่ยังคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิต แต่ได้ระงับการประหารชีวิตเป็นระยะเวลา 10 ปีติดต่อกัน) ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามยังคงมีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่

ตัวเลขและสถิติ

  • 140 ประเทศทั่วโลกหรือกว่าสองในสามของโลก ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติแล้ว

  • 103 ประเทศยกเลิกโทษประหารสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท

  • 58 ประเทศยังคงกำหนดให้มีโทษประหารชีวิตในกฎหมาย

  • 25 ประเทศมีการประหารชีวิตบุคคลในปี 2558 

  • ห้าประเทศที่มีการประหารชีวิตมากสุดในโลกในปี 2558 คือ จีน อิหร่าน ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอเมริกา 

สถานการณ์ในประเทศไทย

          สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษอนุญาตให้ลงโทษประหารชีวิตกับความผิดฐานผลิต นําเข้า หรือส่งออกยาเสพติด “ประเภท 1” หรือ “อันตราย” เพื่อจําหน่ายหรือครอบครองเกิน 20 กรัม หรือล่อลวงหรือบังคับขืนใจให้ผู้หญิงหรือบุคคลที่ด้อยความสามารถเป็นผู้ขนส่งสารผิดกฎหมาย จนถึงปลายปี 2557 ประเทศไทยมีนักโทษประหาร 645 คน โดยเกือบครึ่งหนึ่งในนั้นเป็นนักโทษคดียาเสพติด 

          ประเทศไทยมีการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2552 นับเป็นปีที่ 7 แล้วที่ไม่มีการประหารชีวิต ซึ่งหากไม่มีการประหารชีวิตครบ 10 ปีติดต่อกัน ทางองค์การสหประชาชาติจะถือว่าเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติทันที ซึ่งจะถือเป็นความก้าวหน้าทางด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับประเทศไทยก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่ง

          ปลายปี 2557 ทางการไทยรับรองแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 3 (2557-2561) ซึ่งมีเป้าหมายหนึ่งคือการยกเลิกโทษประหารชีวิต ส่วนกระทรวงยุติธรรมเริ่มกระบวนการปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจํากัดการใช้โทษประหารชีวิตมาตั้งแต่ปี 2558 


 

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • สิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล