Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

‘แอมเนสตี้’ ชวนดูหนังย้อนดูตัว ‘สโนว์เดน’ กับเสรีภาพและความเป็นส่วนตัว

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
มติชนออนไลน์

‘แอมเนสตี้’ ชวนดูหนังย้อนดูตัว ‘สโนว์เดน’

กับเสรีภาพและความเป็นส่วนตัว

วันที่ 7 ตุลาคม เวลา 19.00 น.ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาร์ด รัชดาภิเษก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดโปรแกรมชมภาพยนตร์รอบพิเศษสำหรับสมาชิกและผู้สนใจ ร่วมชมภาพยนตร์เรื่อง สโนว์เดน อัจฉริยะจารกรรมเขย่ามหาอำนาจ ซึ่งเป็นเรื่องราวจากเหตุการณ์เปิดโปงข้อมูลครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งของสหรัฐอเมริกา โดย นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของเอ็นเอสเอ (สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ-NSA) ที่ได้แฉปฏิบัติการดักเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลของหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งได้สร้างผลสะเทือนครั้งใหญ่ต่อโลกและชีวิตคนจำนวนมากที่ถูกดักเก็บข้อมูลในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว ด้วยฝีมือการกำกับของโอลิเวอร์ สโตน (Oliver Stone) และได้โจเซฟ กอร์ดอน เลวิตท์ (Joseph Gordon Lewitt) มาแสดงเป็นตัวสโนว์เดน และแอมเนสตี้ยังชวนผู้ชมร่วมพูดคุยพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นคำถามหลังชมหนังในประเด็นความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพออนไลน์ในปัจจุบัน จากคุณยุ้ย น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปลและผู้ดูแลไทย พับลิคก้า และคุณแชมป์ นายทีปกร วุฒิพิทยามงคล เจ้าของเว็บไซต์ The Matter

พร้อมกันนี้ ยังให้ผู้ชมภาพยนตร์ร่วมแสดงพลังชูป้ายเรียกร้องให้สิ่งที่สโนว์เดนนั่นเป็นวีรกรรมเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคนไม่ใช่ผู้ทรยศต่อชาติ

คิดอย่างไรกับภาพยนตร์เรื่องนี้?

น.ส.สฤณีเริ่มชวนคุยด้วยว่า ตัวนายสโนว์เดน เริ่มต้นนายสโนว์เดนตัดสินใจทำงานด้านข่าวกรองด้วยความรักชาติ แล้วจุดเปลี่ยนเกิดขึ้นกับแฟนของตัวเองที่ถูกล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว แต่หนังไม่พยายามนำเสนออีกฝั่ง ทำให้ดูเป็นผู้ร้าย แต่เน้นเรื่องราวของสิ่งที่นายสโนว์เดนทำมากกว่า ทำให้ไม่เห็นมุมมองของแวดวงข่าวกรองที่มองตัวนายสโนว์เดนเป็นคนทรยศ และภาพยนตร์ก็เผยมุมเล็กที่นายสโนว์เดนไม่ได้ตัดสินใจเปิดโปงเรื่องทั้งหมดนี้เอง แต่ให้สำนักข่าวใหญ่อย่างเดอะการ์เดี้ยน เป็นคนเสนอข่าวด้วยความเชื่อใจในความเป็นมืออาชีพ แต่สิ่งที่ดีคือมันสะท้อนความหมายของคนรักชาติ ว่าคนรักชาตินั้นเป็นอย่างไร

นายทีปกรกล่าวว่า มีโอกาสได้ชมรอบพิเศษที่นิวยอร์กมาก่อน เป็นช่วงที่ผู้กำกับ นักแสดงได้ร่วมพูดคุยพร้อมกับสโนว์เดนที่ลี้ภัยอยู่รัสเซียผ่านสไกป์ กลายเป็นว่าการพูดคุยมีความสนใจมากกว่าหนัง แต่ประเด็นที่ทำงานในสายนี้มักเจอคำถามนี้บ่อยๆ เช่นว่า ถ้าไม่ผิดแล้วจะกลัวทำไม หรือว่าชีวิตที่ต้องแลกกับการเปิดโปงมันคุ้มแล้วหรือ ซึ่งสโนว์เดนตอบดี โดยยกว่า คุณไม่กังวลว่าความเป็นส่วนตัวเพราะคุณไม่มีอะไรผิด มันเท่ากับคุณไม่ปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นเพราะคุณไม่มีอะไรจะพูด ซึ่งสร้างเสียงปรบมือให้กับผู้ชม ส่วนตัวหนังตนเห็นตรงกับคุณสฤณี ที่หนังทำให้สโนว์เดนเป็นนักบุญมากเกินไป ส่วนตัวรู้สึกว่าเหมือนกับผู้กำกับรักตัวละครนี้มากเกินไป จนสงสัยว่าไม่มีความแย่เลยหรือ จากคนที่เติบโตแบบอนุรักษนิยมแล้วค่อยๆ เปลี่ยนตอนคบแฟน กับตอนที่สงสัยในสิ่งที่ทำ แล้วมันไม่มีความข้ดแย้งในจิตใจขนาดนั้นหรือ เขาตัดสินใจเร็วมาก ที่จะทิ้งสิ่งเหล่านี้เพื่อทำในสิ่งที่ถูกต้องซึ่งน่าถกเถียง ไม่นานมานี้ ที่สวิตเซอร์แลนด์ที่การโหวตให้สอดส่องควบคุมประชาชนผ่านอินเตอร์เน็ตเพราะมีข้อมูลข่าวกรองน้อย เลยเกิดคำถามว่าขนาดประเทศที่ดูปลอดภัยมากยังต้องห่วงเรื่องนี้ แต่หนังกลับมองว่าการสอดส่องเป็นเรื่องแย่

โครงการดักเก็บข้อมูล อาจไม่ได้เลวร้ายแต่หนังวาดภาพว่าจะควรดักได้มากแค่ไหน?

น.ส.สฤณีกล่าวว่า ถ้าใครดูถึงช่วงเครดิตจะเห็นพาดหัวชวนให้เห็นว่ามีพัฒนาการของการมีอำนาจดักจับข้อมูลโดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล และมีการปฏิรูป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังสโนว์เดนแฉคือ ตัวกฎหมาย Patriot Act ที่ให้อำนาจในการดักเก็บข้อมูล Metadata ซึ่งสามารถเข้าใจของตัวผู้ใช้ว่าเป็นคนอย่างไร โดยเมื่อก่อนทำได้เลย แต่ปัจจุบันต้องขอศาลซึ่งโปร่งใสมากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องถกเถียง แต่ในส่วนการเก็บข้อมูลคนต่างประเทศยังคงอยู่ ประเด็นสงครามไซเบอร์จึงเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุย และสโนว์เดนได้ให้คุณูปการที่ทำให้เห็นว่า มีประเด็นแบบนี้ด้วยอย่างการสอดแนมโดยรัฐ แต่ความซับซ้อนอื่นๆ เช่น ความรุนแรงของสงครามไซเบอร์ แต่อาจมองว่าเป็นสงครามเย็นยุคใหม่ ที่มองว่าตัวเองอาจเสียเปรียบจีน ซึ่งหนังไม่ได้ให้น้ำหนักเรื่องนี้ พอกลับมาเรื่องสอดแนม สโนว์เดนไม่ได้เน้นว่าสอดแนมว่าดีหรือไม่ดี แต่ประเด็นสำคัญคือ ประชาชนต้องตัดสินใจ ประชาชนสหรัฐจึงต้องรู้กัน ซึ่งสิ่งที่แย่มากคือ ไม่มีใครรู้เรื่องเลย

คิดยังไงกับหนังที่ตั้งประเด็นให้ตัวนางเอกของเรื่องที่มีความเป็นเสรีนิยม ยกประเด็นว่า ฉันไม่ได้ทำอะไรผิดจะต้องปิดกล้องทำไม?

มันมีความรู้สึก 2 แบบ คือ เราทำอะไรไม่ได้ ใครก็ดูได้หมด แต่ฉันไม่ได้ทำอะไรผิด สุดท้ายมันอยู่ที่ถ้าไม่เจอกับตัวเอง ต่อให้เราเชื่อมั่นว่าไม่มีอะไรน่าอาย ปัญหาคือ คนที่เราคุยด้วย คือเราไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ถ้าตัวเราเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับคนอื่น ความที่เราอยู่ห่วงต่อให้ไม่มีอะไรก็ทำให้เราถูกเพ่งเล็งได้ ซึ่งอันตรายมาก อย่างในกรณี 8 แอดมินเพจเฟซบุ๊ก หรือคนอื่นที่ไม่ได้ถูกจับกุม แต่มีว่าห้ามกดไลค์ กดแชร์ สิ่งที่น่าห่วงคือ แม้ไทยจะไม่สามารถทำอะไรได้เหมือนสหรัฐ แต่เรื่องนิยามของความมั่นคงของชาติกลับคลุมเครือกว่าสหรัฐซะอีก เข้าใจว่าเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าไม่ได้โดนกับตัวเองก็ไม่รู้สึกว่าเราถูกสอดส่อง

พูดในฐานะคนออนไลน์ ซึ่งออนไลน์มีบทบาท แต่ชาติมหาอำนาจมีความสามารถในการดักจับข้อมูล รู้สึกอย่างไร?

นายทีปกรกล่าวว่า เราต้องจำยอม อย่างเช่นเฟซบุ๊ก ที่จะเอาข้อมูลไปให้โดยที่เราทำอะไรไม่ได้ พอเฟซบุ๊กหรือกูเกิลเอาข้อมูลไปให้คนที่ต้องการ มักจะมีข้ออ้างว่า เขาขีดชื่อออกแล้ว แต่ถามว่ามันพอไหม? ข้อมูลที่มันประกอบกันก็สามารถระบุตัวได้แล้วว่าเป็นเรา ยกตัวอย่างข้อมูลแบตเตอรี่ในมือถือ พอแบตลดก็จะส่งข้อมูลนี้ไป ก็จะรู้ว่าเป็นใคร แม้แต่เรื่องที่เราคิดว่าไม่สำคัญแต่มันสำคัญมาก

น.ส.สฤณีกล่าวถึงประเด็นนี้โดยยกอ้างกรณีฆาตกรรมหมู่ในสหรัฐ ซึ่งคนร้ายใช้ไอโฟน ทำให้แอปเปิลกับเอฟบีไอขึ้นศาล โดยเอฟบีไอต้องการให้แอปเปิลมอบกุญแจหลังบ้านซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูล แต่ระหว่างขึ้นศาลนั้นเอฟบีไอก็เจอวิธีแฮกเข้าไปได้ แต่ถ้าไม่มีประเด็นสโนว์เดนออกมา ท่าทีหน่วยงานจะแข็งกร้าวแบบนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม บรรดาบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ก็มักถูกขอข้อมูลโดยรัฐเป็นประจำ ทำให้มีลักษณะวัฒนธรรมการให้ข้อมูล

ผ่านมา 3 ปีแล้ว สโนว์เดนได้สร้างผลกระทบต่อสังคม สร้างความตระหนักต่อความเป็นส่วนตัวมากแค่ไหน มันคุ้มค่าไหม?

น.ส.สฤณีมองว่า ส่วนตัวคิดว่ามีความเปลี่ยนแปลงแต่ยังน้อยกว่าที่นักเคลื่อนไหวคาดหวัง ที่สหรัฐมีการสำรวจความเห็นหลังจากหนังเรื่องนี้ฉายไม่นานว่า คิดว่าสโนว์เดนเป็นคนทรยศหรือฮีโร่ ผลที่ได้คือ 50% ไม่แน่ใจ และที่เหลือแบ่งกันไปครึ่งระหว่างคนที่มองว่าเป็นฮีโร่กับคนทรยศฝ่ายละ 25% นักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า คนไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่ก็ทำให้เห็นว่ามีอะไรการสอดส่องอยู่ อันนี้มักในแง่บวก เรารู้สึกว่าต้องมีความโปร่งใสมากขึ้น คือหลักการของการสอดแนม ถ้าจะให้ได้ผล คือสามารถพุ่งเป้าเฉพาะได้ ไม่ใช่กวาดคนทั้งโลก ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์จะเยอะมาก ซึ่งคณะกรรมาธิการที่โอบามาตั้ง ศึกษาแล้วเห็นว่า การเหวี่ยงแหไม่สามารถให้ประสิทธิผลได้ ทำให้มีการปฏิรูป แต่คนอาจห่วง เพราะจีนไม่ได้สนใจเรื่องนี้

นายทีปกรกล่าวว่า มันสร้างผลสะเทือนอย่างมาก ที่ผ่านมามีนักเปิดโปงก่อนที่จะมีสโนว์เดน แต่ที่ทำให้คนสนใจสโนว์เดน เพราะมันหล่อ (หัวเราะกันทั้งโรง) มีคนวิเคราะห์ว่า มันมีส่วน ถ้าดูจากทวิตเตอร์ มีคนอยากเดตตั้งมาก แต่ที่สำคัญคือสโนว์เดนกลายเป็นต้นแบบ (Icon) มันไม่เกิดวงหมุนแห่งความเงียบ (Spiral of Silence) แต่มีต้นแบบที่นำไปสู่ความรู้ที่มากขึ้น และมีนักเปิดโปงเกิดขึ้นใหม่ตามมา

ขอบคุณที่มาข้อมูลและรูปภาพ: มติชนออนไลน์

ป้ายคำ: 

  • สโนว์เดน
  • สฤณี อาชวานันทกุล
  • ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
  • สิทธิความเป็นส่วนตัว
  • เสรีภาพออนไลน์